Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

ความพึงพอใจต่อสำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 37

Last modified: March 28, 2021
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ความพึงพอใจต่อสำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 37
Satisfaction toward meditation practice at the meditation centre of Bangkok no.37
ชื่อนักศึกษา:
Author:
พระภูมินทร์ ตรีภพอารักษ์
PhraPhumin Treephobarrak
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผศ.ดร. เมฆินทร์ เมธาวิกูล
Asst.Prof.Dr.Mekin Methawikul
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
Master of Public Administration
สาขาวิชา:
Major:
รัฐประศาสนศาสตร์
Public Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง/citation

พระภูมินทร์ ตรีภพอารักษ์. (2560). ความพึงพอใจต่อสำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 37. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้มาปฏิบัติธรรมที่มีต่อสำนักปฏิบัติธรรมประจากรุงเทพมหานคร แห่งที่ 37 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้มาปฏิบัติธรรมที่สำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 37 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 37

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นผู้ที่เข้าปฏิบัติธรรมระหว่างเดือนตุลาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558รวมระยะเวลา 3 เดือนจำนวน 200 คน เนื่องจากประชากรในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวนไม่มากนัก ผู้วิจัยจึงทำการวิจัยประชากรทั้งหมด (Population Universe)ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ความถี่ ร้อยละโดยการทดสอบสมมติฐานการวิจัยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลด้วยไคสแควร์และวัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบแกมมาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจที่มีต่อสานักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 37 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวิทยากร รองลงมาคือ ด้านเนื้อหาสาระตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจที่มีต่อสำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 37 จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า สถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรม มีผลทำให้ความพึงพอใจที่มีต่อสานักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 37 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

จากผลการศึกษาความพึงพอใจต่อสำนักปฏิบัติธรรมประจากรุงเทพมหานคร แห่งที่ 37 ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้
1.ด้านวิทยากร
1) ควรมีพระวิปัสสนาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรมตามแนว สติปัฏฐาน 4มีการเตรียมความพร้อมให้พร้อมที่จะสอนการปฏิบัติธรรม
2) ควรมีการฝึกอบรมวิทยากรเพื่อให้สามารถตอบปัญหาที่ผู้ปฏิบัติธรรมถามได้ทุกคำถาม พร้อมรับฟังข้อซักถามต่างๆจากผู้ปฏิบัติธรรมด้วยความอดทนไม่เบื่อหน่าย
3) ควรมีวิทยากรพิเศษมาเพิ่มเพื่อทาให้หลากหลายต้องมีความเป็นกันเองเพื่อจะทาให้ผู้มาปฏิบัติได้กล้าถามกล้าแสดงความคิดเห็น
4) ควรจัดวิทยากรให้ตรงกับความถนัดเพื่อให้ประชาชนที่เข้าปฏิบัติธรรมได้ประโยชน์และเข้าถึงการปฏิบัติจริงๆไม่สับสนและเบื่อหน่ายในการปฏิบัติ

2.ด้านเนื้อหาสาระ
1)ควรสนับสนุนให้พระสงฆ์หันมาใช้สื่อประกอบการบรรยายธรรมเพื่อสร้างความสนใจแก่กลุ่มผู้ฟังจัดให้มีการอบรมเทคนิคในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการช่วยอบรม 2) ควรให้การสนับสนุนการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยอาจร่วมมือกันจัดทาเพื่อเผยแผ่ต่อไป
3) ควรปรับปรุงเนื้อหาให้เข้าใจง่ายและเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อสามารถปฏิบัติได้จริง
4) ควรเลือกใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมกับบทเรียนของการฝึกอบรมและเป็นประโยชน์ช่วยในการฝึกอบรม

ข้อเสนอแนะและการวิจัยครั้งต่อไปได้แก่
1) ควรศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติธรรมที่มีประสิทธิภาพของสำนักปฏิบัติธรรมประจากรุงเทพมหานคร แห่งที่ 37
2) ควรศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการเข้าปฏิบัติธรรมหลายๆสานักปฏิบัติเพื่อทำการเปรียบเทียบความพึงพอใจและจะได้ไปปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันได้
3) ควรศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของพระวิทยากรของสานักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 37


Abstract

This research aims to study the satisfaction levels of meditators who visit 37 Dhama Retreat Centers in Bangkok, study the factors that drive people to visit 37 Dhama Retreat Centers in Bangkok for meditation retreating and suggest about satisfaction levels of 37 Dhama Retreat Centers in Bangkok.

The population which was used for this research was people who did the meditation retreat between October 2015 and December 2015. The number of population was 200 people. Due to the small number of population, researcher decided to use to entire population as a Population Universe. Survey was used as a tool for collecting data. Statistic which was applied for this research was quantitative analysis, including frequency, percentage results from hypothesis test, Chi-square test and the relationship between two variables measurement by using the correlation coefficient with significant level of 0.05.

This research found that the factors which mostly impact on the satisfaction levels of meditators, who visit 37 Dhama Retreat Centers in Bangkok, are expert speaker skill, followed by meditation information. Moreover, gender, age, education and experience in meditation retreat do not differently affect the satisfaction levels of people, who visit 37 Dhama Retreats in Bangkok. Therefore, it was not in accordance with the assumption. The factors which significantly relate to the satisfaction level are the expert speaker skill and information at significant level at 0.05.
The followings are the results of studying the satisfaction levels of meditators who visit 37 Dhama Retreat Centers in Bangkok.

1. Expert speaker skill factor :
1.1 There should be Pravipassanajan who has an experience in Patipatan 4 meditation retreat in order to be prepared for the meditation retreat.
1.2 The expert speaker should be trained in order to be able to answer every question from meditators. The expert speaker should also be patient for many questions from meditator as well.
1.3 There should be a special guest in the meditation retreat as well in order to increase diversity of speakers. They should also be friendly, so the meditators are able to ask them questions and discuss any issue with each other.
1.4 The expert speaker skills should be applied correctly. As a consequence, the meditation retreat effectively benefit the meditators, meditators are not possibly confused and bored.
2.Information factor :
2.1 Buddhist monks should be encouraged to apply media with expounding dharma in order to increase the attractiveness. Creating a training in terms of using media for meditation retreat for speaker.
2.2 Creating a publication should be encouraged for propagation of religion.
2.3 The information which is provided to meditators should be easy to understand. The information has to be up to date, so people can apply for their dairy life.
2.4 Type of media and the details of meditation retreat should be coherent.

Suggestions :
1.Effective meditation retreat method should be studied by the 37 Dharma retreats in Bangkok.
2.Satisfaction levels of meditators should be focused in order to compare between satisfaction levels among the Dharma retreat center. Therefore, the Dharma retreat centers are able to conduct coherently.
3.To do an research of expert speaker potentials of 37 Dharma retreat centers.

Keywords:  Buddhist study, Buddhist study center.


ความพึงพอใจต่อสำนักปฏิบัติธรรมประจำกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 37 / Satisfaction toward meditation practice at the meditation centre of Bangkok no.37

Master of Public Administration, Siam University, Bangkok, Thailand