การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา

Last modified: July 1, 2025
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง: การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา
Title: Case-Based Learning for Enhancing Critical Thinking and Problem-Solving Skills
ผู้วิจัย:
Researcher:
อารีรัตน์ ปฐมชัยวาลย์ และอุบลวรรณ ส่งเสริม | Areerat Pathomchaiwal and Ubonwan Songserm
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
วศ.บ. (วิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน) – B. Eng. (Civil Environment and Sustainable Engineering)
สาขาที่สอน:
Major:
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน – Bachelor of Engineering Program in Civil Environment and Sustainable Engineering
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2567 (2024)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม–มิถุนายน 2568 หน้า 12-18 | Journal of Learning Innovation and Technology (JLIT) Vol. 5, No.1, January-June, 2025 pp.12-18   Click  PDF

บทคัดย่อ

     การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาผ่านสถานการณ์จริง โดยเชื่อมโยงทฤษฎีกับการปฏิบัติ กระบวนการเรียนรู้เริ่มจากการศึกษาปัญหาจากกรณีศึกษา วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและผู้เกี่ยวข้อง น าไปสู่การวินิจฉัยปัญหาผ่านการตั้งค าถาม การแยกประเด็นส าคัญ การระดมความคิด และการวิเคราะห์ทางเลือก ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พัฒนาแนวทางแก้ไข และประเมินความเป็นไปได้และผลกระทบ ก่อนสรุปและน าเสนอแนวทางที่เหมาะสม การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้เชิงลึก พัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ การท างานเป็นทีม และการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพต้องเลือกกรณีศึกษาที่สะท้อนสถานการณ์จริง ออกแบบกิจกรรมที่กระตุ้นการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจ รวมถึงใช้การประเมินผลแบบองค์รวมที่ครอบคลุมความเข้าใจทางทฤษฎี กระบวนการแก้ปัญหา การสังเกตพฤติกรรม และการให้ข้อเสนอแนะผ่านการประเมินตนเองและเพื่อนประเมินเพื่อน ตลอดจนการสะท้อนคิดของผู้เรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และเตรียมผู้เรียนให้พร้อมรับมือกับความท้าทายในศตวรรษที่ 21

คำสำคัญ: การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา, กรณีศึกษา,การคิดเชิงวิพากษ์, การแก้ปัญหา


Abstract

     Case-based learning is an instructional approach that develops thinking skills and problem-solving through real-world scenarios, integrating theory with practice. The learning process begins witha casestudy, analyzing the environment and stakeholders, and diagnosing the problem through questioning, identifying key issues, brainstorming, and evaluating alternatives. Learners actively engage in discussions, develop solutions, and assess feasibility and impact before concluding and presenting appropriate recommendations. Case-based learning promotes deep learning and enhancing critical thinking, teamwork, and collaborative problem-solving skills. Effective learning management requires selecting case studies that reflect real-world situations, designing activities that stimulate critical analysis and decision-making, and employing a holistic assessment approach. This assessment should encompass theoretical understanding, problem-solving processes, behavioral observations, and feedback through self-assessment and peer-assessment, as well as reflective thinking. This approach helps learners refine their learning strategies and prepares them to tackle 21st-century challenges.

Keywords: Case-Based Learning,Case Study, Critical Thinking, Problem-Solving


ผศ. ดร.อารีรัตน์ ปฐมชัยวาลย์ – Asst. Prof. Dr. Areerat Pathomchaiwal. 2567 (2024). Case-Based Learning for Enhancing Critical Thinking and Problem-Solving Skills. บทความ (Paper). วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี|Science and Technology. วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering). วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน – Bachelor of Engineering Program in Civil Environment and Sustainable Engineering. วศ.บ. (วิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน) – B. Eng. (Civil Environment and Sustainable Engineering). Bangkok: Siam University

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 8
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code