Press/กด CtrlหรือCmd + P to print
or save as PDF

การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อเสริมการเรียนรู้ระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง

Last modified: September 4, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อเสริมการเรียนรู้ระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง
Research Article: Development of an Augmented Reality Technology Application to Enhance Knowledge on the Solar System
ผู้เขียน/Author: วีนา โชติช่วง, ชิติพัทธ์ ปานเกษม และ วิจิตรา สายแสง | Veena Chotchuang, Chitipat Parkasem and Wijittra Saisaeng
Email: aj.vnachot@gmail.com
ภาควิชา/คณะ: ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty: Department of Computer Science, Faculty of Science, Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่: การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 7 | The 7th Academic Science and Technology Conference วันที่ 7 มิถุนายน 2562 มหาวิทยาลัยรังสิต

การอ้างอิง/citation

วีนา โชติช่วง, ชิติพัทธ์ ปานเกษม และ วิจิตรา สายแสง. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อเสริมการเรียนรู้ระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน (ASTC) ครั้งที่ 7 “บูรณาการ วิจัย และ นวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ” (หน้า 1637-1645). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.


บทคัดย่อ

ปัจจุบันการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีรูปแบบการเรียนการสอนที่มีกำหนดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีบทบาทมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีเสมือนจริง (Augmented Reality) มาประยุกต์ในการพัฒนาสือ่การเรียนการสอน เพื่อให้สร้างปฏิสัมพันธ์การเรียนรู้สำหรับผู้เรียนได้มากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันเสริมการเรียนรู้ระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงบนระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ 2) ประเมินความพึงพอใจ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมณีวัฒนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สื่อการเสริมเรียนรู้เสมือนจริงระบบสุริยะ และแบบประเมินความพึงพอใจสือ่การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่นำหลักการ System Development Life Cycle(SDLC) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ประกอบด้วยโปรแกรม Autodesk Maya โปรแกรม Unity โปรแกรม Android Studio และเว็บไซต์ Vuforia ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยชิ้นนี้ ได้ผลลัพธ์ 4 อย่าง ได้แก่ 1) Marker ระบบสุริยะจักรวาลในรูปแบบของหนังสือสื่อเสริมการเรียนรู้ (AR Solar Book) 2) โมเดลดาวเคราะห์ต่างๆ ในระบบสุริยะ ในรูปแบบของ 3 มิติ 3) แอปพลิเคชัน AR galaxy รูปแบบไฟล์ .apk 4) ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง โดยมีความพึงพอใจในด้านด้านเทคนิคมีคุณภาพในระดับดีมาก คุณภาพของสื่ออยู่ในระดับดี ด้านประสิทธิภาพในการนำเสนออยู่ในระดับดี และความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.63

คำสำคัญ: เทคโนโลยีเสมือนจริง, แอปพลิเคชัน, ความพึงพอใจ


ABSTRACT

Nowadays, learning in the 21st century has a teaching style that requires student participation with greater role in class. The Augmented Reality Technology is applied to develop teaching and learning by using media to create more interaction among learners. The objectives of this research are to develop applications for learning about the solar system with virtual technology on the Android operating system and to evaluate satisfaction of the 30 upper secondary school students at Manee Watthana School, Bangkok, Thailand. Studied tools were solar-system virtual learning media, and the satisfaction questionnaire for learning with virtual technology. The mean and standard deviation were calculated to statistically analyze the satisfaction. This research was studied using the System Development Life Cycle (SDLC) principle, which was integrated Autodesk program, Maya program, Unity program, Android Studio program and Vuforia website. This research gained 4 outcomes which were a marker of the solar system embedded in four-color book, 3D models of various planets in the solar system, an AR galaxy application in .apk file, and the evaluation of studied group was satisfied by very good level of technique and good level of the quality of the media, presentation, and overall satisfaction.

Keywords:  Augmented Reality, applications, satisfaction.


การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อเสริมการเรียนรู้ระบบสุริยะด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง | Development of an Augmented Reality Technology Applicationto Enhance Knowledge on the Solar System.

Faculty of Science, Siam University, Bangkok, Thailand