ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี

Last modified: January 21, 2020
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี
Public Satisfaction with the Service Quality of Thonburi Hospital
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวช่อดาว  เมืองพรหม
Miss Chordaw Muangprom
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร.สุเมธ  แสงนิ่มนวล
Dr. Sumet  Saengnimnuan
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
Master of Public Administration
สาขาวิชา:
Major:
รัฐประศาสนศาสตร์
Public Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019

การอ้างอิง/citation

ช่อดาว เมืองพรหม. (2562). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ใช้บริการประเภทผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลธนบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ค่า t-test และ F-test (One-way ANOVA) กรณีพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ใช้การทดสอบรายคู่ ด้วยวิธี (Least significant difference test)

ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนมีระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ ค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้รับบริการและด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ตามลำดับ ผลการการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน พบว่า ประชาชนมีระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรีที่ไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ โรงพยาบาลธนบุรีควรเน้นเรื่องคุณภาพการให้บริการด้านการจัดสถานที่รวมถึงบุคลากรให้มีความพร้อมต่อการให้บริการ ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการพัฒนาการบริการให้มีความรวดเร็วและถูกต้อง การลดขั้นตอนการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกสร้างความพึงพอใจและความภักดีของผู้ใช้บริการให้สามารถรักษารายได้ในระยะยาวและสร้างแรงจูงใจให้มีผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้นเป็นแนวทางสร้างศักยภาพทางการแข่งขันให้กับธุรกิจของโรงพยาบาล

คำสำคัญ: ความพึงพอใจ, คุณภาพการให้บริการ, โรงพยาบาลธนบุรี


Abstract

The objectives of this research were: 1) to study public satisfaction with the service quality of Thonburi Hospital; 2) to compare the level of public satisfaction with the service quality of Thonburi Hospital, classified by personal factors; and 3) to study the suggestions and improvement guidelines for the service quality of Thonburi Hospital. The sample consisted of 400 outpatients in Thonburi Hospital. The data collection instrument used was a questionnaire. Data analysis was conducted using descriptive statistics including frequency, percentage, mean, and standard deviation and inferential statistics including t-test and F-test (One-way ANOVA). In the case of finding statistical significant difference at 0.05, the analysis was conducted by pairwise comparison using least significant difference test.

The results of this study found that the sample overall satisfaction with the service quality of Thonburi Hospital at a high level. When considered in each area, reliability was at the highest, followed by assurance, tangibles, empathy, and responsiveness, respectively. The result of public satisfaction with the service quality of Thonburi Hospital, classified by personal factors including gender, age, career, and monthly income found that the public has no difference in satisfaction with the service.

This research suggested that Thonburi Hospital should prioritize the quality of service provided for venue management, as well as making personnel ready for service. This research would be beneficial for the management to develop the service to be fast and accurate, reducing the service process to facilitate the satisfaction and loyalty of patients in order to maintain long-term revenue and create more incentives for the patients, which is a way to create a competitive advantage for the hospital business.

Keywords: Satisfaction, Service Quality, Thonburi Hospital.


ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี / Public Satisfaction with the Service Quality of Thonburi Hospital 

Master of Public Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

Related by Advisor:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1835
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code