ชื่อโครงงาน: Project Title: |
การออกแบบอุปกรณ์ตรวจจับและแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้แบบเคลื่อนที่ Instrument Design for Mobile Fire Alarm Detectors Systems |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายชนชล อ้นทอง Mr.Chanachon Onthong |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์ธนพจน์ วิเวก Mr.Thanapote Wiwek |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering |
ภาควิชา: Major: |
วิศวกรรมเครื่องกล Mechanical Engineering |
คณะ: Faculty: |
วิศวกรรมศาสตร์ Engineering |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
3/2560 3/2017 |
การอ้างอิง/citation
ชนชล อ้นทอง. (2560). การออกแบบอุปกรณ์ตรวจจับและแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้แบบเคลื่อนที่. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการออกแบบอุปกรณ์ตรวจจับและแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้แบบเคลื่อนที่ โดยมีการใช้ชุดตรวจจับทั้ง 4 ชนิด คือ ชุดตรวจจับควัน ชุดตรวจจับความร้อน ชุดตรวจจับแก๊ส และชุดตรวจจับแจ้งเหตุด้วยมือ โดยอาคารทั่วไปมีการติดตั้งระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ แต่จะมีบางอาคารที่ยังไม่ได้รับการติดตั้ง หรืออาคารที่กำลังดำเนินการก่อสร้างยังไม่ได้ดำเนินการวางระบบป้องกันอัคคีภัย การเกิดอัคคีภัยก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จึงเป็นที่มาของโครงการนี้ที่จะแก้ปัญหาด้วยการออกแบบอุปกรณ์แจ้งเตือนอัคคีภัยแบบเคลื่อนที่ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในอาคารที่กำลังดำเนินการติดตั้ง ระบบป้องกันอัคคีภัยแบบถาวรไปใช้เป็นระบบแจ้งเตือนชั่วคราว ผลจากการทดสอบระบบป้องกันอัคคีภัยแบบเคลื่อนที่ ระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้นั้นสามารถตรวจจับควัน เริ่มทำงานตั้งแต่ระยะทาง 0 ถึง 100 เซนติเมตร และใช้ระยะเวลาในการตรวจจับตั้งแต่เวลา 6 วินาทีเป็นต้นไป สามารถตรวจจับความร้อน เริ่มทำงานตั้งแต่ผลต่างของอุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส และใช้ระยะเวลาในการตรวจจับตั้งแต่เวลา 24 วินาที เป็นต้นไป สามารถตรวจจับแก๊ส เริ่มทำงานตั้งแต่ระยะทาง 0 ถึง 8 เซนติเมตร และใช้ระยะเวลาในการตรวจจับตั้งแต่เวลา 1 วินาที เป็นต้นไป และเมื่อมีการกดแจ้งเหตุด้วยมือ ตู้ควบคุมรับคำสั่ง พร้อมทำงานและสั่งการแจ้งเตือนเหตุทันทีทำให้สะดวกต่อการใช้งาน
คำสำคัญ: อุปกรณ์ตรวจจับควัน, อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน, อุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส, ระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้
Abstract
The project of study was to the design detection devices and notification of mobile fire by the use of 4 types of detection kits a smoke set, heat, detector, gas detection kits and hand – held detection kits. The general building is equipped with a five alarm system but there are some part of the building that are under construction, that have not yet implemented fire protection systems. Fire causes a loss of life and property, therefore, this was the source of this project to solve the problem by designing a mobile fire alarm device which can be used in buildings that a permanent fire protection system is being installed as a temporary alert system.
Results from the test of the mobile fire protection system showed that the fire alarm system can detect smoke start from 0 to 100 centimeters and use the detection time from 6 seconds on wards. It can detect heat starting from the temperature difference of 10 degrees Celsius and uses the time from 24 seconds on wards. It can detect gas, starting from a distance of 0 to 8 centimeters and takes time to detect from 1 second on wards and when pressing the notification by the hand, control cabinet receives orders and is ready to work immediatey, making it easy to use.
Keywords: Smoke detector, Heat detector, Gas detection equipment, Fire alarm systems.
การออกแบบอุปกรณ์ตรวจจับและแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้แบบเคลื่อนที่ / Instrument Design for Mobile Fire Alarm Detectors Systems
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand