ชื่อโครงงาน: Project Title: |
ปากกาจากกระดาษเหลือใช้ Pen from Waste Paper |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาวภัทราภรณ์ เชื้อแก้ว Miss Pattharapon Chuakaew |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์ยุวริน ศรีปาน Miss Yuvarin Sripan |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) Bachelor of Arts (Liberal Arts) |
ภาควิชา: Major: |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ Tourism and Hospitality Industry |
คณะ: Faculty: |
ศิลปศาสตร์ Liberal Arts |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
1/2563 1/2020 |
การอ้างอิง/citation
ภัทราภรณ์ เชื้อแก้ว. (2563). ปากกาจากกระดาษเหลือใช้. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่อง ปากกาจากกระดาษเหลือใช้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและลดจำนวนขยะเหลือใช้ภายในบริษัท เนื่องจากบริษัททัวร์ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ส่งผลให้มีรายรับน้อยลงแต่รายจ่ายคงที่ ผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะนำกระดาษเหลือใช้มาทำเป็นชิ้นงานปากกาจากกระดาษเหลือใช้เพื่อใช้ภายในบริษัท
จากการที่ได้สัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าด้านคุณภาพของชิ้นงานมีการออกแบบที่สามารถใช้ได้จริงมีความคงทนระดับหนึ่ง ด้านความยาก ง่าย ในการแปรรูปพบว่าการแปรรูปอาจจะมีขั้นตอนที่ยากแต่ทำชิ้นงานออกมาได้ดี ด้านความคิดสร้างสรรค์พบว่า ชิ้นงานนี้สามารถลดขยะภายในบริษัท และลดขยะให้กับโลกได้จริง ด้านการแปรรูปกระดาษทำให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง พบว่าสามารถแปรรูปกระดาษที่ไม่มีค่าให้เป็นชิ้นงานที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทและสร้างจุดสนใจ เอกลักษณ์ ให้เข้ากับสภาวะในโลกในปัจจุบันได้อย่างลงตัว ด้านความประณีตและความสวยงาม พบว่าชิ้นงานมีความสวยและมีความแข็งแรงแน่นหนา ใช้ความละเอียดค่อนข้างมาก
คำสำคัญ: ปากกา, กระดาษเหลือใช้
Abstract
This project on pen from waste paper was created with the aim of reducing miscellaneous expenses and reducing the amount of waste within the company. Many tour companies were affected by the coronavirus disease 2019 (COVID-19), that resulted in lower revenues and fixed expenses. The student was interested in creating pen pieces from waste paper for internal use.
From in-depth interviews, it was found that the quality of the product had a functional design and a certain level of durability. In terms of difficulty – ease of processing, it was found that it might be a difficult process, but it made the workpiece well. For creativity, this work can actually reduced waste within the company and reduced waste in the world. In the field of paper processing, once again, it was found that waste paper can be transformed into cost-saving pieces for companies, and create a unique focus and identity to fit in today’s global environment. In terms of refinement and beauty, it was found that the work was beautiful, strong, firm, and fine.
Keywords: Pen, Waste paper.
ปากกาจากกระดาษเหลือใช้ | Pen from Waste Paper
Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand