ชื่อโครงงาน: Project Title: |
ซีเรียลบาร์รสต้มยำ TomYum Crispy Cereals Bar |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นางสาว กาญจนา เนืองนิตย์, นางสาว เพ็ญศิริ ศรีนงนุช, นางสาว สุพิศา ศรีธรรัตน์กุล Miss Kanjana Nuengnit, Miss Pensiri Srinongnut, Miss Supisa Sritronratkul |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์ สุนทร สอนกิจดี Mr. Suntorn Sonkitdee |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) Bachelor of Arts (Liberal Arts) |
ภาควิชา: Major: |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ Tourism and Hospitality Industry |
คณะ: Faculty: |
ศิลปศาสตร์ Liberal Arts |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
3/2562 3/2019 |
การอ้างอิง/citation
กาญจนา เนืองนิตย์, เพ็ญศิริ ศรีนงนุช และ สุพิศา ศรีธรรัตน์กุล. (2562). ซีเรียลบาร์รสต้มยำ. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
โครงงานซีเรียลบาร์รสต้มยำ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับธัญพืชและสมุนไพรที่เหลือใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นการช่วยลดปริมาณขยะและให้ทางเลือกใหม่กับลูกค้าได้อีกทางหนึ่งด้วย โดยการนำวัตถุดิบมาแปรรูป การทำในรูปแบบซีเรียลบาร์รสต้มยำ โดยใช้น้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ช่วยให้ตัวผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปและยึดเกาะเป็นรูปแบบบาร์ได้ ทำการเคี่ยวน้ำตาลและควบคุมอุณหภูมิ มีการปรุงรสชาติให้เป็นรสชาติต้มยำที่รู้จักกันเพื่อพัฒนาธัญพืชให้มีความแปลกใหม่
หลังจากที่ได้ผลิตภัณฑ์ซีเรียลบาร์รสต้มยำ คณะผู้จัดทำได้สำรวจความความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลทั่วไปจำนวน 30 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 53.33 มีอาชีพเป็นนักเรียน /นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 56.67 และวุฒิการศึกษาปริญาตรี คิดเป็นร้อยละ 86.67 มีความพึงพอใจด้านลักษณะทางประสาทสัมผัส เป็นสีของผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.50 ด้านรสชาติ เป็นรสต้มยำ / ความเปรี้ยวของผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 4.27 ด้านเนื้อสัมผัสเป็นความชอบโดยรวม คิดเป็นร้อยละ 4.52 ซีเรียลบาร์รสต้มยำ บรรจุภัณฑ์มีความสวยงาม รสชาติสามารถรับประทานได้และมีรสชาติอร่อยถูกปากคนส่วนมาก มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโครงงานซีเรียลบาร์รสต้มยำ มีความพึงพอใจในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยรวม 3.98
คำสำคัญ: ซีเรียลบาร์, ธัญพืช, รสต้มยำ
Abstract
The purpose of this research was to increase the value of remaining cereals and herbs. This case reduced the amount of waste and provided. Raw materials were used to make Tom Yum serial bars by using sugar as a component, which helped the product to be formed and become a bar. After stewing the sugar and temperature control, flavors of Tom Yum were added to create the new product.
After receiving the Tom Yum serial bar, we surveyed the satisfaction of the products by using a questionnaire and sampled 30 people. The results found most were female; 53.33% as students; 56.67% as the collegian and 86.67% had a Bachelor’s Degree. They were satisfied with the sensory characteristics and color at 4.50%, which was the most impressive. For taste, Tom Yum/sourness got 4.27%. Overall of the texture preference was 4.52% of Tom Yum serial bar. The gorgeous package, and delicious tasting for most people and healthy concluded that Tom Yum serial bar was satisfied with high average score of 3.98.
Keywords: Serial bar, Cereal, Tom yum flavor.
ซีเรียลบาร์รสต้มยำ | TomYum Crispy Cereals Bar
Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand