การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง

Last modified: July 30, 2020
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง
Increasing Productivity Efficiency in Tuna Canning Process
ชื่อนักศึกษา:
Author:
ริชารัตน์ จรูญสกุลวงศ์
Richarat Jaroonsakulwong
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผศ.ดร.ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ
Asst. Prof. Tunyaporn Sirilert, Ph.D.
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
Bachelor of Science
ภาควิชา:
Major:
เทคโนโลยีการอาหาร
Food Technology
คณะ:
Faculty:
วิทยาศาสตร์
Science
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
3/2560
3/2017

การอ้างอิง/citation

ริชารัตน์ จรูญสกุลวงศ์. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด ผลิตปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง โดยปัจจุบันพบปัญหาของต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ค่าแรงงานสูงขึ้น ขณะที่ประสิทธิภาพในการผลิตลดลง จากการวิเคราะห์ข้อมูล และหาสาเหตุของโรงงาน  พบว่าขั้นตอนการบรรจุกระป๋องมีผลต่อประสิทธิภาพที่ลดลง ตามนโยบายแผนการผลิตเสนอให้แก้ไขปรับปรุงกระบวนการผลิตและกำหนดให้ค่าเป้าหมายการผลิตต้องเพิ่มขึ้น 11 %  จากการศึกษาสาเหตุหลักที่แท้จริงของปัญหา  โดยใช้หลักการคิวซีสตอรี่ (QC-Story)  และเครื่องมือวิเคราะคุณภาพ  7 ชนิด (7 QC Tools) ในกระบวนการผลิตปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง ซึ่งการทดสอบสาเหตุโดยใช้แผนภูมิก้างปลา พบว่ามี 2 สาเหตุหลัก คือ 1) บุคคล พบว่าพนักงานไม่ใช่พนักงานประจำ การเปลี่ยนรหัสการผลิตที่ใช้เวลานาน การเปลี่ยนช่วงน้ำหนักในการผลิต การรอเศษปลา การรอปลาขูดเลือด การรอปลาคัดก้างที่แผนกบรรจุ และ 2) เครื่องจักรที่มีจังหวะเครื่องสับปลาไม่สมดุลกับโซ่ตัวพากระป๋อง  กระป๋องติดฝาดีด  เมื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขสาเหตุ พบว่าฝ่ายผลิตได้จัดให้มีอบรมพนักงานใหม่เรื่องวิธีการชั่งน้ำหนัก การวางแผนการเปลี่ยนแปลงรหัสการผลิตเดิมให้น้อยที่สุด  ฝ่ายวิศวกรรมฝึกช่างให้มีความชำนาญในการเปลี่ยนอุปกรณ์ จัดแบ่งงานตามความสามารถงาน การปรับปรุงเครื่องจักรใหม่ ฝ่ายควบคุมการผลิตด้วยการจัดภาคสนามแผนกบรรจุ โดยการลดพนักงานชั่งปลาลง หาเศษปลาจากแหล่งอื่น และวางแผนการเดินไลน์บรรจุ เมื่อดำเนินงานติดตามผล พบว่า พนักงานไม่ประจำสามารถทำงานได้มากกว่าเดิม 5 กระป๋อง/นาที  ลดการสูญเสียเวลาการเปลี่ยนรหัสการผลิตลง 0.55% ลดการสูญเสียเวลาการซ่อมเครื่องสับปลาและเปลี่ยนช่วงน้ำหนักลง 0.94% ลดการสูญเสียเวลาการซ่อมเครื่องปิดผนึกลง 3.75% ลดการสูญเสียเวลาการรอเศษปลาลง 12.94%  ลดการสูญเสียเวลารอปลาขูดเลือดและคัดก้างลง 1.68% ตามลำดับ โดยมีประสิทธิภาพการผลิตในกระบวนการบรรจุกระป๋องเพิ่มขึ้น 13% ตรงตามนโยบายของบริษัท จึงได้ทำการจัดทำคู่มือให้เป็นแบบแผนการดำเนินงานของโรงงานต่อไป

คำสำคัญ: ปลาทูน่า, กระป๋อง, ประสิทธิภาพการผลิต


Abstract

Thai Union Manufacturing Co., Ltd. manufactures canned tuna products. The company has a problem of high costs and wages for production concurrently with decreased productivity. Based on data analysis, it was found that the filling process affected low productivity. It was proposed to modify the production process and set the production target value in order to increase production by 11%.  The study of the causes of the problem used the QC-Story principle and 7 QC Tools in the canned tuna process. Causes were analyzed by using fishbone charts. It was found that the problems consisted of two main causes: i) human errors from temporary employees, and ii) machine errors. After analysis, the new employees were trained for each duty and machine was maintained properly. As a result, temporary employees were able to work more than 5 cans/min, which reduced time lost for changing production code by 0.55%, reduced the time lost for repairing the fish shredder machine and for changing fish weight by 0.94%, reduced time lost for sealing machine by 3.75%, reduced time lost for waiting fish scraps by 12.94%, and reduced time lost for bleeding and deboning by 1.68%, respectively. This led to increased productivity in the canning process to 13%, following the company’s policy requirement. This result was used to create a manual for production plan of the canning process in the future.

Keywords:  Tuna, Canning, Productivity.


การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง | Increasing Productivity Efficiency in Tuna Canning Process  

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  |  Faculty of Science, Siam University, ฺBangkok, Thailand

Related:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 484
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code