Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน

Last modified: December 17, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน
Research Article: The Development of Mortar Mixed with Rubber Latex for Irrigation Canal Maintenance
ผู้เขียน/Author: พีรวัฒน์ ปลาเงิน, สมศักดิ์ ชินวิกกัย และ ชวน จันทวาลย์ | Pheerawat Plangoen, Somsak Chinvikkai and Chuan Chuntavan
Email: pheerawat.pla@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty: Faculty of Engineering in Civil Engineering, Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่: วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2561 | KMUTT Research and Development Journal

การอ้างอิง|Citation

พีรวัฒน์ ปลาเงิน, สมศักดิ์ ชินวิกกัย และ ชวน จันทวาลย์. (2561). การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 41(2), 211-223.

Plangoen P., Chinvikkai S. and Chuntavan C. (2018). The development of mortar mixed with rubber latex for irrigation canal maintenance. KMUTT Research and Development Journal, 41(2), 211-223.


บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสมบัติของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราชนิดพรีวัลคาไนซ์สำหรับใช้ซ่อมแซมรอยแตกร้าวและบำรุงรักษาคลองส่งน้ำชลประทาน ทั้งนี้ทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วยการทดสอบกำลังรับแรงอัดกำลังรับแรงดัด กำลังรับแรงดึง และการดูดซึมน้ำของมอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราโดยกำหนดอัตราส่วนปริมาณเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยน้ำหนัก นอกจากนี้ ยังได้ทดสอบมอร์ต้าร์ไม่ผสมน้ำยางพาราด้วยสำหรับอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) แปรเปลี่ยนที่ 0.4, 0.5 และ 0.6 ผลการวิจัยพบว่ามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราที่อัตราส่วนเนื้อยางต่อปูนซีเมนต์ (P/C) เท่ากับร้อยละ 5 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.5 ที่ระยะเวลาการบ่ม 28 วัน มีสมบัติทางกลและการดูดซึมน้ำดีที่สุด ดังนี้ กำลังรับแรงอัด 310 กก./ซม2 กำลังรับแรงดัด 70 กก./ซม2 กำลังรับแรงดึง 46 กก./ซม2 การดูดซึมน้ำร้อยละ 5.35 และ การรั่วซึมน้ำ 13.64 มม./วัน ผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ซ่อมแซมรอยแตกร้าวและบำรุงรักษาคลองชลประทานที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี จากการติดตามประเมินผลเบื้องต้นการใช้งานคลองส่งน้ำชลประทาน พบว่าปริมาณน้ำไหลเข้าสู่พื้นที่แปลงนาไหลได้สะดวกและรวดเร็ว สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำเนื่องจากการรั่วซึมได้ดีและทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบชลประทาน

คำสำคัญ: มอร์ต้าร์, น้ำยางพรีวัลคาไนซ์, สมบัติทางกลของมอร์ต้าร์, คลองชลประทาน


ABSTRACT

This research aimed to improve the properties of mortar mixed with pre-vulcanized latex that can be used to repair jointed irrigation canal crack and maintain irrigation canal to prevent water seepage. Laboratory tests were performed to study the mechanical properties of the mortarin terms of the compressive strength, flexural strength, tensile strength, water absorption and seepage loss. Different proportions of mortar to polymer concrete (P/C) viz. 5%, 10% and 15% by weight were used; normal mortar was also tested. Water latex solution to cement ratio (w/c) was varied at 0.4, 0.5 and 0.6.The results indicated that the P/C value of 5% and w/c of 0.4 yielded the sample of the best performance. The mixture on its 28th day of incubation possessed the compressive strength of 310 ksc, flexural strength of 70 ksc, tensile strength of 46 ksc, water absorption of 5.35% and seepage loss of 13.64 mm/day. Considering the satisfactory performance of the prepared material, it was used for repairing the irrigation canal walls and irrigation canal cracks in the Pasak dam operation and maintenance project in Lop Buri Province. Preliminary evaluation indicated that the repaired irrigation canals allowed water to flow more quickly and easily. Reduction in the seepage loss has resulted in a significant increase in the irrigation efficiency.

Keywords : Mortar, Pre-vulcanized Latex, Mechanical Properties of Mortar, Irrigation Canal.


การพัฒนามอร์ต้าร์ผสมน้ำยางพาราสำหรับซ่อมแซมและบำรุงรักษาคลองชลประทาน|The Development of Mortar Mixed with Rubber Latex for Irrigation Canal Maintenance

Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand