หัวข้อปริญญานิพนธ์: Project Title: |
การออกแบบและสร้างเครื่องมืออัดหัวเพลาขับของรถยนต์ฟอร์ด รุ่น เฟียสต้า กรณีศึกษา บริษัท ฟอร์ด วี.พี.ออโต้ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (สำนักงานใหญ่ ปิ่นเกล้า) Ford Fiesta Outboard Joint Design and Construction Case Study : Ford VP Auto Enterprise Co., Ltd. (Pinklao Head Office) |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายชัชรินทร์ การนอก Mr. Chatcharint Kannok |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ดร. วุฒิกรณ์ จริยตันติเวทย์ Dr. Wuttikon Juriyatontivait |
ระดับการศึกษา: Degree: |
อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) Bachelor of Engineering |
ภาควิชา: Major: |
วิศวกรรมเครื่องกล Mechanical Engineering |
คณะ: Faculty: |
วิศวกรรมศาสตร์ Engineering |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
3/2560 3/2017 |
การอ้างอิง/citation
ชัชรินทร์ การนอก. (2560). การออกแบบและสร้างเครื่องมืออัดหัวเพลาขับของรถยนต์ฟอร์ด รุ่น เฟียสต้า กรณีศึกษา บริษัท ฟอร์ด วี.พี.ออโต้ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (สำนักงานใหญ่ ปิ่นเกล้า) (โครงงาน). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
บริษัท ฟอร์ด วี.พี. ออโต้ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (สำนักงานใหญ่ ปิ่นเกล้า) จัดจำหน่ายและรับผิดชอบการตลาดของรถยนต์ฟอร์ดในประเทศ พบว่าขั้นตอนการทำงานของช่างเทคนิค มีการใช้งานเครื่องมือที่ผิดประเภท ในการใช้ค้อนตีเข้าที่หัวเพลาขับโดยตรง และพบว่ามีระยะเวลาในการถอดต่อครั้งใช้เวลาค่อนข้างมาก เนื่องจาก ทางช่างเทคนิคที่มีหน้าที่ในการถอดและใส่หัวเพลาล้อหน้าใช้เครื่องมือไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ ทำให้หัวเพลาของรถยนต์ Ford รุ่น Fiesta ได้รับความเสียหาย จนลดประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนลง ดังนั้น ทางผู้จัดทำจึงตัดสินใจฝึกงานสหกิจ ณ บริษัท ฟอร์ด วี.พี. ออโต้ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (สำนักงานใหญ่ ปิ่นเกล้า) เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นรวมทั้งประเมินและแก้ไขปัญหาการถอดเพลาขับของรถยนต์ Ford รุ่น Fiesta (2) ออกแบบพัฒนาเครื่องมืออัดหัวเพลาขับของรถยนต์ Ford รุ่น Fiesta โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการถอดหัวเพลาขับแบบเดิม ระยะที่ 2 การถอดหัวเพลาขับโดยการใช้เครื่องมือพิเศษที่สร้างขึ้น และระยะที่ 3 การออกแบบอุปกรณ์ถอดหัวเพลาขับหน้า สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำโครงงาน ได้แก่ เครื่องมืออัดหัวเพลาขับของรถยนต์ Ford รุ่น Fiesta เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์การถอดเพลาขับของรถยนต์ Ford รุ่น Fiesta ให้มีประสิทธิภาพและลดระยะเวลาในการทำงานได้มากขึ้น ผลการศึกษาพบว่า การถอดหัวเพลาขับหน้าของรถยนต์ Ford รุ่น Fiesta แบบเดิมจะใช้เวลามากกว่า โดยเฉลี่ยเวลาอยู่ที่ 37.8 นาทีต่อการถอดทั้งสองข้าง หลังจากใช้เครื่องมือพิเศษที่จัดสร้างขึ้นมาจะใช้เวลาเฉลี่ยของการถอดอยู่ที่ 28.6 นาทีต่อการถอดทั้งสองข้าง สามารถลดเวลาการทำงานได้ 9.2 นาทีต่อการถอดทั้งสองข้าง
คำสำคัญ:การออกแบบ, เครื่องมืออัดหัวเพลาขับรถยนต์, รถยนต์ Ford รุ่น Fiesta
Abstract
Ford VP Automotive Co., Ltd. (Pinklao Head Office) distributes and manages the marketing of Ford vehicles in Thailand. It was found that the workflow of technicians were using a type of tool to hit directly onto the head of the drive shaft and causing damage. This was because the technicians who are responsible for removing and inserting the front axle were not using the proper tool. The Fiesta’s outboard joint was damaged and reduced its efficiency. So, the decision was made by Ford Motor Company (Ford VP Auto) to: (1) study the problems, including the evaluation and correction of the removal of the drive shaft of the Ford Fiesta; (2) the design of the Ford Fiesta. Phase 1 is the removal of the original drive shaft. Phase 2, the removal of the drive shaft with the use of special tools created and Phase 3 design, the tools used in the project include Ford’s Fiesta drive shafts for greater efficiency and reduced downtime. The study found that the removal of the original drive shaft average time was 37.8 minute per both sides, when the removal of the drive shaft with the special tools created average time of 28.6 minute per both sides. The results showed downtime of work by 9.2 minutes per both sides
Keywords: outboard joint, axle, Ford Fiesta.
Ford Fiesta Outboard Joint Design and Construction Case Study : Ford VP Auto Enterprise Co., Ltd.
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand
Related:
- อุปกรณ์และการติดตั้งระบบการจ่ายกำลังไฟฟ้า
- การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงาน ณ บริษัท อลูทอป จำกัด
- การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศ
- ระบบติดตามงานการติดตั้งวงจร FTTX ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
- งานรีโทรฟิตติดตั้งประตูแตะบัตรอัตโนมัติ
- การซ่อมบำรุงระบบฟลูแก๊สดีเซาฟูไรเซชั่น
- การออกแบบและเขียนแบบวงจรภายในตู้ไฟฟ้า
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนที่ติดต่อผู้ใช้เพื่อสั่งงานระบบเว็บแอปพลิเคชันไฟร์วอลล์
- การศึกษาและพัฒนาคูส่งน้ำคอนกรีตผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา