Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

ตะกร้าผ้ารีไซเคิล

Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
ตะกร้าผ้ารีไซเคิล
Recycle Basket
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวอทิติยา โพธิ์เอี่ยม, นางสาวสโรชา เจริญศิริ
Ms. Atitiya Pho-iam, Ms. Sarocha Charoensiri
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
อาจารย์พิมพ์พิชชา เลิศสกุลผาสุข
Miss Pimpicha Lertsakulphasuk
ระดับการศึกษา:
Degree:
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
Bachelor of Arts (Liberal Arts)
ภาควิชา:
Major:
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
Tourism and Hospitality Industry
คณะ:
Faculty:
ศิลปศาสตร์
Liberal Arts
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
2/2564
2/2021

การอ้างอิง|Citation

อทิติยา โพธิ์เอี่ยม และ สโรชา เจริญศิริ. (2564). ตะกร้าผ้ารีไซเคิล. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Pho-iam A., & Charoensiri S. (2021). Recycle basket. (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Liberal Arts, Siam University.


บทคัดย่อ

การจัดทำโครงงานสหกิจศึกษาเรื่อง ตะกร้าผ้ารีไซเคิล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำตะกร้าผ้าจากวัสดุเหลือใช้ภายในแผนกแม่บ้าน ส่งเสริมการลดใช้ถุงพลาสติกและนำของเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากการปฏิบัติสหกิจในแผนกแม่บ้าน คณะผู้จัดทำได้เรียนรู้การปฏิบัติงานหลายหน้าที่ ได้เล็งเห็นถึงการใช้วัสดุสิ้นเปลือง อย่างเช่น ถุงขยะสีดำที่ใช้ในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก รวมถึงในแผนกมีวัสดุอุปกรณ์เหลือใช้ เช่น ผ้าปูที่นอนที่ชำรุดบางส่วนและด้ามไม้กวาดที่ไม่ใช้แล้ว ซึ่งสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้  จึงได้นำมาจัดทำเป็นตะกร้าผ้ารีไซเคิล เพื่อนำมาใช้ใส่ผ้าขี้ริ้วที่ใช้แล้วในแต่ละวัน แทนการใช้ถุงขยะสีดำ ซึ่งตะกร้าผ้ารีไซเคิลนี้สามารถซักทำความสะอาด และนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกด้วย เป็นการช่วยสถานประกอบลดต้นทุนการใช้ถุงขยะสีดำ และได้นำของเหลือใช้มารีไซเคิลให้เกิดประโยชน์

คณะผู้จัดทำได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างในแผนกแม่บ้าน จำนวน 30 คน โดยได้นำตะกร้าผ้ารีไซเคิลที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ให้พนักงานในแผนกแม่บ้านทดลองใช้งาน ผลจากการประเมินความคิดเห็นในแบบสอบถามที่ได้ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อตะกร้าผ้ารีไซเคิลโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 หากพิจารณารายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ การนำไปใช้ได้จริง โดยมีค่าเฉลี่ย 4.40 รองลงมาคือ การนำของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ มีค่าเฉลี่ย 4.30 รองลงมาคือ รูปแบบของผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ย 4.27 ส่วนด้านที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมาก ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์และความแข็งแรงทนทาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ 4.17 รองลงมาคือ ความสวยงาม มีค่าเฉลี่ย 3.70  นอกจากนี้ผลงานที่คณะผู้จัดทำได้ประดิษฐ์ขึ้น ยังสามารถช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกภายในองค์กรได้ และยังช่วยลดต้นทุนในการซื้อถุงขยะให้กับสถานประกอบการได้อีกด้วย

คำสำคัญ: ตะกร้าผ้า, วัสดุเหลือใช้, รีไซเคิล


Abstract

The cooperative education project on recycled materials laundry basket had the objective to study the usage of laundry baskets made from leftover/unused waste materials within the housekeeping department, and promoting less usage of plastic bags. Based on daily practices, instead of utilization of consumables namely, plastic trash bags; leftover materials, partially damaged bedding, and unused broomsticks could be recycled for further utilization as laundry basket.

The students conducted a project survey with a sample group of 30people from housekeeping department. Each wereprovided with 100% recycled materials laundry basket for an actual utilization. The results found that they were satisfied with the recycled laundry basket overall at a prominent level with an average of 4.17. Each aspect considered, highly satisfied respondents were by practical application with an average of 4.40, followed by reuse of waste products with an average of 4.30, followed by product styling with an average of 4.27. Areasof elevated satisfaction were creativity and durability, with the same mean of 4.17, followed by cosmetic appearance with an average of 3.70. This project assists in the reduction of daily plastic waste, not to mention cost reduction for purchasing garbage bags for the establishment as well.

Keywords:  fabric basket, waste material, recycle.


ตะกร้าผ้ารีไซเคิล | Recycle Basket

Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand