ชื่อบทความ: | การสร้างแอปพลิเคชันสื่อกลางสำหรับคนรักกิจกรรม โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสังคมออนไลน์และคลาวด์คอมพิวติ้ง |
Research Article: | Developing an Application for Activity Lovers by Applying Social Network and Cloud Computing Technology |
ผู้เขียน|Author: | จรรยา แหยมเจริญ, สายยาใจ พึ่งประชา, พชระ กันทา, นันทภรณ์ ภุมรินทร์ | Janya Yamcharoen, Saiyajai Peungpracha, Patchara Kantha, Nanthaporn Pummarin |
Email: | janya.yam@siam.edu ; saiyajai.peu@siam.edu |
ภาควิชา|คณะ: | ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department|Faculty: | Department of Computer Science, Faculty of Science, Siam University, Bangkok 10160 |
Published|แหล่งเผยแพร่: | การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 6 “พลิกโฉมนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสุขภาพในยุค Next Normal” วันที่ 20 มิถุนายน 2565 (ออนไลน์) มหาวิทยาลัยคริสเตียน นครปฐม | 6th Conference 2021, June 20, 2022 (online), Christian University, Nakhon Pathom |
การอ้างอิง|Citation
จรรยา แหยมเจริญ, สายยาใจ พึ่งประชา, พชระ กันทา, นันทภรณ์ ภุมรินทร์. (2565). การสร้างแอปพลิเคชันสื่อกลางสำหรับคนรักกิจกรรม โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสังคมออนไลน์และคลาวด์คอมพิวติ้ง. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 (หน้า 505-514). นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
Yamcharoen J., Peungpracha S., Kantha P., & Pummarin N. (2022). Developing an application for activity lovers by applying social network and cloud computing technology. In 6th Conference 2021 (pp. 505-514). Nakhon Pathom: Christian University.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ที่ชื่นชอบทำกิจกรรม และหาเพื่อนร่วมทำกิจกรรม โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสังคมออนไลน์และคลาวด์คอมพิวติ้ง และมีระบบแนะนำกิจกรรมตามความชอบส่วนบุคคล แบ่งระบบออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย 1. ส่วนเบื้องหน้า (Front-End) เป็นโมบายแอปพลิเคชันแบบครอสแพลทฟอร์ม สามารถทำงานได้ทั้งบนแพลทฟอร์มแอนดรอยด์และไอโอเอส พัฒนาด้วยภาษา Dart และ Flutter Framework 2. ส่วนเบื้องหลัง (Back-End) เป็นการบริการจัดการข้อมูล ใช้เทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบ NoSQL ด้วย Firebase และอัลกอริทึมการแนะนำกิจกรรมตามความชอบส่วนบุคคลโดยใช้หลักการของภาษา SQL ในการคิวรี่ข้อมูลตามประเภทกิจกรรมที่ชื่นชอบและความถี่ (Frequency) ของการกดถูกใจกิจกรรม ทดสอบการใช้งานระบบจากกลุ่มผู้ใช้โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า ฟังก์ชันการทำงานของแอปพลิเคชันสามารถทำงานได้ตามที่กำหนด ระดับความพึงพอใจในประสิทธิภาพของระบบอยู่ในระดับมาก ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.11, S.D. เท่ากับ 0.25 และระบบแนะนำกิจกรรมตามความชอบส่วนบุคคลมีความถูกต้องอยู่ในระดับมาก ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ระบบที่พัฒนาสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยสยามได้ ทำให้เกิดศูนย์กลางกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์แหล่งใหม่
คำสำคัญ: สังคมออนไลน์, ครอสแพลทฟอร์มแอปพลิเคชัน, ระบบแนะนำส่วนบุคคลอัจฉริยะ
ABSTRACT
The purpose of this research was to develop a mobile application a medium for activist and seek friends to join the activity by utilizing social media technology and cloud computing. And has a personalized recommendation system. The system consists of 2 parts: 1. Front-end is a cross-platform mobile application that can work on both Android and iOS platforms developed with Dart and Flutter Frameworks. 2. Back-end is data management by using Firebase is NoSQL database technology and a personalized recommendation algorithm using the SQL language to retrieve the activity by the activity types and frequency of activity liked. Testing the system by a group of users that have been simple random sampling from senior students of the computer science program, Siam University, a total of 10 people. The result was the application works according to the specification. The satisfaction with the performance of the system was at a good level with an average score of 4.11, S.D. 0.25 and the accuracy of the personalized recommendation system was at a good level with an average score of 4.60. The developed system can be applied to activities within the university and make a new online activity hub.
Keywords: Social, Cross-Platform Application, Personalized Recommendation System.
Developing an Application for Activity Lovers by Applying Social Network and Cloud Computing Technolog
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Science, Siam University, Bangkok, Thailand