ชื่อโครงงาน: Project Title: |
การออกแบบเครื่องใส่ยางครอบฟันของใบเลื่อยสายพาน: กรณีศึกษา บริษัท เอส.เอ.เอฟ. สเปเชียล สตีล จำกัด Machine Design for Rubber Inserts: Crowns Saw Blades Case Study |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายอำนาจ ผาเบ้า Mr. Amnat Phabao |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ดร.ชาญชัย วิรุณฤทธิชัย Dr. Chanchai Wiroonritichai |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) Bachelor of Engineering |
ภาควิชา: Major: |
วิศวกรรมเครื่องกล Mechanical Engineering |
คณะ: Faculty: |
วิศวกรรมศาสตร์ Engineering |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
3/2561 3/2018 |
การอ้างอิง/citation
อำนาจ ผาเบ้า. (2561). การออกแบบเครื่องใส่ยางครอบฟันของใบเลื่อยสายพาน: กรณีศึกษา บริษัท เอส.เอ.เอฟ. สเปเชียล สตีล จำกัด. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการออกแบบเครื่องใส่ยางครอบฟันใบเลื่อยสายพานให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้นและเพื่อลดความเมื่อยล้าให้กับพนักงานผู้รับผิดชอบโดยวิธีการคำนวณแรงที่ใช้ในการทำงานในแต่ละขั้นตอน การคำนวณทางระบบนิวเมติกส์และระบบไฟฟ้ามาช่วยเพื่อลดอัตราการใช้แรงของพนักงาน ในการออกแบบเครื่องใส่ยางครอบฟันใบเลื่อยสายพานผู้ศึกษาได้เลือกขนาดของใบเลื่อยที่ใช้งานเป็นจำนวนมากเพื่อการออกแบบเครื่องใส่ยางครอบฟันใบเลื่อยให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น มีความรวดเร็วในการครอบฟันใบเลื่อยมากขึ้น เพิ่มอัตราการผลิตและลดความเมื่อยล้าให้แก่พนักงาน หลังจากที่ใช้เครื่องใส่ยางครอบฟันทำให้ใช้เวลาสั้นลง เหตุผลในการออกแบบเครื่องใส่ยางครอบฟัน เพราะเครื่องใส่ยางครอบฟันใบเลื่อยสายพานก่อนออกแบบใช้เวลาถึง 120 วินาทีต่อใบผล จากการศึกษาผู้ศึกษาได้คำนวณและออกแบบได้ขนาดของอุปกรณ์คือการออกแบบระบบขับเคลื่อน มอเตอร์มีขนาด 60 วัตต์ แรงบิดอยู่ที่ 19.05 N.m. มีความเร็วของมอเตอร์ เท่ากับ 21.25 rpm. และสามารถทำงานโดยใช้เวลา 96 วินาที ซึ่งเร็วกว่าการใช้เครื่องก่อนปรับปรุง 20% ความสามารถในการใช้งานจะสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องเครื่องครอบฟันใบเลื่อยแบบสายพานสามารถทำงานได้มากกว่าการทำงานแบบเก่า เฉลี่ยวันละ 30 ใบและไม่ทำให้เกิดความเมื่อยล้าและมีการลงทุนในการสร้างเครื่องใส่ยางครอบฟันใบเลื่อย 8,784 บาท ซึ่งเป็นการทำให้บริษัทสามารถสร้างผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
คำสำคัญ: ออกแบบสร้างเครื่องใส่ยางครอบฟันใบเลื่อย, ลดความเหนื่อยล้า, เพิ่มประสิทธิภาพ
Abstract
The purpose of this research was to design a rubber machine cover for band saw blades to increase speed and reduce the soreness to the responsible employee by calculating the force used in each the procedure, calculate the pneumatic system and electric systems to reduce the workforce of the
employee. In designing a rubber machine cover for band saw blades, the researcher had chosen various size blades to design a rubber machine cover for better performance increased production and reduced soreness for the employee by using less time. The purpose of this latest design was a
result of 120 seconds per blade. From the research, the researcher had calculated and designed the size of the tools, where the motor had 6 O watts, torque at 1 9. 0 5 N.m., the motor speed equal to 21.25 RPM, and operating time of 96 seconds. The new design is faster than before the improvement by cover 20% and the machine could perform continuous operations. The rubber the machine of a band saw blades are better than the latest design average of 30 blades without causing soreness and have invested in the construction of a rubber insert, crown saw blade for 8,784 Baht, which helps the company to increase profits clearly.
Keywords: rubber machine cover, reduce fatigue, increase efficiency, band saw blades.
การออกแบบเครื่องใส่ยางครอบฟันของใบเลื่อยสายพาน: กรณีศึกษา บริษัท เอส.เอ.เอฟ. สเปเชียล สตีล จำกัด / Machine Design for Rubber Inserts, Crowns Saw Blades Case Study S.A.F. Special Steels LTD.
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand
Related by advisor:
- การตรวจสอบและปรับปรุงข้อผิดพลาดในระบบท่อดับเพลิง: กรณีบริษัท ไพโอเนียร์ โลจิสติกส์ จำกัด
- การสร้างเครื่องสูบน้ำจากวัสดุเหลือใช้
- การหาค่าความปลอดภัยของท่อทองแดงในระบบก๊าซทางการแพทย์ กรณีศึกษา สถานีกาชาดที่ 11
- วิศวกรรมย้อนรอยสำหรับการสร้างเสาสัญญาณวิทยุสื่อสาร
- การศึกษาเปรียบเทียบการออกแบบระบบท่อประปาโดยใช้ท่อพีวีซีและท่อพีพีอาร์ในโครงการโรงเรียนนานาชาติคอนคอร์เดียน
- การศึกษาภาระการทำความเย็นที่เหมาะสมของชั้นสูงสุด: กรณีศึกษาโครงการ แบงค์คอก เฟ’ลิซ สถานีบางแค
- การลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบท่อน้าประปาและท่อน้าร้อน: กรณีศึกษาโครงการ สินธรวิลเลจ ตึก (เอพี-ดับบลิว)
- การลดต้นทุนการถอดแบบปริมาณท่อในระบบดับเพลิง: กรณีศึกษาโครงการ คอนโดลุมพินีเดอะซีเล็คเต็ด (เกษตร-งามวงศ์วาน)
- การศึกษาเปรียบเทียบภาระการคำนวณความเย็นของห้องนอนแต่ละประเภท กรณีศึกษาของโครงการ วินคอนโด พหลโยธิน
- การสร้างและทดสอบปั๊มลมจากคอมเพรสเซอร์ตู้เย็น
- การกระจายตัวอุณหภูมิของผนังตู้รับส่งสัญญาณ
- การออกแบบท่อโสโครก ท่อนํ้าเสีย ท่ออากาศ ของอาคารทาวน์โฮม: กรณีศึกษาโครงการ BAAN 365 พระราม 3