ชื่อบทความ: | การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา |
Research Article: | Research and development of concrete ditch mixed with rubber latex for farm irrigation system |
ผู้เขียน/Author: | ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ผศ.พ.อ.ดร.ชวน จันทวาลย์ และนายณัฐพล อภินันทโน|Pheerawat Plangoen, Chuan Chanthawan, Natthaphon Apinantano |
Email: | pheerawat.pla@siam.edu |
สาขาวิชา/คณะ: | ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department/Faculty: | Faculty of Engineering in Civil Engineering, Siam University, Bangkok 10160 |
Published/แหล่งเผยแพร่: | การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่23 วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2561 จ.นครนายก The 23rd National Convention on Civil Engineering July 18-20, 2018, Nakhon Nayok, Thailand,THAILAND |
การอ้างอิง|Citation
พีรวัฒน์ ปลาเงิน, ชวน จันทวาลย์ และ ณัฐพล อภินันทโน. (2561). การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท).
Plangoen P., Chanthawan C., & Apinantano N. (2018). Research and development of concrete ditch mixed with rubber latex for farm irrigation system. In The 23rd National Convention on Civil Engineering (NCCE23). Bangkok: The Engineering Institute of Thailand (EIT).
บทคัดย่อ
การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ายางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา ได้ทeการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของคอนกรีตผสมน้ำยางพารา (พรีวัลคาไนซ์) ในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ โครงสร้างจุลภาคคอนกรีตผสมน้ำยางพารา ความสามารถในการเทได้ กำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึง ค่าโมดูลัสความยืดหยุ่น และการดูดซึมน้ำของคอนกรีตผสมน้ายางพารา โดยกำหนดอัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 0%, 1%, 3%, 5%, 10% และ 15% (โดยน้ำหนัก) อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.5 และทำการทดสอบคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตระยะเวลา 28 วัน พบว่าคอนกรีตผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ เท่ากับ 1% มีคุณสมบัติทางกลดีได้ค่ากำลังรับแรงอัด 244 กก./ซม2 กำลังรับแรงดึง 35 กก./ซม2 โมดูลัสความยืดหยุ่น 46 กก./ซม2 การดูดซึมน้ำร้อยละ 1.0 จากผลการศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตในห้องปฏิบัติการจึงแนะนำให้ใช้อัตราส่วนผสมคอนกรีตสำหรับนาไปใช้งานในการหล่อคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพารา โดยใช้น้ำยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับ 1% (โดยน้ำหนัก) สำหรับปูนซีเมนต์ 50 กก. (1 ถุง) ประกอบไปด้วยวัสดุต่างๆ ดังนี้ ทราย 135 กก. หินกรวด 148 กก. น้า 29.67 กก. และน้ำยางพรีวัลคาไนซ์ 0.83 กก. การศึกษาวิจัยภาคสนามได้พัฒนาคูส่งน้าผสมน้ำยางพาราแบบสาเร็จรูปและแบบดาดในที่ติดตั้งในพื้นที่แปลงนาของเกษตรกร ซึ่งมีขนาดของก้นคูส่งน้ำ 0.40 ม. สูง 0.30 ม. และความหนา 0.07 ม. การติดตามประเมินผลเบื้องต้นการใช้งานคูส่งน้ำในพื้นที่แปลงนา พบว่าปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่พื้นที่แปลงนาจะไหลได้สะดวกและเร็ว สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำเนื่องจากการรั่วซึมจึงทาให้ประสิทธิภาพการชลประทานเพิ่มขึ้น
คำสำคัญ: คูส่งน้ำชลประทาน, น้ำยางพารา, คอนกรีต, ชลประทานไร่นา
ABSTRACT
Research and development of concrete ditch mixed with rubber latex farm irrigation system. This study analyzed the physical and mechanical properties of concrete mixed with rubber latex (pre-vulcanized). The experiment was performed in a laboratory to test the properties of the mixture in terms of microstructure, workability, compressive strength, tensile strength, flexural strength and water absorption of concrete. To test the performance polymer and cement (P/C) were mixed in different proportions of 0%, 1%, 3%, 5%, 10% and 15% by weight to prepare the solution and was further added to concrete. Water and cement were mixed in the proportion of 0.5 (w/c) and the strength of the structure was tested after 28 days. The results indicated that the polymer cement ratio (P/C) of 1% gives the best performance with 244 ksc compressive strength, 35 ksc tensile strength, 46 ksc flexural strength and 1% water absorption of concrete. Thus this study recommends that polymer cement ratio (P/C) of 1% by weight is most suitable for construction of concrete ditches. The material used in construction of irrigation ditch was consist of Portland cement 50 kg, sand 135 kg, gravel 148 kg, water 29.67 kg and rubber latex 0.83 kg. For field research precast concrete lining ditch having the bottom width of 0.4 m, height 0.3 m and thickness 0.07 m were constructed using the recommended mixture. The preliminary evaluation of the ditches in the field also indicates that these ditches allow water to flow quickly and easily. Reduction in the seepage loss the irrigation efficiency has improved significantly.
Keywords: irrigation ditch, rubber latex, concrete, farm irrigation system.
การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา|Research and development of concrete ditch mixed with rubber latex for farm irrigation system
Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand