หัวข้อสารนิพนธ์: Project Title: |
การรณรงค์การรักษาศีล 5 ของตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย Campaign to Observe the 5 Precepts of Hua Ngom Sub-district, Phan District, Chiang Rai Province |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวกัญมาส เงินชูกลิ่น Miss Kanyamas Ngernchuklin |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ดร. สุเมธ แสงนิ่มนวล Dr. Sumet Saengnimnuan |
ระดับการศึกษา: Degree: |
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) Master of Public Administration |
สาขาวิชา: Major: |
รัฐประศาสนศาสตร์ Public Administration |
คณะ: Faculty: |
บัณฑิตวิทยาลัย Graduate Schools |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2562 2020 |
URL: Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน |
Conference Conference Proceedings National and International Academic Conference “Innovation and Management for Sustainability” 9-10 July 2020 |
การอ้างอิง/citation
กัญมาส เงินชูกลิ่น. (2562). การรณรงค์การรักษาศีล 5 ของตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทาง 1) ความประพฤติการปฏิบัติตนของประชาชนตามหลักพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า “การรักษาศีล 5 ” เพียงใด อย่างไร 2) เพื่อทราบแนวทางการปฏิบัติตนก่อนและหลังเข้าโครงการฯรักษาศีล 5 ของประชาชนมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร และการมีส่วนร่วมของประชาชนกับภาครัฐเป็นอย่างไร 3) เพื่อนำข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัยไปใช้ปรับปรุงพัฒนาการศึกษาและปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่างถูกต้องแท้จริงเพื่อให้เกิดประโยชน์ ความสุข ความเจริญ และความสงบ แก่ผู้ปฏิบัติต่อสังคมทุกกลุ่มตลอดถึงประเทศชาติ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualive Research) โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์บุคคลระดับผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้ม คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้ม ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้ม หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหัวง้ม เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม เจ้าอาวาสวัดศรีเมืองมูล และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4,8,9 (สุ่มตัวอย่าง) ที่เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ตำบลหังง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จำนวนทั้งหมด 8 คน
ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าปัญหาโดยรวมในสังคมไทย เนื่องจากสภาพปัญหาต่างๆ สืบเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองการปกครองของชนชั้นผู้นำ ความเสื่อมทรามทางด้านคุณธรรมนำมาซึ่งความเหลื่อมล้ำทางสังคมถือเป็นปัญหาหลักของชุมชน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาความแตกแยกเห็นแก่ตัวขาดความสามัคคีเป็นปัญหาต่อการพัฒนาประเทศชาติ จึงต้องมีการส่งเสริมให้สังคมได้รับการแก้ไขโดยการสร้างภูมิคุ้มกันและขจัดปัญหาให้หมดไป ด้วยการนำหลักธรรมของพระศาสดามาปลูกฝังจิตใจผู้คนให้รู้จักและเกรงกลัวต่อบาปหรือ การกระทำที่ไม่ดี และไม่ถูกต้องซึ่งเป็นบ่อเกิดความเห็นแก่ตัวมากจนก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เพราะเป็นการกระทำที่ผิดศีล 5แต่หลังจากที่ประชาชนชาวตำบลหัวง้ม ได้รับการปลูกฝังจิตใจให้เป็นคนดีโดยนำหลักธรรมศีล 5 มาถือปฏิบัติตั้งแต่ปี พ.ศ.2557-2563 ประชาชนมีความเกรงกลัวต่อบาปมากขึ้น เห็นได้จากการดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี คดีความน้อยลง ยาเสพติดลดน้อยลง ประชาชนประกอบอาชีพสุจริต ชุมชนมีความสงบมากขึ้น
อย่างไรก็ตามการสร้างนิสัยให้ประชาชนเป็นคนดี มีคุณธรรม เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะการฝึกฝนการปฏิบัติตามหลักศีล 5 ต้องปลูกฝังทางจิตใจและอาศัยเวลาที่ต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายปีจึงจะกลายเป็นนิสัยของคนดีได้ การคิดดี พูดดี ทำดี จึงจะเป็นการรักษาศีล 5 ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ตามคำสอนของพระศาสดาอย่างแท้จริง และความสุข ความสงบในสังคม จะบังเกิดขึ้นได้เองอย่างมั่นคง และยั่งยืน ตลอดไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ จึงจำเป็นต้องศึกษาหลักศีล 5 ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งและปฏิบัติให้ถูกต้องตามแนวทางและสรุปข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยเชิงคุณภาพฉบับนี้
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพจึงควรมีการศึกษาเชิงปริมาณเพื่อสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลการวิจัยในเชิงที่เป็นตัวชี้วัดตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถพิสูจน์ และทดสอบระดับความเชื่อมั่นของข้อมูลในครั้งต่อไป
Abstract
The objectives of this study were: 1) To study the behavior of the people following the teachings of the Lord Buddha, ‘5 Precepts;’ 2) To understand the ways of conduct before and after entering the ‘5 Precepts’ and if the results showed any differences with public participation and with the government; 3) To provide recommendations for education development and practice for benefits, happiness, prosperity, and peace to all groups of society and the nation. This study was qualitative research and analyzed data from relevant documents. Interviews were conducted with senior executives of Hua Ngom Subdistrict Administration Organization, namely the President, Deputy Chief Executive, Head of the Office of the Chief Executive, Abbot of Suthiwararam Temple, Abbot of Wat Si Mueang Moon and Village Headman of Moo 4,8,9 (through sampling) related to the reconciliation project using Buddhist principles, “Village to Observe the 5 Precepts,” for a total of 8 people.
The results found that the overall problems in Thai society result from numerous problems, causing changes in the economy, society, politics, and the ruling elite. Corruption in morality leads to social inequality, which is considered a significant problem in the community and causes problems of selfishness and a lack of unity that leads to problems for national development. Therefore, the society must be encouraged to gain immunity and eliminate the problem by bringing the teachings of the Master to be instilled in the minds of the people in order to understand and be afraid of sin, then refrain from evil deeds which are the source of selfishness that causes trouble and act against the ‘5 Precepts.’ After the people of Hua Ngom district learned to become a righteous person through applying the five principles of Dhamma from 2014-2020, results showed that they had become afraid of sin, seen that the way of life had changed for the good, along with lowered drug usage, honest people, and the community became more peaceful.
However, creating virtuous habits within people is a delicate matter, because observing the ‘5 Precepts’ requires spiritual cultivation over a long period to create good people and habits. Mindfulness, civil actions, and speech would uphold the ‘5 Precepts,’ true happiness, and societal peace according to the teachings of the Master and would persist naturally and become sustainable forever. Therefore, the regular learning of the principles of the ‘5 Precepts’ for proper understanding and guidelines are especially important.
Suggestions for future research should consider further quantitative studies to collect more data and analyze it according to indicators of scientific processes, which would provide evidence and test the confidence level of the data in more comprehensive manner.
Keywords: 5 precepts, Dharma, Buddha’s teachings, Hua Ngom sub-district.
การรณรงค์การรักษาศีล 5 ของตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย | Campaign to Observe the 5 Precepts of Hua Ngom Sub-district, Phan District, Chiang Rai Province
Master of Public Administration, Siam University, Bangkok, Thailand
Related
- ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี
- ประสิทธิภาพการบริหารงานกิจการคณะสงฆ์: กรณีศึกษาในเขตหนองแขมกรุงเทพมหานคร
- ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการเทศบาลตำบลไม้ยา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย
- ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตบางแค
- การจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยพื้นที่ปากคลองตลาด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
- การแนะแนวอาชีพเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานของนักเรียนสายสามัญในเขตกรุงเทพมหานคร
- ประสิทธิภาพการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
- ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการงานช่างของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
- ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการกู้ยืมเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในการชำระหนี้ผ่านเคาน์เตอร์
- ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา