Welcome new members
* ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ เหลืออีกเพียง 1 ขั้นตอน เป็นสมาชิกอย่างสมบูรณ์(V.I.P)
กรุณาโทรแจ้งเพื่อเปิดใช้งานระบบสมาชิก
ติดต่อบรรณารักษ์ ห้องสมุดมารวย (อาคาร 19 ชั้น 6 ) เบอร์ภายใน 5334
New users, please contact Michael Slater Building 19, 2nd Floor.

สมาชิก หากต้องการกลับมาที่หน้านี้ กรุณาชี้เมาส์ไปที่เมนู Home / เลือกคลิกที่ Handbook
- สมาชิกโทรมาแจ้ง ชื่อ Facebook คณะของท่าน
- โดยเราขอกดไลท์, ติดตาม, แชร์แฟนเพจ หรือเฟซบุ๊กของคณะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ภายในไม่เกิน 5 นาที ระบบยืนยันจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์
- สมาชิกกด Refresh หน้าเว็บนี้อีกครั้ง หรือloginเข้าระบบหลังบ้านอีกครั้งนึง จึงจะปรากฎปุ่มเครื่องมือเขียนโพส เช่น +New อยู่บนแถบเมนูสีดำด้านซ้าย และอีกจุดคือแถบสีดำด้านบนของหน้าเว็บ
Please inform the name of the Facebook Profile or Fan Page of the faculty that you have subscribed to. When we click Like, Share as a friend with you, you will be able to activate the membership system completely.
เนื้อหาคู่มือนี้ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 11 กรกฎาคม 2562 (Updated 11 july 2019)
การสมัครสมาชิก
1. การสมัครสมาชิก
— สมาชิก research-db.siam.edu สำหรับอาจารย์ บุคลากร อัปโหลดไฟล์เข้าฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร รายงานการประชุมทางวิชาการ ปริญญานิพนธ์ สารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ โครงงานสหกิจศึกษา ขอแนะให้ใช้เฟซบุ๊กของคณะล็อกอินเข้ามา ท่านใดไม่มีเฟซบุ๊กส่วนตัวหรือของหน่วยงาน กรุณาสมัครสร้าง account เฟซบุคส์ใหม่
- กรุณาเปิดเข้าใช้งานเฟซบุ๊กของคณะวิชาก่อน
- เข้าสู่หน้า http://e-research.siam.edu/loginresearchdbsiam หรือเลือกเมนู Home คลิกที่ สมาชิก-เข้าสู่ระบบ (อาจมีการเปลี่ยน URL บ่อยๆ เพื่อความปลอดภัย)
- คลิกที่ปุ่ม Continue as (ชื่อแฟนเพจของคณะวิชา) หากเป็นคำว่า Log in With Facebook ให้กรอกรหัส เข้าระบบ facebook ของตนเอง
- สมาชิกใหม่ เมื่อ log in เข้าสู่ระบบหลังบ้านแล้ว ท่านยังเหลืออีกขั้นตอนนึง คือ โทรศัพท์ติดต่อ หรือมายืนยันด้วยตนเองที่บรรณารักษ์ห้องสมุดมารวย@มหาวิทยาลัยสยาม อาคาร 19 ชั้น 6 หรือติดต่อ Admin ผู้ดูแลระบบ คุณไมเคิล สเลเตอร์ เพื่อเปิดใช้งานระบบเขียนโพส
2. Log in เข้าสู่ระบบ
เมื่อโทรแจ้งและเปิดใช้ระบบเขียนโพสต์เรียบร้อยแล้ว สมาชิกจะสามารถอัปโหลดผลงาน และเขียนโพสต์ได้แล้ว
- เข้าสู่หน้าเว็บระบบหลังบ้าน e-research.siam.edu/logineresearchsiam (หรือเลือกเมนู Home แล้วคลิกที่ > สมาชิก-เข้าสู่ระบบ)
- คลิกที่ปุ่ม login with facebook
- สมาชิกจะพบว่า ได้มีแถบเมนูเครื่องมือต่างๆ ด้านซ้ายมือ ปรากฎขึ้นมา พร้อมแล้วที่จะเริ่มเขียนโพสต์
เกี่ยวกับความปลอดภัยข้อมูล รหัสผ่าน
ระบบอัปโหลดผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยสยาม กำลังปรับปรุงและพัฒนา โดยทีมพัฒนา Journals ระหว่างทีมห้องสมุดมารวย@มหาวิทยาลัยสยาม กับทีมเจ้าหน้าที่หอสมุดกลาง เพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงใหม่หมด อย่างมีรูปแบบ สะดวก ปลอดภัยด้วยระบบที่มีการเข้ารหัสความปลอดภัยข้อมูลด้วยเฟซบุ๊กของสมาชิกเอง และตรวจสอบความเป็นบุคลากรขององค์กร ด้วยการโทรมายืนยันเป็นการให้เครดิตความน่าเชื่อถือของสมาชิก ด้วยการแชร์ผลงาน สามารถอัปโหลดข้อมูลของคณะ หรือสาขาวิชาต่างๆ ได้ โดยจะไม่สามารถลบโพส หรือไฟล์ของสมาชิกจากคณะอื่นๆ มีบรรณรักษ์เป็นเพื่อน คอยติดตามสอบถาม ช่วยเหลือ ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องต่างๆ เช่นบรรณานุกรม การติดป้ายกำกับโพส การทำ SEO (Search Engine Optimize) หรือบทความของท่านให้ถูกต้องครบถ้วน โดยทั้งหมดนี้ไม่ใช่วิธีจัดซื้อจัดจ้าง แต่กำเนิดมาจากบุคลากรภายในองค์กรเองทั้งหมด 100%
เกิดปัญหา มีข้อสงสัย ต้องการความช่วยเหลือ
กรณีที่เกิดปัญหา หรือมีข้อสงสัยใดๆ เช่น การแสดงผลข้อมูลผิดพลาด ต้องการปรับแต่งเพิ่มเติมในตารางกรอกข้อมูล หรือต้องการแจ้งลบบางสิ่ง ตอนนี้ระบบยังเป็นของใหม่ ขอให้ท่านได้โปรดติดต่อสอบถาม บรรณารักษ์ห้องสมุดมารวย เบอร์ภายใน 5334
การเตรียมไฟล์ .doc
1. คำเตือน ตรวจความครบถ้วนเรียบร้อย ของเอกสาร
เมื่อรวบรวมเอกสารผลงานวิจัยของนักศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุด ต้องตรวจแก้ให้ครบถ้วน ได้แก่
- *ต้องทำภาพลายน้ำเฉพาะไฟล์ที่จะรวมแปลงเป็น .pdf อัปโหลดขึ้นบนเว็บไซต์เท่านั้น คลิกดาวน์โหลดรูปภาพ
- หน้า 2 ใบอนุมัติลายเซ็นต์(Certificate) ต้องมีภาพลายเซ็นครบ
- หน้า 3 บทคัดย่อ (Abstract) ต้องมีภาพลายเซ็นต์ตรวจภาษาอังกฤษ ล่าสุด โดยคุณไมเคิล สเลเตอร์ / Approved by Mr.Michael Slater
- หน้า 11 บทอ้างอิง (Reference) ต้องเขียนถูกต้องตามหลัก APA 6th edition
*การทำภาพลายน้ำบนไฟล์จะใช้สำหรับไฟล์ที่แปลงหรือรวมเป็น .pdf เพื่อใช้ขึ้นเผยแพร่บนเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้รวมไปถึงการพิมพ์เพื่อทำเป็นรูปเล่มแต่อย่างใด
ย้ำอีกครั้งว่าสิ่งเหล่านี้ท่านต้องตรวจแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนทำอะไรอย่างอื่นโดยเฉพาะ Abstract จะต้องมาจองตรวจภาษาอังกฤษ Abstract ของท่านเอง ที่ห้องสมุดมารวย และตรวจ reference ต้องเป็นไปตามหลัก APA 6th edition หากอัปโหลดขึ้นไปก่อน แล้วพบว่าไม่ถูกต้องก็ต้องรื้อแก้ไขใหม่ เหมือนทำซ้ำใหม่อีกรอบ หากไม่มั่นใจว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ รบกวนปรึกษาเจ้าหน้าที่ห้องสมุดมารวย ยินดีช่วยเหลือ โทรภายใน: 5334
1. Cover
2. Certificate มีภาพลายเซ็นครบหรือไม่
3. Abstract — ต้องมาตรวจและมีลายเซ็นโดย คุณไมเคิลตรวจ เท่านั้น !
4. Acknowledgement
5. Content
6. Chapter 1
7. Chapter 2
8. Chapter 3
9. Chapter 4
10. Chapter 5
11. Reference — ต้องเขียนบรรณานุกรมถูกต้องตามหลัก APA 6th edition (คลิกดาวน์โหลดคู่มือการเขียนอ้างอิง)
12. Appendix
13. Vitae
2. วิธีเตรียมไฟล์ doc
ตรวจดูการตั้งชื่อไฟล์แต่ละบทให้เรียบร้อย ขอให้มีตัวเลขเรียงลำดับเนื้อหาตามตัวอย่างนี้
1. Cover
2. Certificate
3. Abstract
4. Acknowledgement
5. Content
6. Chapter 1
7. Chapter 2
8. Chapter 3
9. Chapter 4
10. Chapter 5
11. Reference
12. Appendix
13. Vitae
ในบางคณะวิชาอาจมีการตั้งชื่อแต่ละบทในรูปแบบภาษาไทย
1. หน้าปก
2. ใบรับรองสารนิพนธ์
3. บทคัดย่อ
4. กิตติกรรมประกาศ
5. สารบัญ
6. บทที่ 1
7. บทที่ 2
8. บทที่ 3
9. บทที่ 4
10. บทที่ 5
11. บรรณานุกรม
12. ประวัติผู้เขียน
การตั้งชื่อไฟล์ย่อยๆ ตามรูปแบบนี้ จะช่วยให้การรวมไฟล์ย่อยๆ ทั้งหมดรวมกันเป็น 1 ไฟล์ / Merge files into a single PDF โดยมีที่คั่น หรือ Bookmarkd ทำได้ง่าย ไม่ต้องไปทำขั้นตอนอื่นๆ เพิ่มเติมอีก โดยขอแนะนำให้ตั้งชื่อไฟล์ตามรูปแบบนี้เพื่อง่ายในการจัดเก็บและค้นหา ให้ตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษแบบย่อ โดยแบ่งส่วนด้วยเครื่องหมายขีดกลางหรือ Hyphen – ไม่เว้นวรรค เช่นตัวอย่างของ คณะวิทยาศาสตร์-สาขาวิชาคอมพิวเตอร์-ปีการศึกษา-และชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ก็จะเป็นดังนี้คือ science-computer-2018-Hair salon online appointment and
3. แจ้งขอยกเลิกการเพิ่มภาพลายน้ำด้วยโปรแกรม Office Word ขอให้เปลี่ยนไปใช้โปรแกรม Acrobat ดีที่สุด
วิธีการทำลายน้ำให้เอกสาร หรือ Watermark ให้ใช้โปรแกรม Acrobat หรือ Nitro ทำในขั้นตอนเกือบสุดท้าย ก่อนการตั้งชื่อไฟล์
โปรแกรมที่แนะนำให้ใช้ในการทำลายน้ำ ได้แก่
- Adobe Acrobat Pro ติดต่อขอรับโปรแกรมได้ที่ศูนย์สารสนเทศ
4. ประกาศมหาวิทยาลัยสยาม เรื่อง แนวปฏิบัติการปกป้องสิทธิ์งานวิจัย-(ทำลายน้ำ)
การเตรียมไฟล์ pdf
1. ข้อแนะนำการตั้งชื่อแต่ละไฟล์ pdf
วิธีเตรียมไฟล์ PDF อย่างแรกเลยคือ ตั้งชื่อไฟล์ เนื่องจากต้องรวมไฟล์ PDF แต่ละบทให้เป็นไฟล์เดียว โดยยังคงคุณสมบัติในรูปแบบเดิมที่แยกไฟล์เอาไว้ด้วย จึงแยกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ
- ต้องสร้าง Bookmark หรือที่คั่นแต่ละบทช่วยให้ผู้อ่านสามารถเลือกคลิกเปิดไปยังหน้าหลักๆ ได้อย่างสะดวกรวมเร็ว
- ต้องแสดงผลแบบ Flipbook หรือเปิดอ่านฉบับเต็บได้แบบเสมือนจริง หรือหนังสือสามมิติ
ดังนั้น เจ้าหน้าที่ Admin ของห้องสมุดมารวย ผู้พัฒนาระบบ จึงขออนุญาติให้คำแนะนำการตั้งชื่อในแต่ละไฟล์ย่อยๆ ให้สอดคล้องกับ ระบบ ความเปลี่ยนแปลงใหม่หมด ดังนี้
ตัวอย่างการตั้งชื่อไฟล์ย่อย (งานวิทยานิพนธ์, สารนิพนธ์ ) กรณีที่เป็น ภาษาอังกฤษ
1. Cover
2. Certificate
3. Abstract
4. Acknowledgement
5. Content
6. Chapter 1
7. Chapter 2
8. Chapter 3
9. Chapter 4
10. Chapter 5
11. Reference
12. Appendix
13. Vitae
ตัวอย่างการตั้งชื่อไฟล์ย่อย (โครงงาน, สหกิจศึกษา) กรณีที่เป็น ภาษาไทย
1. ปก
2. ใบอนุมัติลายเซ็นต์คณะกรรมการสอบ
3. บทคัดย่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
4. กิตติกรรมประกาศ
5. สารบัญ
6. บทที่ 1
7. บทที่ 2
8. บทที่ 3
9. บทที่ 4
10. บทที่ 5
11. บรรณานุกรม
12. ภาคผนวก
13. ประวัติผู้เขียน (ถ้ามี)
การตั้งชื่อไฟล์ย่อยๆ ตามรูปแบบนี้ จะช่วยให้ท่านทำงานได้ง่ายขึ้นในขั้นตอนการรวมไฟล์ย่อยทั้งหมด เป็น 1 ไฟล์ / Merge files into a single PDF โดยมีที่คั่น หรือ Bookmarked รวมถึงการบีบอัดไฟล์ ให้อัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปทำอะไรอีก ที่เหลือก็คือใส่ลายน้ำ และตั้งชื่อไฟล์ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นสำหรับกระบวนเตรียมไฟล์ PDF
2. การรวมไฟล์ PDF ด้วยโปรแกรม Acrobat Pro / Merge files into a single PDF
สมมติว่าท่านมีโปรแกรม Acrobat Pro อยู่ในเครื่องท่านเรียบร้อยแล้ว โดยปกติค่าดีฟอลต์ของโปรแกรมจะติดตั้งฟังก์ชั่นการทำงานไว้ที่ คลิกเมาส์ขวาเอาไว้ด้วย เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน pdf เป็นอย่างมาก เราจะใช้คุณสมบัติเหล่านี้กัน
1. เปิดโฟลเดอร์ ไฟล์ pdf ที่ท่านได้ตั้งชื่อเรียงกันตามลำดับไว้แล้วเรียบร้อย
2. แดรกเมาส์ซ้ายค้างไว้ พร้อมกับเลื่อนเคอร์เซอร์เมาส์เกิดแถบสีเลือกไฟล์ทั้งหมด แล้วปล่อยเมาส์ซ้าย อย่าเพิ่งขยับเคอร์เซอร์ไปไหน ให้คลิกเมาส์ขวา จะปรากฎเมนู ให้เลื่อนเคอร์เซอร์เมาส์คลิกเลือกที่เมนู Combine files in Acrobat… โปรแกรมจะเปิดขึ้นมา แล้วแสดงสถานะการเลือกไฟล์ต่างๆ ที่จะรวมกันให้ดู
3. ตรงนี้สำคัญ โจทย์ก็คือ เราต้องการรวมไฟล์แบบให้โปรแกรมดึงเอาชื่อแต่ละไฟล์ที่ตั้งไว้ นำไปสร้างเป็น Bookmark และบีบอัดย่อขนาดไฟล์ให้อัตโนมัติทั้งสองขั้นตอนในครั้งเดียว แต่ปัญหาก็คือ โปรแกรม Acrobat Pro ที่ติดตั้งครั้งแรก ค่าดีฟอลต์ของโปรแกรม ไม่ได้กำหนดให้ทำ Bookmark มาให้ เราจึงต้องไปกำหนดเองครั้งแรก ครั้งเดียว โปรแกรมก็จะจดจำรูปแบบการตั้งค่านี้ไว้สำหรับใช้งานในครั้งต่อไป แบบอัตโนมัติ หมายความว่า ถ้าเราตั้งค่าไว้ตอนนี้ ครั้งต่อไป เราก็ไม่ต้องมาตั้งค่าให้มัน Bookmark อีก มันจะจดจำค่าที่ตั้งไว้ครั้งแรก ย่อขนาดไฟล์ให้เล็ก และสร้างBookmark ให้แบบอัตโนมัติเลยทั้งสองขั้นตอนในคลิกเดียว ทำให้การทำงานสะดวกรวดเร็วขึ้นมากๆ (บังคับต้องทำเพื่อเป็นมาตรฐานไฟล์ .pdf รูปแบบเดียวกัน)
- 3.1 คลิกเปิด Options
- 3.2 File Size: คลิกที่รูปกระดาษภาพเล็กสุด ซึ่งหมายถึง กำหนดให้ย่อไฟล์แบบเล็กที่สุด
- 3.3 ใส่เครื่องหมายถูกให้ Always add bookmarks to Adobe PDF
- 3.4 คลิก OK
4. กดปุ่ม Combine แล้วรอให้โปรแกรมดำเนินการรวมไฟล์ บีบอัด และเพิ่ม Bookmark ให้อัตโนมัติ
5. ทำให้มันปรากฎเมนู Bookmark ทุกครั้งที่เปิดไฟล์นี้ ตอนนี้เรากำลังนั่งมอไฟล์ที่รวมเป็นไฟล์เดียวเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- 5.1 ให้คลิกเมาส์ขวาที่หน้ากระดาษขาวๆ เลือก Document Properties…
- 5.2 ด้านบนเลือกแถบ Initial View
- 5.3 ในส่วนของ Layout and Magification ให้เลือกเปลี่ยนจาก Page Only ในช่อง Navigation tab: เปลี่ยนเป็น Bookmarks Panel and Page
- 5.4 คลิก OK เพื่อครั้งต่อไปที่เปิดไฟล์ pdf นี้ขึ้นมา มันจะแสดง Bookmark ปรากฎให้เห็นอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องไปควานหาปุ่มเปิดมัน
6. คลิกที่ปุ่ม Save files (Ctrl+s) เพื่อบันทึกจัดเก็บไฟล์นี้ไว้ก่อน เผื่อไฟดับ แมวกระโดด คอมล้ม ก่อนที่เราจะทำขั้นตอนต่อไป คือ เพิ่มรูปภาพลายน้ำ Logo ให้กับเอกสารชิ้นนี้
7. การตั้งชื่อไฟล์ ต้องเป็นภาษาอังกฤษ โดยให้ใช้รูปแบบตัวอย่างที่แสดงไว้ที่เว็บไซต์ e-research
- 7.1 เลื่อนเมาส์ชี้ที่เมนู Home(หน้าหลัก) จะมีเมนูย่อยปรากฎออกมา
- 7.2 ให้คลิกเลือก วิธีเตรียมไฟล์-อัปโหลดผลงาน
- 7.3 แล้วเลื่อนหน้าเพจลงมายังส่วนของ การเตรียมไฟล์ pdf………..
- 7.4 ให้คลิกเปิดที่ข้อ 3. ตั้งชื่อไฟล์ PDF คณะต่างๆ (ตัวอย่าง)
- 7.5 เลือกค้นหาและ Copy ชื่อตามสาขาวิชาของท่าน โดยหลักการตั้งชื่อนี้มีหลักคิดดังนี้ คือ ชื่อคณะ-ภาควิชาหรือสาขาวิชา-ปีการศึกษา-ประเภทของผลงาน-ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษแบบย่อๆ แค่เพียง 5-6 คำแรกของชื่อเรื่องทั้งหมด.pdf
3. รูปแบบการตั้งชื่อไฟล์ PDF ของคณะต่าง ๆ
แต่ละคณะวิชาจะตั้งชื่อไฟล์ไม่เหมือนกัน ตั้งชื่อไฟล์.pdf เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
ตัวอย่างการตั้งชื่อของแต่ละคณะ(aaaaaaaaaaaaa หมายถึงชื่อเรื่อง) ดังนี้
1. คณะบริหารธุรกิจ
1.1 สาขาการบัญชี businessfinance-and-banking-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
1.2 สาขาการเงินและการธนาคาร business-accounting-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
1.3 สาขาการจัดการทั่วไป business-management-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
1.4 สาขาการจัดการอุตสาหการ business-industrial-management-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
1.5 สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ business-international-business-management-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
1.6 สาขาการตลาด business-marketing-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
2. คณะนิเทศศาสตร์
2.1 สาขาการโฆษณา communication-arts-advertising-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
2.2 สาขาสื่อดิจิทัล communication-arts-digital media-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
2.3 สาขาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ communication-arts-journalism-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
2.4 สาขาการประชาสัมพันธ์ communication-arts-public relations-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
2.5 สาขาวิทยุ-โทรทัศน์-ภาพยนตร์ communication-arts-radio-television-film-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
2.6 สาขาสื่อสารการแสดง communication-arts-radio-television-film-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
3. คณะวิศวกรรมศาสตร์
3.1 สาขาโยธา engineering-civil-engineering-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
3.2 สาขาคอมพิวเตอร์ engineering-computer-engineering-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
3.3 สาขาไฟฟ้า engineering-electrical-engineering-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
3.4 สาขาอุตสาหการ engineering-industrial-engineering-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
3.5 สาขาเครื่องกล engineering-mechanical-engineering-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
3.6 สาขาเทคโนโลยีการพิมพ์ engineering-printing-engineering-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
4. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.1 สาขาแอนิเมชั่นและสื่อสร้างสรรค์ IT-animation-and-creative-media-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
4.2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ IT-business-computer-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
4.3 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ IT-information-technology-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
4.4 สาขาการบริหารอุตสาหกรรมบริการ IT-information-technology-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
5. International College
5.1 สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ inter-college-international-business-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
5.2 สาขาการบริหารอุตสาหกรรมบริการ inter-college-hotel-tourism-service-industry-management-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
6. คณะศิลปศาสตร์
6.1 สาขาภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ liberal-arts-english-business-communication-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
6.2 สาขาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสาร liberal-arts-japanese-for-communication-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
6.3 ภาควิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ liberal-arts-tourism-and-hospitality-industry-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
7. คณะวิทยาศาสตร์
7.1 สาขาวิทยาการคอมพิวตอร์ science-computer-science-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
7.2 สาขาเทคโนโลยีการอาหาร science-food-technology-2018-coop-aaaaaaaaaaaaa.pdf
8. บัณฑิตวิทยาลัย (มหาบัณฑิต)
8.1 นิติศาสตร์ LLM-2018-IS-aaaaaaaaaaaaa.pdf
8.2 บริหารธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) IMBA-2018-IS-aaaaaaaaaaaaa.pdf
8.3 บริหารธุรกิจ MBA-2018-IS-aaaaaaaaaaaaa.pdf
8.4 นิเทศศาสตร์ MACA-2018-IS-aaaaaaaaaaaaa.pdf
8.5 สันติภาพศึกษาและการทูต MAPD-2018-IS-aaaaaaaaaaaaa.pdf
8.6 บริหารการศึกษา M.Ed-2018-IS-aaaaaaaaaaaaa.pdf
8.7 วิศวกรรมศาสตร์ M.Eng-2018-IS-aaaaaaaaaaaaa.pdf
8.8 รัฐประศาสนศาสตร์ MPA-2018-IS-aaaaaaaaaaaaa.pdf
8.9 เทคโนโลยีสารสนเทศ M.SIT-2018-IS-aaaaaaaaaaaaa.pdf
9. ดุษฎีบัณฑิต
9.1 ดุษฎีบัณฑิต (การตลาด) Ph.DBA-2018-thesis-aaaaaaaaaaaaa.pdf
9.2 ดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) Ph.DP.Ed-thesis-aaaaaaaaaaaaa.pdf
9.3 ดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ) Ph.DP.IT-thesis-aaaaaaaaaaaaa.pdf
9.4 ดุษฎีบัณฑิต (การจัดการ) Ph.D.Mgt-thesis-aaaaaaaaaaaaa.pdf
4. วิธีย่อขนาดsize ไฟล์ PDF ด้วยเว็บไซต์บริการย่อไฟล์ฟรี
ไฟล์ pdf ที่ได้มาจากการรวมไฟล์เป็นไฟล์เดียวนั้น อาจจะมีขนาด size มากถึง 3-20 MB ซึ่งไม่เหมาะกับการแสดงผลบนเว็บไซต์ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องบีบอัด ย่นย่อ ขนาดไฟล์ pdf ให้เล็กลง เหลืออยู่ที่ประมาณ 1-3 MB โดยปกติในตัวโปรแกรม Acobat จะมีเครื่องมือบีบอัด (Optimization) มาให้แล้ว แต่ก็ยังไม่มีคุณภาพดีเท่ากับ การย่อผ่านเว็บไซต์ smallpdf.com ฟรีและดี ตัวอักษรและภาพประกอบยังคงคุณภาพคมชัด และอาจช่วยบีบย่อไฟล์ขนาด 10 MB ให้เหลือไม่ถึง 2 MB
วิธีย่อไฟล์ PDF ด้วยเว็บไซต์ย่อไฟล์ ที่ย่อขนาดไฟล์ PDF ได้ดีที่สุด
- เลื่อนเมาส์ชี้ที่ไฟล์ PDF เพื่อดูขนาด….MB
- ค้นหาเว็บย่อไฟล์ PDF ด้วย Google
- เข้าเว็บไซต์ https://smallpdf.com/th/compress-pdf
- วาง PDF ลงที่นี่ รออัปโหลดและย่อไฟล์สักครู่
- กดปุ่มดาวน์โหลดไฟล์
- ลองเลื่อนเมาส์ไปชี้และเทียบขนาดดู เราจะใช้ไฟล์ที่บีบย่อแล้วเท่านั้น นำขึ้นเก็บไว้ในเว็บไซต์
- เปลี่ยนแก้ไขชื่อไฟล์ ที่มีคำว่า บีบอัด หรือ compress ออกก่อนที่จะอัปโหลดขึ้นเว็บไซต์
โดยปกติจะสามารถย่อไฟล์ได้ครั้งละ 2 ไฟล์ / ชั่วโมง แนะนำให้ใช้ Firefox โดยปิด Cookie จะทำให้สามารถใช้งานได้อย่างไม่จำกัดจำนวน