ชื่อบทความ: | การใช้ไมโครเวฟช่วยในการสกัดเพคตินจากเปลือกมะกรูดร่วมกับกรดซิตริก |
Research Article: | Use of microwave-assisted extraction of pectin from kaffir lime peel with citric acid |
ผู้เขียน/Author: | รัญชน์ปรัตม์ จีนสมุทร์, กนกวรรณ ภูมาสี, จิรนาถ บุญคง, และปิยนุสร์ น้อยด้วง |
Email: | piyanoot.noi@siam.edu |
ภาควิชา/คณะ: | ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department/Faculty: | Department of Food Technology, Faculty of Science, Siam University, Bangkok 10160 |
Published/แหล่งเผยแพร่: | การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |The 8th Academic Science and Technology Conference: ASTC2020 |
การอ้างอิง/citation
รัญชน์ปรัตม์ จีนสมุทร์, กนกวรรณ ภูมาสี, จิรนาถ บุญคง, และปิยนุสร์ น้อยด้วง. (2564). การใช้ไมโครเวฟช่วยในการสกัดเพคตินจากเปลือกมะกรูดร่วมกับกรดซิตริก. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8 (512-520). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้ไมโครเวฟช่วยในการสกัดเพคตินร่วมกับกรดซิตริก ความเข้มข้นร้อยละ 10 โดยแปรผันกำลังไฟฟ้าของไมโครเวฟเป็น 300, 650 และ 800 วัตต์ และระยะเวลาสกัดเป็น 1, 3 และ 5 นาที ตามลำดับ พบว่าเมื่อการเพิ่มกำลังไฟฟ้า และเวลาในการให้ความร้อนมากขึ้น ทำให้ร้อยละของผลผลิตของเพคตินเพิ่มขึ้น แต่มีผลลดค่าน้ำหนักสมมูลของเพคติน ค่าร้อยละของหมู่เมทอกซิล และร้อยละของระดับของเอสเทอริฟิเคชัน (DE) ของเพคตินที่สกัดได้ ซึ่งการใช้ไมโครเวฟที่กำลังไฟฟ้า 300 วัตต์ นาน 1 และ 3 นาที ได้เพคตินชนิดเมทอกซิลสูง เมื่อเพิ่มกำลังไฟฟ้าและเวลามากขึ้น ได้เป็นเพคตินชนิดเมทอกซิลต่ำ ดังนั้นภาวะที่เหมาะสมในการใช้ไมโครเวฟและกรดซิตริกช่วยในการสกัดเพคตินจากเปลือกมะกรูด คือ กำลังไฟฟ้า 800 วัตต์ นาน 3 นาที ได้เพคติน ชนิดเมทอกซิลต่ำ มีค่าร้อยละ DE เท่ากับ 27.20 และมีค่าร้อยละการผลผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเดิม เท่ากับ 23.55 และ เวลาในการสกัดเพคติน ลดลงเป็น 3 นาทีจากวิธีเดิมที่ใช้ 1 ชั่วโมง
คำสำคัญ: เพคติน, กรดซิตริก, การสกัด, ไมโครเวฟ
ABSTRACT
This research studied microwave-assisted extraction of pectin with 10% citric acid. The microwave power was varied to 300, 650 and 800 watts, and extraction times were 1, 3 and 5 minutes, respectively. The result showed that an increase in microwave power and extraction duration led to higher yield of pectin, but reduced the equivalent weight, % methoxyl and %DE of pectin extracted. It was also found that only at microwave power of 300 watts for 1 and 3 minutes produced high methoxyl pectin, while low methoxyl pectin was obtained at higher microwave power and longer duration. The optimum condition of microwave-assisted extraction of pectin from kaffir lime peel using citric acid was 800 watts for 3 minutes. Although this condition produced low methoxyl pectin with DE of 27.20%, it led to higher yield than that obtained from conventional extraction methods around 23.55% as well as its extraction duration was lower to 3 minutes from conventional methods at 1 hour.
Keywords: pectin, citric acid, extraction, microwave heating.
การใช้ไมโครเวฟช่วยในการสกัดเพคตินจากเปลือกมะกรูดร่วมกับกรดซิตริก|Use of microwave-assisted extraction of pectin from kaffir lime peel with citric acid
Faculty of Science, Siam University, Bangkok, Thailand