Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

รูปแบบการตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น “วงใน” ในกรุงเทพมหานคร

Last modified: March 6, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: รูปแบบการตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น “วงใน” ในกรุงเทพมหานคร
Research Article: Model of decision to use the Wongnai application service in Bangkok
ผู้เขียน/Author: ดร.รุ่งโรจน์ สงสระบุญ | Dr.Rungroje Songsraboon
Email: rrs101@hotmail.com
สาขาวิชา/คณะ: บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Undergraduate Schools, Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม-สิงหาคม 2562 หน้า 120-136

การอ้างอิง/citation

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2562). รูปแบบการตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น “วงใน” ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(4), 120-136.


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น “วงใน” ในกรุงเทพมหานคร และศึกษาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของรูปแบบการตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น “วงใน” ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้บริการแอพพลิเคชั่น “วงใน” ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) จากการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยด้านการสื่อสารทางการตลาดดิจิทัล การยอมรับการใช้เทคโนโลยีมีผลทางตรงและทางอ้อมต่อการตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น “วงใน” ในกรุงเทพมหานคร และ (2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยมีความเหมาะสม เนื่องจากมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และแต่ละองค์ประกอบของโมเดลมีความเที่ยงตรง มีความสามารถในการพยากรณ์ได้ในระดับดีและเป็นที่ยอมรับได้

คำสำคัญ: การสื่อสารทางการตลาดดิจิทัล, การยอมรับการใช้เทคโนโลยี, การตัดใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น “วงใน”


ABSTRACT

The purposes of this research were to study levels of factors affecting the decision to use the Wongnai application service in Bangkok and to study the structural equation modeling of causal factors on the decision to use the Wongnai application service in Bangkok. Samplings were 400 people. Questionnaires were used to collect data. The data received were calculated and analyzed using descriptive statistics (frequency, percentage, mean and standard deviation). The path analysis was used to test the hypotheses. The Structural equation modeling: SEM was used to test the decision to use the Wongnai application service in Bangkok. The findings revealed that (1) digital marketing communication and accepting the use of technology direct and indirect to decision to use the Wongnai application service in Bangkok (2) The causal model developed was appropriate. Because they were consistent with the empirical data. Elements of the model were accurate (Validity) and had the ability to predict and were an acceptable level.

Keywords: digital marketing communication, accepting the use of technology, decision to use the Wongnai application.


รูปแบบการตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชั่น “วงใน” ในกรุงเทพมหานคร / Model of decision to use the Wongnai application service in Bangkok

Graduate Schools, Siam University, Bangkok, Thailand