ชื่อบทความ: | การศึกษาพฤติกรรมการชำระเงินและการกระจายสินค้าบนเส้นทาง ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก- ตะวันตก |
Research Article: | The studies of behavioral patterns of transaction and cargoes distribution on East – West Economic Corridor |
ผู้เขียน/Author: | ดร.ชลิศา รัตรสาร | Chalisa Rattarasarn, Ph.D. |
Email: | chalisa.rat@siam.edu |
สาขาวิชา/คณะ: | ศูนย์การศึกษาโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160 |
Department/Faculty | Logistics Studies Center, Faculty of Business Administration, Siam University, Bangkok 10160 |
บทคัดย่อ
การค้าชายแดน ในระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก ตะวันตก หรือ East – West Economic Corridor มีความเฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากการค้าชายแดนทั่วไป เพราะมีความเชื่อมโยงถึงกันด้วยทางหลวงระหว่างประเทศ ผ่านพม่า ไทย ลาว โดยตัดผ่านจังหวัดพิษณุโลก ที่เรียกว่า สี่แยกอินโดจีน ซึ่งพบว่า พฤติกรรมการชำระเงิน และการเคลื่อนย้ายสินค้า มีความแตกต่างกัน เมื่อเทียบกับการค้าชายแดนที่จุดอื่นๆ
ทิศทางการค้าชายแดน ไทย พม่า ที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นการส่งออกสุทธิเข้าไปในพม่า มากกว่าที่จะเป็นการนาเข้าสินค้าพม่ามายังไทย ส่วนการค้าชายแดนไทย ลาว ที่อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เป็นการส่งออกสิทธิเข้าไปในลาว และผ่านแดนลาว เข้าไปยังเวียดนาม และจีน
เมื่อพิเคราะห์ถึง รูปแบบการค้าแล้วพบว่า การเคลื่อนย้ายสินค้าผ่านแดนไทย ลาว มีความซับซ้อนกว่าสินค้าผ่านแดน ไทย พม่า และทั้งโดยจำนวนรายการและมูลค่าการค้าในด้านการชาระเงินค่าสินค้า ฝั่งพม่า มีการใช้ระบบธนาคารพาณิชย์ มากกว่า ฝั่งลาว และเป็นการชาระค่าสินค้าด้วยเงินบาทมากที่สุด โดยพบว่า การชำระเงินด้วยระบบเล็ตเตอร์ออฟเครดิต มีจำนวนเบาบางมาก
นอกจากนี้ ยังพบว่า นโยบายและมาตรการทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งเสริมการค้าชายแดนเป็นอย่างดียิ่ง ทั้งฝั่งพม่าและลาว โดยเน้นให้เอกชนหันมาชาระเงินผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ ในจังหวัด ส่วนการพัฒนาเส้นทางการค้าฝั่งตะวันตก ด้วย ถนนแม่สอด ตาก ยังไม่ได้รับการพัฒนา ส่วนฝั่งตะวันออก ถนนที่เข้าไปยังจังหวัดมุกดาหาร ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างดี
ผลการศึกษาเป็นเครื่องยืนยันว่า การค้าระหว่าง พม่า ไทย ลาว นั้น จะต้องได้รับการส่งเสริมต่อไป ทั้งโดยนโยบายการเงินระหว่างประเทศ และนโยบายการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก ตะวันตก ในความร่วมมือของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง มีความเจริญก้าวหน้าสืบไปในอนาคต.
คำสำคัญ: พฤติกรรมการชำระเงิน, การกระจายสินค้า, ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก
ABSTRACT
Border Trade in the East – West Economic Corridor has the specific character that is different from the general Border Trade. This is because its linkage with the super highway passes through Myanmar – Thailand – Laos PDR, specially the highway crossing Pitsanulok Province, called ‘Indo – china intersection’. In facts, the behavioral pattern of payment in transaction and transferable goods and services are different from other border trade points.
From the results, the direction of border trade between Thailand –Myanmar at ampor Mae – sod, Tak province are the net export from Thailand to Myanmar more than the net import from Myanmar to Thailand. As for Mukdaharn province, the atmosphere of the net export to Laos PDR. and passing through Laos PDR. to Vietnam and China.
Regarding trade pattern, the transformation between Thailand – Laos PDR. is more complex than between Thailand – Myanmar both items and volume.
As for methods of payment in Goods and Services, Myanmar uses commercial bank system to pay more than Lao PDR. Does. And mostly, the payment uses baht currency. The payment by letter of credit system is less use.
Besides, the research results show that the policies and measurement from the Bank of Thailand is best support in transaction both in Myanmar and in Lao PDR. by encouraging private sectors paying the transaction via commercial bank system. However, the development in highways construction between Mae – sod – Tak is less developed. In the east economic corridor, the highway passes through Mukdaharn province has developed at the best level.
The results bring the confirmation that Myanmar – Thailand – Lao PDR trade should be continually supported with the international trade and financial policies. In order to make the East – West Economic Corridor grows fortunately.
Keywords: The behavioral pattern of transaction, the distribution of goods and services East – West Economic Corridor.
การศึกษาพฤติกรรมการชำระเงินและการกระจายสินค้าบนเส้นทาง ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก- ตะวันตก|The studies of behavioral patterns of transaction and cargoes distribution on East – West Economic Corridor
Logistics Studies Center, Faculty of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand