หัวข้อวิทยานิพนธ์: Project Title: |
การจัดทำเครื่องต้นแบบการกลั่นน้ำทะเลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากจานรับแสงพาราโบลา Seawater Solar Distillation by Parabolic Plate |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายประดิษฐ์ ลิมสัมพันธ์เจริญ Mr. Pradit Limsamphuncharoen |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ โสตรโยม, รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ริจิรวนิช Asst. Prof. Dr. Arthit Sode-Yome, Asso. Prof. Dr. Vanchai Rijiravanich |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) Master of Engineering in Engineering Management |
สาขาวิชา: Major: |
การจัดการงานวิศวกรรม Engineering Management |
คณะ: Faculty: |
บัณฑิตวิทยาลัย Graduate Schools |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2562 2019 |
การอ้างอิง|Citation
ประดิษฐ์ ลิมสัมพันธ์เจริญ. (2562). การจัดทำเครื่องต้นแบบการกลั่นน้ำทะเลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากจานรับแสงพาราโบลา. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
Limsamphuncharoen P. (2019). Seawater solar distillation by parabolic [late. (Master’s independent study). Bangkok: Master of Engineering in Engineering Management, Siam University.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดทำเครื่องต้นแบบการกลั่นน้ำทะเลเป็นน้ำจืดเพื่อนำมาใช้ในการบริโภค โดยใช้เทคโนโลยีสะอาด และพลังงานหมุนเวียน จากพลังงานแสงอาทิตย์
วิธีการวิจัยจะใช้เครื่องต้นแบบจานรับแสงพาราโบลาส่งผ่านพลังงานแสงอาทิตย์ในการทำให้น้ำทะเลในหม้อต้มเกิดการะเหยกลายเป็นไอ แล้วทำให้ไอระเหยตกกระทบกับภาชนะที่เย็นกว่าเกิดการควบแน่นกลั่นตัวเป็นหยดน้ำได้เป็นน้ำจืดเก็บลงในภาชนะบรรจุน้ำกลั่น การศึกษาจะวัดความเข้มแสงอาทิตย์ อุณหภูมิหม้อต้ม และปริมาณการกลั่นสะสมในช่วงเวลาทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพการกลั่นตามปริมาณน้ำทะเลที่แตกต่างกันในช่วงเวลาเดียวกัน
ผลการวิจัยพบว่าเมื่อให้เครื่องกลั่นน้ำทะเลทำงานโดยการใช้วิธีหมุนจานทุกชั่วโมงที่ปริมาณน้ำทะเลที่ 30%, 50% และ 70% ของหม้อต้ม ประสิทธิภาพการกลั่นน้ำสะสมอยู่ที่ประมาณ 28.89%, 12.10% และ 4.48% ตามลำดับ เมื่อให้เครื่องกลั่นน้ำทะเลทำงานโดยการใช้ระบบติดตามดวงอาทิตย์ โดยอัตโนมัติ ประสิทธิภาพการกลั่นน้ำสะสมเพิ่มขึ้น 33.00%, 13.70% และ 5.05% ตามลำดับ จากการทดสอบคุณสมบัติและคุณภาพของน้ำจืดที่กลั่นได้พบว่า น้ำกลั่นที่ได้เป็นน้ำที่มีคุณสมบัติและคุณภาพสูงกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำเพื่อการบริโภคโดยองค์การอนามัยโลก ต้นทุนน้ำกลั่นที่ได้จากเครื่องกลั่นน้ำโดยวิธีหมุนจานด้วยมือเท่ากับ 3.44 บาท/ลิตร
คำสำคัญ: การกลั่นน้ำทะเล, การกลั่นน้ำทะเลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์, จานรับแสงพาราโบลา, เทคโนโลยีสะอาด, พลังงานหมุนเวียน
Abstract
This research aimed to study seawater solar distillation from parabolic plate to make freshwater from seawater using clean technology and renewable energy from solar energy.
The research methodology dealt with the utilizing solar heat reflection from a parabolic plate to make the seawater in the boiler to evaporate. The evaporation of the vapors was cooled by condensation and condensed into fresh water in a bottle. The measurements of solar intensity, seawater boiler temperature and the amount of distillation accumulated during the test period were tested for the efficiency of distillation according to the amount of seawater in boiler at the same period.
The study results showed that when the distillation machine was operated by using the method of rotating the parabolic plate every hour at the seawater volume at 30%, 50% and 70% of the boiler, the efficiency of cumulative distillation were 28.89%, 12.10% and 4.48% accordingly. When the distillation machine was operated by using the solar tracking system, the efficiency of cumulative distillation were 33.00%, 13.70% and 5.05% accordingly. The laboratory test on the properties and quality of distilled fresh water found that the properties and quality of the distilled water was higher than the water quality standards for consumption proposed by the World Health Organization. The cost of the distilled water obtained from the distillation machine by rotating the parabolic plate was 3.44 baht/liter.
Keywords: seawater distillation, seawater solar distillation, parabolic plate, clean technology, renewable energy.
การจัดทำเครื่องต้นแบบการกลั่นน้ำทะเลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากจานรับแสงพาราโบลา, Seawater Solar Distillation by Parabolic Plate
Master of Engineering in Engineering Management, Siam University, Bangkok, Thailand
Related by advisor:
- การลดการใช้พลังงานสำหรับอุปกรณ์เครื่องทำน้ำเย็นชนิดระบายความร้อนด้วยน้ำด้วยวิธีการบำรุงรักษาทวีผล: กรณีศึกษาโรงงานผลิตนาฬิกา
- การพัฒนาโปรแกรมออกแบบมาตรฐานการผลิตสายไฟฟ้าเพื่อลดข้อผิดพลาด
- การศึกษาเงื่อนไขการก่อสร้างสถานีประจุไฟฟ้า
- การปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบรถไฟฟ้าด้วยการบำรุงรักษา
- การลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการว่าจ้างผู้รับเหมาซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า