ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในภาคกลางของประเทศไทย

Last modified: November 25, 2022
You are here:
Estimated reading time: 3 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในภาคกลางของประเทศไทย
Factors affecting effective management of community enterprises in the Central Region of Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายชนพงษ์ อาภรณ์พิศาล
Mr. Chanapong Arpornpisal
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรณ แสงสุวรรณ
Professor Dr.Yuwat Vuthimedhi, Professor Dr. Thanawan  Sangsuwan
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง|Citation

ชนพงษ์ อาภรณ์พิศาล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในภาคกลางของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Arpornpisal C. (2017). Factors affecting effective management of community enterprises in the Central Region of Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Management, Siam University.


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อต้องการหาข้อมูลเชิงประจักษ์โดยให้สะท้อนสภาพความเป็นจริงและ ความเป็นไปได้ของวิสาหกิจชุมชน รวมถึงปัจจัยด้านต่างๆ ที่ทําให้เกิดประสิทธิผลต่อการบริหาร จัดการวิสาหกิจชุมชน ตั้งแต่มีพระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชน ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งยังไม่เคยมี การศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบมาก่อน โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ของการบริหารจัดการและประสิทธิผลของการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในภาคกลางของ ประเทศไทย 2.เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการบริหารจัดการที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการจัดการ วิสาหกิจชุมชนในภาคกลางของประเทศไทย 3.เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิง ปฏิบัติการในการส่งเสริมการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในภาคกลางของประเทศไทยการวิจัยครั้ง นี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างคือสมาชิก วิสาหกิจชุมชนจํานวน 390 คนใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติ อนุมานใช้แบบจําลองสมการ โครงสร้างทดสอบสมมติฐานเสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการ สัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการศึกษาพบว่า วิสาหกิจในปัจจุบันสามารถพึ่งพาตนเองได้จะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้น ของวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง มีการปรับตัว มีความหลากหลายของสินค้าโดยภาครัฐเป็นกําลังสําคัญใน การสนับสนุนและส่งเสริมความเข็มแข็งสามารถสร้างเป็นเครือข่ายในชุมชนได้ การวิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านภาวะผู้นําด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและด้าน การเป็นผู้ประกอบการในภาพรวมพบว่าทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากส่วนแบบจําลองสมการ โครงสร้างของประสิทธิผลของการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในภาคกลางของประเทศไทยที่ ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณา ได้จากค่าดัชนีความสอดคล้อง GFI = 0.966 ,AGFI = 0.935 , CFI = 0.996 , NFI = 0.976 และ RMSEA = 0.023 ซึ่งมีค่าผ่านตามเกณฑ์ทุกค่าแสดงว่ายอมรับสมมติฐานโดยมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ0.05ตัวแปรอิสระทุกตัวร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารจัดการได้ร้อยละ55

ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ รัฐบาลควรจัดให้มีหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการดูแล ติดตามผล การดําเนินการ โดยผลักดันการนํานโยบายมาปฏิบัติเพื่อให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและเกิดความ ต่อเนื่อง โดยมีการกําหนดนโยบาย การจัดสรรงบประมาณผ่านหน่วยงานที่รับผิดชอบ การสร้าง เครือข่ายให้กับวิสาหกิจชุมชน สร้างโอกาสให้เกิดการพัฒนา เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน และทําให้เกิดประสิทธิผลในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะผู้นําซึ่งเป็นที่ยอมรับของสมาชิกใน องค์การต้องวางแนวทาง กําหนดเป้าหมาย นํานวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ความคิดสร้างสรรค์การสร้างการมีส่วนร่วมในทุกส่วน โดยนําเทคนิคต่าง ๆ มาใช้เพื่อเพิ่ม มูลค่า และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย รัฐบาลควรเป็นสื่อกลางเพื่อจัดหากองทุนหรือแหล่งเงินกู้ที่ มีดอกเบี้ยต่ําให้กับสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนที่มีเงินทุนน้อยสามารถหาแหล่งทุนในการพัฒนาตาม นโยบายที่เป็นรูปธรรมในการสนับสนุนส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน อาทิ การจัดอบรมให้ความรู้เพื่อ พัฒนาทักษะตั้งแต่ขั้นพื้นฐานให้กับสมาชิกในการผลิตสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการนํา เทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด อาทิ การจัดจําหน่าย การชําระเงิน การติดต่อสื่อสาร แบบระบบออนไลน์ ทําให้เกิดความรวดเร็ว มีคุณภาพ รวมทั้งการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการ พัฒนาการผลิตสินค้าและบริการ ใหม่ๆ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายในการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการ ถ่ายทอดความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านไปสู่คนรุ่นหลัง เพื่อรักษาและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ เป็นอัตลักษณ์และการบริหารจัดการที่เกิดประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนต่อไป


Abstract

This research was conducted to find out empirical data to reflect the reality and the feasibility of community enterprises, including factors affecting effective management of community enterprises. In fact, there has never been a systematic study on this before since Community Enterprise Promotion Act, B.E. 2548 until now. The objectives of this research were 1) to study the current state of effective management of community enterprises in the central region of Thailand, 2) to study management factors affecting effective management of community enterprises in the central region of Thailand, and 3) to provide recommendations for policy setting and management of community enterprises promotion in the central region of Thailand. Quantitative research was conducted through data collection from questionnaires. Samples of this survey were consolidated 390 members of community enterprises in the central region of Thailand by stratified random sampling. The statistical techniques utilized to analyze data were descriptive and inferential statistics. Moreover, structural equation model was used for hypothesis testing along with qualitative data collection which was compiled through in-depth interview.

The result of the study showed that community enterprises could rely on themselves. This could be seen from a constant increase in the number of community enterprises, adaptability, and a variety of products. This was due to the fact that the government was the main factor that enabled community enterprises to build their community networks strongly. Moreover, an analysis of factors affecting effective management of community enterprises in the central region of Thailand consisted of government support factors, leadership factors, community participation factors, local wisdom factors, and entrepreneurship factors. All these factors had the mean score at a high level. Furthermore, structural equation model of effective management of community enterprises in the central region of Thailand which was developed form literature review was consistent with the empirical data. The goodness of fit indices were GFI = 0.966, AGFI = 0.935, CFI = 0.996, NFI = 0.976, and RMSEA = 0.023. Thus, hypotheses were accepted with statistical significance at 0.05 level. The findings showed that all independent variables could explain 55 percent of management efficiency.

Research findings showed that the government should establish the responsible agency to follow up on their performance and to put the policies into clear and continuous practice. The duties of the government agency included policy setting, budget allocation, community enterprise network building, and business opportunity creation. Furthermore, the accepted leader of organization members should lay the guidelines, set the organizational target, use innovation to develop local wisdom, encourage participation in all sections, and bring techniques to add value to products or services and build competitive advantage.

In respect of the research recommendations, the government should be a facilitator to provide sponsorships in the term of funding or sources of low interest loans for the community enterprise members with less capital. Moreover, the government should continuously hold training programs to develop basic production skills of the community enterprise members and use technology to increase online marketing channels such as online distribution, online payment, and effective online communication systems. Lastly, the government should also use technology to develop new products and services and promote local wisdom knowledge transfer in order to conserve local wisdom identity and enable community enterprises to manage their business successfully.


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในภาคกลางของประเทศไทย / Factors affecting effective management of community enterprises in the Central Region of Thailand

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 2092
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print