ชื่อโครงงาน: Project Title: |
การเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายในสถานการณ์โควิด-19 Optimizing Infrared Thermometer During the Covid-19 Situation |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นาย สุวณัฐ ปัญจศิริ, นาย เขตโสภณ ลอสซ์ Mr. Suwanut Panjasili, Mr. Ketsopol Lotz |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิภาวัลย์ นาคทรัพย์ Asst. Prof. Wipavan Narksarp |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering |
ภาควิชา: Major: |
วิศวกรรมไฟฟ้า Electrical Engineering |
คณะ: Faculty: |
วิศวกรรมศาสตร์ Engineering |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
2/2563 2/2020 |
การอ้างอิง/Citation
สุวณัฐ ปัญจศิริ และ เขตโสภณ ลอสซ์. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายในสถานการณ์โควิด-19. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
Panjasili S. & Lotz K. (2020). Optimizing infrared thermometer during the Covid-19 situation. (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Engineering, Siam University.
บทคัดย่อ
โครงงานสหกิจศึกษานี้นำเสนอการวิเคราะห์ปัญหาของเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายและแนวทางการตรวจสอบลูกค้าที่อุณหภูมิร่างกายสูงเกินกำหนดในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งจากการศึกษาระบบการทำงานของเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย ระหว่างการปฏิบัติงานในโครงการสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยสยามร่วมกับศูนย์บริการลูกค้าทีโอที สาขาธนบุรี พบว่าเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายมีสัญญาณเตือนไม่ดังเท่าที่ควรเมื่อมีลูกค้าที่อุณหภูมิร่างกายสูงเกินกำหนด ทำให้ไม่สามารถรับรู้ได้เมื่อพบลูกค้าที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
คณะผู้จัดทำได้ทำการรวบรวมปัญหาของระบบการทำงานและเวลาในการทำงานของเครื่องวัดอุณหูมิร่างกาย ตั้งแต่เดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อนำปัญหาที่มากที่สุดในระยะเวลา 2 เดือน มาทำการวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบ Why – Why Analysis ทำให้ทราบถึงปัญหาของเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายได้อย่างตรงจุด สามารถแก้ไขปัญหาระยะยาว และสามารถนำไปขยายผลเพื่อใช้ในสถานที่อื่นๆ ที่มีการใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย เพื่อลดปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 จากสถานการณ์โควิด-19
คำสำคัญ: เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย, สถานการณ์โควิด-19, การวิเคราะห์แบบ Why – Why
Abstract
This cooperative education project presented a problem analysis for infrared thermometers and guidelines to check if the client’s body temperature is too high during the Covid-19 situation. The aim was to study the work systems of the infrared thermometer during the cooperative education project of Siam University in collaboration with TOT Customer Service Center, Thonburi Branch. It was found a problem that the infrared thermometer had a weak alarm when the customer’s body temperature was too high. This made it impossible to determine when customers were at risk of contracting COVID-19.
The team collected the problems of infrared thermometer from January – February 2021 to find the most trouble over 2 months. The problems were analyzed by using the Why – Why analysis method to identify the problem of the infrared thermometer accurately. It can help solve long-term problems and can be extended for use in other locations with active infrared thermometers to reduce the spread of COVID-19.
Keywords: The Infrared thermometer, COVID-19 Situation, Why-Why Analysis.
การเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายในสถานการณ์โควิด-19 | Optimizing Infrared Thermometer During the Covid-19 Situation
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand
Related
- การพัฒนาเครื่องคั่วเมล็ดกาแฟโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์
- ต้นแบบระบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นกึ่งอัตโนมัติ
- การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางป้องกันการเสียหายของหุ่นยนต์เชื่อม
- ระบบอัตโนมัติสำหรับรายงานอุณหภูมิและอัตราการไหลของน้ำในเครื่องจักรผ่านเว็บแอปพลิเคชัน กรณีศึกษา: บริษัทเอสเค โพลิเมอร์ จำกัด
- การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านสหกิจศึกษา: กรณีศึกษาการออกแบบและสร้างเครื่องทดสอบการรั่วซึมของหม้อน้ำรถยนต์ควบคุมด้วยพีแอลซี
- การออกแบบและสร้างเครื่องหยอดขนมครกซีฟู้ดควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์