การวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก

Last modified: July 3, 2019
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก
Activity based cost analysis: A case study of a Plastic Packaging Factory
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายชัยสิทธิ์ แซ่ลิ้ม   
Mr.Chaiyasit  Saelim
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย  ริจิรวนิช
Assoc. Prof. Dr.Vanchai Rijiravanich
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
Master of Engineering in Engineering Management
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการงานวิศวกรรม
Engineering Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง/citation

ชัยสิทธิ์ แซ่ลิ้ม. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรม: กรณีศึกษาโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก. (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอาวิธีคิดต้นทุนฐานกิจกรรมมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจบรรจุภัณฑ์พลาสติกมีผลทำให้สามารถกำหนดราคาขายให้ได้กำไรที่ถูกต้องแม่นยำ จากการศึกษาการคิดต้นทุนของธุรกิจดังกล่าว พบว่ามีการคิดต้นทุนแบบเดิมคือการปันส่วนต้นทุนที่เกิดขึ้นเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ตามจำนวนชั่วโมงแรงงานทางตรงที่เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่สามารถสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงจากการผลิตได้ ทำให้เมื่อนำผลิตภัณฑ์ไปกำหนดราคาขายอาจทำให้ไม่ได้กำไรตามที่ตั้งไว้ร้อยละ 40 จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาเพื่อให้ได้ต้นทุนที่แท้จริง

วิธีการศึกษาโดยใช้วิธีคิดต้นทุนแต่ละฐานกิจกรรมที่เกิดขึ้นในการผลิต ซึ่งมี 5 ฐานกิจกรรมและกำนหนดเกณฑ์ปันส่วนในการนำมาคิดต้นทุน ได้แก่ กิจกรรมการเตรียมวัตถุดิบ กิจกรรมการเตรียมเครื่องจักร กิจกรรมการผลิต  กิจกรรมการตรวจสอบคุณภาพและกิจกรรมการขนส่งเข้าคลัง และนำเอาผลิตภัณฑ์ 5 ชนิดที่มียอดขายสูงสุดมาทำการศึกษา ได้แก่ ขวดโหล A1, A2, A3, A4 และ A5

ผลการวิจัยพบว่าเมื่อทำการวิเคราะห์และเปรียบเทียบราคาต้นทุนทั้ง 2 แบบ ทำให้ทราบว่าการกำหนดราคาขายโดยใช้วิธีต้นทุนแบบเดิมทำให้ขวดโหล รหัส A3, A4 และ A5 กำหนดราคาต่ำเกินไปร้อยละ 1.89, 6.27 และ 6.08 ตามลำดับ ส่วนขวดโหล รหัส A1 และ A2 กำหนดราคาสูงเกินไปร้อยละ 7.46 และ 1.32 ตามลำดับ

 

คำสำคัญ: การวิเคราะห์ต้นทุน, บรรจุภัณฑ์พลาสติก


Abstract

The objective of this research was to estimate cost of goods utilizing activity based costing in a factory manufacturing plastic jars. If the cost of the jars was estimated correctly, selling prices could be appropriately set. The original method of estimating the cost was based only on the direct labor hours, which could not reflect the real cost. As a result, the selling prices were not high enough to obtain the 40% profit as set. Therefore, it was crucial to have another way to estimate the costs.

The new method proposed was based on 5 activity bases. They were material preparation, machine preparation, production, quality inspection and materials handling. Also 5 items of largest sale volume jars A1, A2, A3, A4 and A5 were selected to estimate the costs.

After utilizing the activity based costing with the 5 jars mentioned above, the prices of these jars were obtained. It was found that A3, A4 and A5 jars were set at the selling prices of 1.89, 6.27 and 6.08 percent respectively, lower than they should be set with the new method. But for A1 and A2 jars, the prices were 7.46 and 1.32 percent respectively, higher than they should be.

 

Keywords:  Cost Analysis, Plastic Packaging.


  Activity Based Cost Analysis-A Case Study of a Plastic Packaging Factory

Master of Engineering in Engineering Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 2400
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles