- KB Home
- หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา|Graduate Schools
- หลักสูตรปริญญาเอก|Doctoral Degree
- Ph.D. in Management
- ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามยาเสพติดของตำรวจภูธรภาค 7
หัวข้อวิทยานิพนธ์: Project Title: |
ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามยาเสพติดของตำรวจภูธรภาค 7 A management for efficiency development prototype in narcotics abuse prevention and suppression of provincial police region 7 |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
พันตำรวจตรี ตะวัน ตระการฤกษ์ Police Major Tawan Trakarnrerk |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ, รองศาสตราจารย์ พันตารวจเอก ดร.นพรุจ ศักดิ์ศิริ Associate Professor Dr.Pricha Hongskrailers, Associate Professor Police Colonel Dr.Noparuj Saksiri |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) Doctor of Philosophy |
สาขาวิชา: Major: |
การจัดการ Management |
คณะ: Faculty: |
บัณฑิตวิทยาลัย Graduate Schools |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2559 2016 |
การอ้างอิง/citation
ตะวัน ตระการฤกษ์. (2559). ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามยาเสพติดของตำรวจภูธรภาค 7. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการในการป้องกันปราบปรามยาเสพติดของตารวจภูธรภาค 7 (2) ปัจจัยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามยาเสพติดของตารวจภูธรภาค 7 และ (3) การพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามยาเสพติดของตารวจภูธรภาค 7 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 49 คน โดยผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลระดับนโยบาย (2) กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลระดับปฏิบัติ (3) กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลของส่วนราชการอื่นๆ (4) กลุ่มนักวิชาการ (5) กลุ่มภาคประชาชน และ (6) ผู้ที่เคยต้องโทษคดียาเสพติด ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์ของปัญหายาเสพติด พบว่า การแพร่ระบาดของยาเสพติดได้มีมาอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันปราบปรามยาเสพติดของตารวจภูธรภาค 7 ในแต่ละด้านพบว่า (1) การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างประหยัด และมีความคุ้มค่าในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนำเข้ากับผลผลิตที่ได้ (2) ผู้บังคับบัญชาจะสนับสนุนการทำงาน และเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด (3) เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความเข้าใจในระเบียบ และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามยาเสพติดเป็นอย่างดี (4) ตำรวจภูธรภาค 7 มีการปรับปรุงระบบการแก้ไขปัญหายาเสพติดเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับนโยบายในทุกระดับ และ (5) เจ้าหน้าที่ตารวจสามารถยึดทรัพย์สินจากผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้สมคบ ผู้สนับสนุน และผู้ช่วยเหลือเกี่ยวกับยาเสพติดได้จำนวนมาก และจับกุมผู้ต้องหาตามหมายค้างเก่าได้เกินเป้าหมายที่กำหนด
2. ปัจจัยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของตารวจภูธรภาค 7 ประกอบด้วย (1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารตารวจพบว่า (1.1) ผู้บัญชาการตารวจภูธรภาค 7 ใช้การบริหารงานแบบกระจายอำนาจโดยใช้เป้าหมายเป็นตัวควบคุมผลงาน (1.2) มีการมอบหมายให้ผู้บริหารตำรวจเข้าร่วมประชุมในระดับนโยบายร่วมกับจังหวัด และดำเนินการร่วมกับส่วนราชการอื่นๆ และ (1.3) มีการประสานงานเพื่อนำไปสู่การบูรณาการแผนและกิจกรรม (2) ศักยภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่า (2.1) เจ้าหน้าที่ตารวจมีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับการทำงาน และ (2.2) เจ้าหน้าที่ตำรวจมีวิธีการทางานที่มีประสิทธิภาพ (3) ได้รับจัดสรรงบประมาณน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณของภารกิจ (4) เทคโนโลยีทาให้การป้องกันปราบปรามยาเสพติดทำได้ง่ายขึ้น และ (5) การปฏิบัติตามนโยบายบางอย่างไม่ได้อยู่ในอำนาจของเจ้าหน้าที่ตารวจที่จะกระทำได้ เนื่องจากเป็นอานาจเฉพาะของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
3. ผลวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดของตารวจภูธรภาค 7 เป็นเพียงการทำงาน ในระบบย่อยที่อยู่ภายใต้ระบบใหญ่ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศ และระดับโลก ดังนั้น การแก้ไขปัญหายาเสพติดให้มีประสิทธิภาพจึงต้องบูรณาการภารกิจของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุมในทุกมิติ
ผลการพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามยาเสพติดของตำรวจภูธรภาค 7 ที่ได้จากการวิจัยมีดังนี้ (1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ประกอบด้วย (1.1) การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม (1.2) ทักษะในการสอนงานแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ (1.3) การสร้างวัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็ง และ (1.4) ความสามารถในการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ (2) ปัจจัยด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประกอบด้วย (2.1) การพัฒนาเจ้าหน้าที่ตำรวจ (2.2) การถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิกในทีม (2.3) การสร้างและพัฒนา อส.ตร.เพื่อช่วยสนับสนนุการทางานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ (2.4) การจัดประชุมระดับผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการภารกิจร่วมกัน และ (2.5) การพัฒนาองค์ความรู้ในการทำงาน (3) ปัจจัยด้านงบประมาณ ประกอบด้วย (3.1) การพัฒนาระบบการจัดสรรงบประมาณลงสู่พื้นที่ (3.2) การพัฒนาเจ้าหน้าที่ตำรวจให้มีศักยภาพในการเขียนโครงการ และ (3.3) ปรับปรุงระเบียบการใช้เงินกองทุนสวัสดิการด้านยาเสพติด (4) ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ประกอบด้วย (4.1) การพัฒนาเครื่องมือและโปรแกรมประยุกต์เฉพาะทาง (4.2) การประชาสัมพันธ์ข้อมูลและข่าวสาร (4.3) การใช้ระบบตรวจสอบป้ายทะเบียนรถยนต์ และ (4.4) การมีเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยในการทำงาน และ (5) ปัจจัยด้านกฎหมาย ประกอบด้วย (5.1) การศึกษาถึงปัญหาและข้อจำกัดเพื่อปรับปรุงข้อกฎหมายในการทำงาน และ (5.2) การสร้างทีมงานที่ปรึกษา
Abstract
The objectives of this research were to study (1) the current conditions of management for narcotics abuse prevention and suppression of Provincial Police Region 7, (2) the efficiency management factors in narcotics abuse prevention and suppression of Provincial Police Region 7, and (3) the development of management model for improving the efficiency of narcotics abuse prevention and suppression of Provincial Police Region 7. This study was a qualitative research, and the instrument that used in this research was the interview form. The samples of this study were divided into 6 groups, consisted of (1) policy level informants group, (2) practitioner level informants group, (3) other public sector informants group, (4) academics group, (5) citizens group, and (6) convicts of narcotics abuse case, a total of 49 persons. The results of the study can be concluded as follows:
1. The situation of narcotics abuse problem found that the narcotics has been spread out continually and tend to increase endlessly. The efficiency of the operation in narcotics abuse prevention and suppression of Provincial Police Region 7 were (1) budgets spending is worthy and economy in high level when compared between input and output, (2) the commanders will support on working and give an opportunity to the police officials for choosing the appropriate method to deal with each condition, (3) the police officials have an understanding in laws and regulations of narcotics suppression, (4) Provincial Police Region 7 has improved the system of narcotics problem solving to comply with the policies in all level, and (5) the police officials have seized properties from drug maker, drug dealer, drug accomplice and coordinator in a large number. Also, a capture of the offenders according to the unfinished warrants of arrest, has been surpassed the specified target.
2. The efficiency management factors in narcotics abuse prevention and suppression of Provincial Police Region 7, consisted of (1) the leadership of the executive officials found that the commanders of Provincial Police Region 7 have used the method of decentralization by specifying target to use for controlling the performances and outcomes and have designated the executive officials to attend in the policy level conference meeting with the provincial and other public sectors. Moreover, there also has been the coordination for the activity integration, (2) the potential of the police officials found that the police officials have the characteristic that is consistent with the operation, and have the method of efficiency working, (3) the budgets are allocated less than the amount of the mission, (4) technologies make the narcotics abuse prevention and suppression easy, and (5) some of the authority cannot be implemented because it was the specific authority of the narcotics prevention and suppression officials.
3. The results of this study indicated that the approach for solving the narcotics abuse problem of Provincial Police Region 7 was just only a subsystem of the narcotics abuse problem solving system both in the country, and the world. Therefore, there must be an integration of public sector’s task in all dimensions, to solve the narcotics abuse problem efficiently.
The development of management model for improving the efficiency of narcotics abuse prevention and suppression of Provincial Police Region 7, can be concluded as follows:
3.1 Leadership factor, consisted of 4 approaches (1) participatory management, (2) skill of coaching to the police officials, (3) strengthen the organizational culture and, (4) proficiency of coordination with other public sectors and international organization.
3.2 Police official factor, consisted of 5 approaches (1) police officials development, (2) knowledge sharing to the team members, (3) Voluntary Community Police development to assist the operation of police officials, (4) conference meeting arrangement for the executive level of the public sectors to integrate the mission together, and (5) knowledge of working development.
3.3 Budget factor, consisted of 3 approaches (1) area budget allocation system development, (2) proficiency of projects writing development, and (3) improve the regulation for spending of narcotics prevention and suppression welfare fund.
3.4 Technology factor, consisted of 4 approaches (1) tools and application programs development, (2) public relations of data and information, (3) using of license plates verifying system, and (4) availability of modern communication equipment for working.
3.5 Laws factor, consisted of 2 approaches (1) study the problems and restrictions for improving regulation of working, and (2) consulting team establishment.
ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามยาเสพติดของตำรวจภูธรภาค 7 | A management for efficiency development prototype in narcotics abuse prevention and suppression of provincial police region 7
Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand