Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

ปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบ อาการของเสียประเภทเพาช์

Last modified: July 8, 2020
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
ปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบ อาการของเสียประเภทเพาช์
Improve Visual Inspection of the Seal for Pouch Products
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวจุฑามาศ มาศรังสฤษดิ์
Miss Juthamas Masrungsarid
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผศ.จิรนาถ บุญคง
Asst. Prof. Jiranart Boonkong
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
Bachelor of Science
ภาควิชา:
Major:
เทคโนโลยีการอาหาร
Food Technology
คณะ:
Faculty:
วิทยาศาสตร์
Science
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
3/2561
3/2018

การอ้างอิง/citation

จุฑามาศ มาศรังสฤษดิ์. (2561). ปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบ อาการของเสียประเภทเพาช์. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด มีกระบวนการผลิตอาหารสัตว์แบบเหลวบรรจุถุงชนิดอ่อน (Pouch) โดยกระบวนการตรวจสอบคัดแยกอาการและระดับของเสียประเภทเพาช์ (Seal visual defect) แผนกเช็ดกระป๋อง (เพาช์) และปิดฉลากมีข้อบกพร่อง ส่งผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต  จากการศึกษาสาเหตุหลักที่แท้จริงของปัญหา  โดยใช้หลักการคิวซีสตอรี่ (QC-Story)   และเครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพ  7 ชนิด (7 QC Tools) เพื่อทดสอบสาเหตุหลักโดยใช้ กราฟ Time series plot % และ แผนภูมิพาเรโตในการคัดเลือกปัญหา พบว่ามีปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ 1) พนักงาน QC ไม่รู้จักอาการของเสีย Defect ครอบคลุมทุกชนิด 2) อาการของเสีย Defect แต่ละประเภท มีหลายระดับซึ่งอาจจะทำให้พนักงานสับสน คือ ของดีคิดเป็นของเสีย /ของเสียคิดเป็นของดี 3) คำจำกัดความ(Definition ) ของพนักงาน QC ในไลน์ผลิต กับ พนักงาน QC WH มีความเข้าใจเรื่อง Defect ไม่ตรงกัน ดังนั้นจึงทำการระดมความคิดทบทวนแก้ไขนิยามอาการ Defect ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ มีการจัดทำคู่มือการสอน คู่มือการปฏิบัติงาน (WI) และสื่อการสอน  จากนั้นจัดอบรมขั้นต้นให้แก่นักศึกษาฝึกงาน พบว่าผลคะแนนทดสอบเฉลี่ยหลังการอบรมมีค่าสูงกว่าคะแนนก่อนการอบรม โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 46.67%  และหลังจากนั้นมีการจัดอบรมภายใต้โครงการ “Train the trainer”  ให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้จัดการแผนก ผู้ช่วยผู้จัดการแผนก หัวหน้ากลุ่ม และ หัวหน้างาน เมื่อผ่านการอบรมแล้วจะต้องนำความรู้ที่ได้จากการอบรม ไปสอนงานและอบรมต่อยอดให้กับพนักงาน QC รายเดือน การติดตามผลหลังใช้มาตรการ พบว่าประสิทธิภาพกระบวนการตรวจสอบคัดแยกอาการและระดับของเสียประเภทเพาช์เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่บริษัทกำหนด ซึ่งปัจจุบันบริษัทยังคงใช้มาตรการดังกล่าวเป็นแผนการดำเนินงานของบริษัทอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ: ถุงเพาช์, อาการของเสีย, การอบรม


Abstract

Thai Union Manufacturing Co., Ltd. has a production process of animal feed paste containing in pouch. The inspection process for sorting, visual defect of the seal of the pouch and labelling affected production efficiency. Main causes of these problems were studied by using QC-story and 7 QC Tools. Time series plot% and Pareto charts were used to prove the problem causes. The main causes were: 1) QC staff currently do not know all types of defects; 2) there were many defect levels in each type of defects, leading to employees’ confusion; and 3) definition of the defects for understanding between the QC staff in the production line and QC WH staff were not the same. Therefore, brainstorming ideas of reviewing and editing the definition of defect characteristics for standardization were done with experts. Teaching manuals, work instructions and teaching media for defect levels and types were created and used to train for interns students. It was found that testing scores of the students after training were higher (46.67%). After that, the training program “Train the trainer” was used to train staffs including department managers, department assistant managers, group leaders and supervisors. After passing the training, the knowledge gained from the training must be brought to monthly QC staff. Follow-up step after implementation was done. It indicated that the efficiency of the sorting and checking process of defects was higher as per company target. Nowadays, the company still uses this standard ongoing in action plan.

Keywords:  Pouch, Defect, Training.


ปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบ อาการของเสียประเภทเพาช์ |  Improve Visual Inspection of the Seal for Pouch Products

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  |  Faculty of Science, Siam University, ฺBangkok, Thailand

Related: