หัวข้อวิทยานิพนธ์: Project Title: |
รูปแบบการจัดการอุตสาหกรรมเหล็กไทยสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืน The Management Model toward Sustainable Green Industry for Thai Steel Industry |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวณัฐพร ยงวงศ์ไพบูลย์ Miss Natthaporn Yongvongphaiboon |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ผศ.ดร.เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี, รศ.ดร.วันชัย ริจิรวนิช Asst.Prof.Dr. Chalermkiat Wongvanichtawee, Assoc.Prof.Dr. Vanchai Rijiravanich |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) Doctor of Philosophy |
สาขาวิชา: Major: |
การจัดการ Management |
คณะ: Faculty: |
บัณฑิตวิทยาลัย Graduate Schools |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2563 2020 |
Published/แหล่งเผยแพร่: |
– Natthaporn Yongvongphaiboon and Jidapa Thirasirikul. Management Environment of Steel Industry in Thailand. In 4th National and International Conference on Humanities and Sicial Sciences “NICHSS” 2/2016″. On 7 October 2016 at Rangsit University, Phathumthani, Thailand. Conference – Natthaporn Yongvongphaiboon. Model of Thai Steel Industry Management Towards Becoming A Sustainable Green Industry. Journal of MCU Peace Studies. Vol.19 No.3 (May-June 2021). (TCI 1) – ณัฐพร ยงวงศ์ไพบูลย์. แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการอุตสาหกรรมเหล็กไทยสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืน. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564). (TCI 2) Article |
การอ้างอิง|Citation
ณัฐพร ยงวงศ์ไพบูลย์. (2563). รูปแบบการจัดการอุตสาหกรรมเหล็กไทยสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
Vongchankit V. (2018). A study of corporate level management strategy, work culture, and operational excellence that influence on participation management in the mobile telecommunications network operator business in Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหา และสาเหตุการบริหารการจัดการเพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กนำไปใช้ในการพัฒนาองค์กรสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนำหลักการอุตสาหกรรมสีเขียวมาใช้เพื่อสร้างความยั่งยืน 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเพื่อนำอุตสาหกรรมเหล็กไทยไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืน
การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักโดยเก็บข้อมูลจากภาครัฐ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญภาครัฐ 2 ท่าน และภาคเอกชนโดยการคัดเลือกองค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมเหล็ก 5 องค์กร สัมภาษณ์ภาคเอกชนโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารในแต่ละองค์กรจำนวน 5 ท่าน และเสริมด้วยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากผู้ปฏิบัติงานทั้ง 5 หน่วยงานโดยการแจกแบบสอบถาม ซึ่งจะเก็บหน่วยงานละ 10 ท่านจากองค์กรที่เข้าข่ายในการศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า มิติที่ 1 มุมมองด้านการเงิน นั้นมีผลต่อการจัดการอุตสาหกรรมเหล็กไทยสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว ผลจากการสัมภาษณ์นั้นผู้บริหารได้ลงความคิดเห็นว่าการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเหล็กให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวได้นั้นจำเป็นต้องมีการลงทุนด้านเครื่องจักร ซึ่งการลงทุนเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรนั้นจะต้องวิเคราะห์ว่าผลิตภัณฑ์นั้นคุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่ แต่หากไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรอันเนื่องมาจากปัจจัยด้านเงินลงทุน อุตสาหกรรมเหล็กก็สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นกับสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน โดยการรักษาสภาพเครื่องจักร ดูแล บำรุงเครื่องจักรให้มีความสะอาด และใช้การได้มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการจัดการกับของเสียที่เกิดขึ้น ผลจากแบบสอบถามอยู่ในระดับที่มีค่าเห็นด้วยมากอยู่ที่ ( X = 4.04, S .D. = .506) มิติที่ 2 มุมมองทางด้านกระบวนการจัดการภายใน จากการสัมภาษณ์การจะผลักดันองค์กรให้ประสบผลสำเร็จในการเป็นองค์กรสีเขียวได้นั้น ปัจจัยอยู่ที่การกำหนดนโยบายที่ชัดเจน และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ผลจากแบบสอบถามอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( X = 4.09, S.D. = .594) มิติที่ 3 มุมมองทางด้านลูกค้าและสังคมจากการสัมภาษณ์ “สังคม” มีผลกระทบ และมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้องค์กรของท่านปรับตัวและพัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืนพบว่าการยอมรับจากชุมชนและสังคมรอบข้างนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากหากองค์กรไม่ได้รับการยอมรับนั้นการทำธุรกิจก็จะเป็นเรื่องยุ่งยาก อีกทั้งการที่บริษัทเป็นองค์กรสีเขียวจะส่งผลดีแก่สังคมและชุมชนรอบข้างองค์กร จากแบบสอบถามอยู่ในระดับที่มีค่าเห็นด้วยมาก ( X = 4.08, S.D. = .615) มิติที่ 4 มุมมองทางด้านการเรียนรู้และการเติบโต จากการสัมภาษณ์พบว่าในปัจจุบันแนวโน้มของตลาดยังไปในทิศทางของการใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการจะทำให้ได้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นกระบวนการผลิตจำเป็นที่จะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน ซึ่งการเปลี่ยนกระบวนการผลิต รวมถึงเปลี่ยนองค์กรให้เป็นสีเขียวนั้น จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจ และความคุ้มค่าให้แก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดี ผลจากแบบสอบถามอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( X = 4.01, S.D. = .588)
คำสำคัญ: อุตสาหกรรมเหล็ก, อุตสาหกรรมสีเขียว, ความยั่งยืน
Abstract
The objectives of this study were: 1) to study the factors that affect the practical implications for the development of the green industry; 2) to study the practical guidelines to bring the Thai steel industry to a green, sustainable industry; 3) to introduce the management guidelines for the Thai steel industry to become a green, sustainable industry.
The main research methodology was conducted based on a qualitative manner. The data was collected by interviewing two people from the government sector. Besides, five executives from each leading steel company were selected for an extensive interview, along with a questionnaire conducted by five departments (10 people per department) from each firm. The results were concluded in four dimensions; 1) Financial perspective affecting the management of Thai steel industry. As a result of the interviews, the executives commented that transforming the steel industry into a green industry required additional investment in machinery. The investment in changing machinery required deep analysis of return on investment, thus, the decision cannot be swiftly made and updated machinery is the only option. The steel industry could adapt the production to be environmentally friendly by maintaining the condition of the machinery and take extensive care such as cleaning and consistently monitor the performance of the machines. The results from the questionnaire showed that majority agreed ( X = 4.04, S.D. = .506) on the above statement; 2) Perspectives on internal management processes. To push the organization to be successful in becoming a green organization, according to the interviews, the factor tunes in the clear policy combined with ongoing monitoring. The results from the questionnaires showed with a level of agree ( X = 4.09, S.D. = .594); 3) Perspectives on customers and society. “Society” tune an impact on the organization, which was an important part in driving an organization to adapt and advance into a green industry. It was found that acceptance from the community was important because if the organization is not accepted in society, it would affect the brand image. Hence, being a green organization would benefit society and the surrounding communities. The results showed a level of agreement ( X = 4.08, S.D. = .615); 4) Perspectives on learning and growth. The data also found that the environmentally friendly production trend has gradually increased. Therefore, the organization adapting their production process to this new trend would help to build confidence and add more value to the customers. The results from the questionnaires showed a level of agreement ( X = 4.01, S.D. = .588).
Keywords: Steel Industry, Green Industry, Sustainability.
รูปแบบการจัดการอุตสาหกรรมเหล็กไทยสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างยั่งยืน | The Management Model toward Sustainable Green Industry for Thai Steel Industry
Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand