รูปแบบความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีผลคะแนนการปฏิบัติงานสูง

Last modified: October 8, 2022
You are here:
Estimated reading time: 3 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
รูปแบบความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีผลคะแนนการปฏิบัติงานสูง
A relationship model of performance according to the internal control standards affecting the success of primary educational service area office with high scores of performance
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายสมมาต คำวัจนัง
Mr. Sommart Kamwatjanang
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญมี เณรยอด, ดร.คมศร วงษ์รักษา
Assoc. Prof. Dr.Boonmee Nenyoud, Komsorn Wongrugsa, Ph.D.
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา
Leadership and Innovation in Educational Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง|Citation

สมมาต คำวัจนัง. (2561). รูปแบบความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีผลคะแนนการปฏิบัติงานสูง. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Kamwatjanang S. (2018). A relationship model of performance according to the internal control standards affecting the success of primary educational service area office with high scores of performance. (Doctoral dissertation). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิติงานตามมาตรฐานการควบคุมภายในและความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีผลคะแนนการปฏิบัติงานสูง และวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีผลคะแนนการปฏิบัติงานสูง ดดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงบรรยาย เก็บรวบรวมข้อมูลจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีผลคะแนนการปฏิบัติงานสูง จำนวน 59 เขต ผู้ให้ข้อมูล เขตละ 14 คน ได้ครบทุกเขต จำนวน 729 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่กำกับดูแลกลุ่มอำนวยการ ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคล ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ ผู้อำนวยการหน่วยตรวจสอบภายใน บุคลากรที่รับผิดชอบงานควบคุมภายในของกลุ่มอำนวยการ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มนโยบายและแผน กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาและกลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยใช้โปรแกรม LISREL นำผลที่ได้มาพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการควบคุมภายใน เพื่อความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีผลคะแนนการปฏิติงานสูง โดยใช้แนวคิดตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544 มีการตรวจสอบความเป็นไปได้และความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โดยใช้การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ

ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการควบคุมภายในของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีผลคะแนนการปฏิบัติงานสูง ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ มีการรับรู้สภาพ การปฏิบัติงานที่ใกล้เคียงกัน อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การปฏิบัติงานด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ= 4.33) รองลงมา ด้านการประเมินความเสี่ยง (μ= 4.24) ด้านการติดตามประเมินผล (μ= 4.21) ด้านกิจกรรม การควบคุม (μ= 4.17) และด้านสารสนเทศและการสื่อสาร (μ= 4.15) ตามลำดับ

2. ความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีผลคะแนน การปฏิบัติงานสูง ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ มีการรับรู้ความสำเร็จที่ใกล้เคียงกัน อยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวมและรายด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความสำเร็จด้านประสิทธิผลขององค์การ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ= 4.35) รองลงมา ด้านคุณภาพการให้บริการ (μ= 4.25) ด้านการพัฒนาบุคลากร (μ= 4.23) ด้านการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการบริหารจัดการ (μ= 4.20) และด้านประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา (μ= 4.18) ตามลำดับ

3. โมเดลสมการโครงสร้างของรูปแบบความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีผลคะแนนการปฏิบัติงานสูงที่พัฒนาขึ้น พบว่าตัวแปรแฝง 6 ตัวและตัวแปรสังเกตได้ 29 ตัว มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า  χ2= 928.34, df= 340 โดยสัดส่วน χ2/df= 2.73 GFI= 0.97, AGFI= 0.93, NFI= 0.99, IFI= 0.99, CFI= 0.99, RMR= 0.01 และ RMSEA= 0.04

4. โมเดลโครงสร้างพบว่าตัวแปรองค์ประกอบมีอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีผลคะแนนการปฏิบัติงานสูง ส่งผลทางบวก ทุกด้าน ได้แก่ ด้านกิจกรรมการควบคุม (DE= 0.43) ด้านการประเมินความเสี่ยง (DE= 0.39) ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร (DE= 0.36) ด้านการติดตามประเมินผล (DE= 0.19) และด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุม (DE = 0.17) ตามลำดับ ความสัมพันธ์มีความเที่ยงตรง รูปแบบความสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น มีความสามารถในการพยากรณ์ความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีผลคะแนนการปฏิบัติงานสูงได้ดีและยอมรับได้

คำสำคัญ: การประถมศึกษา, การควบคุมภายใน


Abstract

The purposes of this research were to study the performance according to the internal control standards and the success of primary educational service area office with high scores of performance and analyze a relationship model of performance according to the internal control standards affecting the success of the primary educational service area office with high scores of performance by using descriptive method. Data were collected through questionnaires from 59 primary educational service area offices with high scores of performance, each of offices collected 14 persons total to be 729 persons from every office. They were the directors, the deputy directors who controlled the administration group, the directors of administration group, the directors of personnel administration group, the directors of policy and planning group, the directors of promotion of education group, the directors of supervision and evaluation of education group, the directors of financial and asset administration group, the directors of internal audit unit, the internal control operators of group; administration group, personnel administration group, policy and planning group, promotion of education group and financial and asset administration group. Data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, and coefficients correlation through the LISREL program. Furthermore the results will be analyzed for developing the relationship model of performance according to the internal control standards affecting the success of primary educational service area office with high scores of performance concern to the regulation of state audit commission of the kingdom of Thailand on the establishment of internal control standards B.E. 2544, then the model was validated by the experts through focus group discussion technique.

The research results showed as follows:

1. The performance according to the internal control standards of primary educational service area office with high scores of performance as a whole and each of aspects, the administrators and operators were rated at the high level. When considering in each of aspects, the control environment aspect was rated at the highest score of mean ( μ=4 . 3 3), the follow up were the risk assessment aspect (μ=4 .24), the monitoring aspect (μ= 4.21), the control activities aspect (μ= 4.17) and the information and communications aspect (μ=4.15).

2. The success of primary educational service area office with high scores of performance as a whole and each of aspects, the administrators and operators were rated at the high level. When considering in each of aspects, the effectiveness of organization aspect was rated at the highest score of mean(μ= 4.35), the follow up were the quality of service aspect (μ= 4.25), the development of personnel aspect (μ-= 4.23), the innovation and technology of administration aspect (μ-= 4.20) and the efficiency of education administration aspect (μ=4.18).

3 . Structural equation model of the relationship model of performance according to the internal control standards affecting the success of primary educational service area office with high scores of performance which consisted of 6 latent variables and 29 observed variables. Indicator of success was appropriated and harmonious with the empirical data. The results showed that x2= 928.34, df= 340, x2/df= 2.73, GFI= 0.97, AGFI= 0.93, NFI= 0.99, IFI= 0.99, CFI= 0.99, RMR= 0.01 and RMSEA= 0.04.

4. Structural model of the factors of internal control standards had the direct effect to the success of primary educational service area office with high scores of performance. The results of positive factors were the control activities aspect (DE= 0.43), the follow up were the risk assessment aspect (DE= 0.39), the information and communications aspect (DE= 0.36), the monitoring aspect (DE= 0.19) and the control environment aspect (DE= 0.17) respectively .They were proved its validity. The relationship model could predict well and accepted.

Keywords:  Elementary Education, Internal control.


รูปแบบความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีผลคะแนนการปฏิบัติงานสูง|A relationship model of performance according to the internal control standards affecting the success of primary educational service area office with high scores of performance

Doctor of Philosophy in Leadership and Innovation in Educational Administration, Siam University, Thailand

Related Articles

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 397
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles