Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการเทศบาลตำบลไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย

Last modified: January 19, 2020
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการเทศบาลตำบลไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย
People’s Satisfaction Towards Public Service of  Mai Ya Municipality, Phaya Meng Rai District, Chiang Rai Province
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาววัชรี ภูรักษา
Miss Watcharee Phuraksa
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร. สุเมธ แสงนิ่มนวล
Dr. Sumet Saengnimnuan
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
Master of Public Administration
สาขาวิชา:
Major:
รัฐประศาสนศาสตร์
Public Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019

การอ้างอิง/citation

วัชรี ภูรักษา. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการเทศบาลตำบลไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการเทศบาลตำบลไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงรายโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนในการใช้บริการเทศบาลตำบลไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนในการใช้บริการเทศบาลตำบลไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการของเทศบาลตำบลไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลไม้ยา จำนวน 385 คน จาก 18 หมู่บ้าน สถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ใช้การทดสอบด้วยค่า Chi-Square เพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปร และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Gamma ที่ระดับนัยสำคัญ  ทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนผู้มาขอรับบริการมีระดับความพึงพอใจต่อการใช้บริการเทศบาลตำบลไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย โดยรวม อยู่ในระดับมาก  ทั้ง 4  ด้าน โดยด้านที่ประชาชนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (ค่าเฉลี่ย = 3.89) รองลงมา คือ ด้านเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ (ค่าเฉลี่ย = 3.82) ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ (ค่าเฉลี่ย = 3.77) และด้านการให้บริการ (ค่าเฉลี่ย = 3.76) ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการงานเทศบาลตำบลไม้ยา คือ อาชีพ และรายได้ ส่วนปัจจัยด้านอายุ  เพศ และระดับการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการงานเทศบาลตำบลไม้ยา

ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัย หากเทศบาลตำบลไม้ยาต้องการให้ระดับความพึงพอใจของประชาชนผู้มาใช้บริการภายในเทศบาลอยู่ในระดับความพึงพอใจที่มากขึ้น หรือระดับมากที่สุด เทศบาลควรทำการปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ได้มาตรฐานที่ดีขึ้น โดยจะต้องประยุกต์นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการ และลดขั้นตอนวิธีการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสมหรือน้อยลง เข้าใจได้ง่าย  สะดวก และ เอื้อต่อผู้สูงอายุมากขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มอายุที่เข้าไปใช้บริการงานเทศบาลตำบลไม้ยามากที่สุด และข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป คือ มีการประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มาใช้บริการ หรือมาขอรับบริการงานเทศบาลอย่างต่อเนื่อง โดยนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาแก้ไขให้ดีขึ้น และทดลองเปรียบเทียบกับเทศบาลอื่นๆ ในพื้นที่ที่ใกล้เคียงกันด้วย เพื่อได้นำเอาข้อคิดเห็น ปัญหา การแก้ไขปัญหาต่างๆ มาปรับปรุงการบริการงานเทศบาลนำไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ: ปัจจัยความพึงพอใจ, เทศบาลตำบลไม้ยา


Abstract

This research aimed at studying the people’s satisfaction towards public service of Mai Ya municipality, Phaya Meng Rai District, Chiang Rai Province. The objectives were: 1) to study the level of satisfaction of the people in using the service of Mai Ya municipality, Phaya Meng Rai District, Chiang Rai Province; 2) to study the factors that affect the satisfaction of the people in the service of Mai Ya municipality, Phaya Meng Rai District, Chiang Rai Province; and 3) to suggest guideline to enhance satisfaction in the service of the Mai Ya municipality, Phaya Meng Rai District, Chiang Rai Province. The study adopted the quantitative research design method where primary data were collected from 385 respondents in 18 villages in Mai Ya municipality. The statistical formulas used were frequencies and percentages as well as Chi- square test to find the relationships among variables. The direction of the relationships active through Gamma correlation coefficient which was 0.05 level of significance.

It was found that most people in the study were satisfied at the high satisfaction level with all 4 aspects of service system of public work service provided by Mai Ya municipality, Phaya Meng Rai District, Chiang Rai Province. The aspect that people were most satisfied with was the facilities (Mean = 3.89), followed by the officers service (Mean= 3.82), the service process (Mean = 3.77) and service (Mean = 3.76) respectively. Occupation and income significantly correlated with people’s satisfaction towards public work service. But age, gender and education were significantly correlated with people’s satisfaction towards public work service.

It was suggested that if the Municipality of Mai Ya wanted to range the level of satisfaction of the people who use the service, they should improve the quality of service to meet good standards by applying technology to service and reduce various workflow procedures which should be easier to understand, convenient and more conducive to the elderly who were the age group that used the service of Mai Ya Municipality the most. Suggestions for further research were that there should be continuously evaluation of the satisfaction of people who use the services of Mai Ya Municipality, request municipal services and use the information for improvement. Comparison with other municipalities in similar areas should be studied in order to gather ideas, problems and solutions to problems to improve municipal services, leading to greater efficiency and effectiveness.

Keywords:  Publice service, Mai Ya municipality, Service quality.


ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการเทศบาลตำบลไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย / People’s Satisfaction Towards Public Service of  Mai Ya Municipality, Phaya Meng Rai District, Chiang Rai Province 

Master of Public Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

Previous: ประสิทธิภาพการบริหารงานกิจการคณะสงฆ์: กรณีศึกษาในเขตหนองแขมกรุงเทพมหานคร
Next: ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตบางแค