Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การจัดการการเงินส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการวางแผนเกษียณของพนักงานองค์กรเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Last modified: January 16, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การจัดการการเงินส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการวางแผนเกษียณของพนักงานองค์กรเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Personal Finance Management Affecting Success in Retirement Planning of Private Enterprise Employees in Bangkok
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวอุไรวรรณ ปลอดใจดี
Miss Uraiwan Plodjaidee
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช
Assoc. Prof. Dr. Jomphong Mongkhonvanit
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
Master of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การเงินและการธนาคาร
Finance and Banking
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง|Citation

อุไรวรรณ ปลอดใจดี. (2560). การจัดการการเงินส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการวางแผนเกษียณของพนักงานองค์กรเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Plodjaidee U. (2017). Personal finance management affecting success in retirement planning of private enterprise employees in Bangkok. (Master’s independent study). Bangkok: Master in Business Administration (MBA), Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการการเงินส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสําเร็จ ในการวางแผนเกษียณของพนักงานองค์กรเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จากการสุ่มตัวอย่าง พนักงานองค์กรเอกชน จํานวน 400 คน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และรวบรวมข้อมูลมาทําการวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าสถิติร้อย ละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และใช้สถิติ t-test, One Way ANOVA (F – test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficients) เพื่อทดสอบสมมติฐาน

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุ ระหว่าง 31 – 40 ปี การศึกษาปริญญาตรี สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือนระหว่าง 10,001 – 20,000 บาท และมีประสบการณ์ในการทํางานระหว่าง 1 – 5 ปี ตามลําดับ สําหรับผลสําเร็จในการวางแผนการเกษียณของพนักงานองค์กรเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วน ใหญ่มีจํานวนเงินออมในปัจจุบัน น้อยกว่า 100,000 มีความสม่ําเสมอในการออม คือ ระหว่าง 1 – 2 ครั้ง/เดือน ส่วนใหญ่มีจํานวนปีในการออมเงินที่ผ่านมา คือ ระหว่าง 1 – 5 ปี และมีผลตอบแทน เฉลี่ยของการออมต่อปี คือ ร้อยละ 3-5 ต่อปี ส่วนการจัดการการเงินส่วนบุคคลของพนักงานองค์กร เอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความสําคัญเกี่ยวกับการจัดการการเงินส่วน บุคคลของพนักงานองค์กรเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครมากที่สุด เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหา น้อยดังนี้ อันดับที่ 1 ด้านรายได้ และด้านเงินออม เท่ากัน (x̅ = 4.40) อันดับที่ 2 ด้านรายจ่าย (x̅ = 4.36) และอันดับที่ 3 ด้านการลงทุน (x̅ = 4.27) ตามลําดับ ผลการทดสอบสมติฐาน พบว่า โดยรวมแล้วปัจจัยส่วนบุคคลส่งผลต่อความสําเร็จในการวางแผนเกษียณของพนักงานองค์กร เอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร และการจัดการการเงินส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับความสําเร็จใน – การวางแผนเกษียณของพนักงานองค์กรเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร

การจัดการการเงินส่วนบุคคลทั้ง 4 ด้านคือ ด้านรายได้ ด้านรายจ่าย ด้านเงินออม และด้าน การลงทุน เป็นส่วนสําคัญและมีความสัมพันธ์ต่อความสําเร็จในการวางแผนเกษียณ ดังนั้นต้องมี การส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการการเงินส่วนบุคคล เพื่อเป็นการลดภาระ ของรัฐในการต้องดูแลผู้สูงอายุในอนาคตที่ไม่สามารถเกษียณอย่างมีความสุขและดูแลเลี้ยงชีพ ตัวเองได้

คําสําคัญ: การจัดการการเงินส่วนบุคคล, การวางแผนเกษียณ, พนักงานองค์กรเอกชน


Abstract

The purpose of this research was to personal finance management affecting success in retirement planning of private enterprise employees in Bangkok. The sampling of 400 private enterprise employees. Using data collection tools was a questionnaire and data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), t-test, One-Way ANOVA (F-test) and Pearson Correlation Coefficients to test the hypothesis. Most of them have saving years in pass between 1 – 5 years. and have an average return of savings per year of 3-5 per year.

The results showed majority of respondents were male than female, Age between 31-40 years old, bachelor’s degree, marital status, monthly income between 10,001 – 20,000 baht, and working experience between 1 – 5 years, respectively. For the success of the planned retirement of private enterprise employees in Bangkok found that most respondents have savings of less than 100,000 today, with savings in between 1-2 times a month. For personal finance management of private enterprise employees in Bangkok found that the average score on the personal finance management of private enterprise employees in Bangkok was the highest. Sort by average to descending order as follows: 1st in income and savings (= 4.40), 2nd in expenditures (= 4.36), and 3rd in investment (= 4.27), respectively. The results of the hypothesis test found that personal factors affect the success of retirement planning of private enterprise employees in Bangkok. And personal financial management was correlated with the success of the retirement planning of private enterprise employees in Bangkok.

The four types of personal finance management are income, expenditure, savings and investment were important and relates to the success of a retirement plan. Therefore, it is necessary to encourage people to have a better understanding of personal financial management. To reduce the burden of the state to care for the elderly in the future who can’t retire happily and take care of their own livelihood.

Keywords:  Personal Finance Management Retirement Planning Private Enterprise Employees.


การจัดการการเงินส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการวางแผนเกษียณของพนักงานองค์กรเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร | Personal Finance Management Affecting Success in Retirement Planning of Private Enterprise Employees in Bangkok

Master in Business Administration (MBA), Siam University, Bangkok, Thailand

Related by Advisor: