ชื่อโครงงาน: Project Title: |
การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ปูอัดขึ้นรูปเสียบก้าม Increasing the Efficiency of Productivity for Crab Claw Processes |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
พิมพ์นิภา เชยทอง Pimnipa Choeithong |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ผศ.ดร.ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ Tunyaporn Sirilert |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) Bachelor of Science |
ภาควิชา: Major: |
เทคโนโลยีการอาหาร Food Technology |
คณะ: Faculty: |
วิทยาศาสตร์ Science |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
3/2560 3/2017 |
การอ้างอิง/citation
พิมพ์นิภา เชยทอง. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ปูอัดขึ้นรูปเสียบก้าม. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
ผลิตภัณฑ์ Crab Claw เป็นผลิตภัณฑ์เนื้อปูอัดขึ้นรูปเสียบก้ามที่มีกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน แต่พบว่าขั้นตอนการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพในการผลิตลดลง ส่งผลให้สินค้าผลิตไม่ทันตามแผนการผลิต กระทบต่อต้นทุนการผลิตการส่งออกสินค้า จากการศึกษาสาเหตุหลักของปัญหา โดยใช้หลักการคิวซีสตอรี่ และเครื่องมือวิเคราะห์ปัญหา 7 QC Tools ในกระบวนการผลิตทั้งหมด คือ Base, Binder, Mixing, Auto Filling, Add Pincer, Pasteurization & Cooling และ Freezing พบว่าลักษณะของการเสียบก้าม Crab Claw ณ จุดเสียบก้ามปูหรือ Add Pincer ในกระบวนการผลิตเป็นสาเหตุหลัก จากนั้นศึกษาเปรียบเทียบขั้นตอนระหว่างการคัดก้ามกับไม่คัดก้าม และช่วงอายุการทำงานของพนักงานไม่ถึง 1 ปีกับพนักงานที่มีอายุการทำงานเกิน 1 ปีขึ้นไป และเมื่อพิสูจน์สาเหตุหลัก 3 จริงคือ สถานที่จริง ข้อมูลจริง และการปฏิบัติงานจริง พบว่ามีสาเหตุมาจากช่วงอายุการทำงานที่แตกต่างกัน ขั้นตอนการปล่อยตัว Crab Claw เปล่าเต็มสายพานโดยไม่มีพนักงานคัดขนาดก้าม และไม่มีการสอนงานพนักงานที่เข้ามาใหม่ ส่งผลให้เสียบก้ามช้าและขาดความชำนาญ จากแนวทางแก้ไขปัญหา พบว่าการพัฒนาเครื่องคัดขนาดก้าม การหาอุปกรณ์เสริมแบ่งเลนส์สายพานจะช่วยลดเวลาในการเสียบก้ามและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้ามากขึ้น นอกจากนั้นการทำวิดีโออบรมพนักงานจากวิธีการเสียบก้ามของพนักงานเก่าที่มีเทคนิคการเสียบก้ามรวดเร็ว รวมทั้งการจัดทำคู่มือขั้นตอนการเสียบก้ามที่ถูกต้อง โดยพบว่าแนวทางที่พัฒนาแก้ไขสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากเดิม 52.89 Kg./Man/Hr. เป็น 64.34 Kg./Man/Hr.ซึ่งให้ค่าเฉลี่ยความต่างอยู่ที่ 21.65% ตามลำดับ
คำสำคัญ: ประสิทธิภาพการผลิต, เนื้อปูอัด, จุดเสียบก้ามปู, เครื่องคัดขนาด, วิดีโอ, คู่มือ
Abstract
Crab Claw products are formed Surimi with a crab claw and the process has many steps. It was found that the process efficiency of forming the product decreased, causing a low production rate. The production was not completed according to the production plan, resulting in higher production costs and stalled exports. This study focused on the main causes of the problem, and they were analyzed with the Q-Story principle and 7 QC Tools, i.e., Base, Binder, Mixing, Auto Filling, Add Pincer, Pasteurization, Cooling and Freezing. It was found that the crab claw clamping procedure handled by the employees at the add pincer point was the main cause for the slow process. A comparative study between crab claw grading and non-grading and work experience of the employees between less than 1 year and more than 1 year was done. After proofing with 3 real instruments: real location, real information and real operation, it was found that the causes of problem were the difference in age of work experience, crab claw grading and no training for new employees. This resulted in low productivity during crab claw clamping due to the lack of experience. Therefore, a solution method was a development of the crab claw grading machine, and a lane separation setting on the belt, which could reduce the crab claw clamping time and increase productivity. In addition, the VDO training of old employees who have a fast crab claw clamping technique was shown to new employees. The development method showed increasing efficiency productivity from 52.89 Kg./Man/Hr. to 64.34 Kg./Man/Hr., giving the average difference of 21.65%, respectively.
Keywords: Productivity, Surimi, Add Pincer, Sizing machine, Video, Manual.
การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ปูอัดขึ้นรูปเสียบก้าม | Increasing the Efficiency of Productivity for Crab Claw Processes
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Science, Siam University, ฺBangkok, Thailand
Related:
- การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง
- การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตอาหารสัตว์บรรจุเพ้าซ์
- การศึกษาของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสินค้าชนิด Filament IQF (Jumbo Stick)
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกอิมัลชั่นจากฟองเต้าหู้
- กรรมวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการละลายครีมเทียมผงจากแป้งข้าวด้วยวิธีการทำแห้งแบบลูกกลิ้ง
- ผลของคาร์บอกซีเมทลิเซลลูโลสต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของแป้งผสมและคุณสมบัติของเส้นก๋วยเตี๋ยว
- อิทธิผลของสารละลายเกลือแคลเซียมและเทคนิคซูวีดต่อคุณลักษณะของแครอทพร้อมบริโภคในระหว่างการเก็บรักษา