ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Last modified: November 27, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min

Title: Factors related to the election of Mayor of Koh Samui Municipality, Surat Thani Province

ชื่อโครงการ: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Author: Tithipun Chanthong

ชื่อผู้วิจัย: ธิติพันธ์ จันทร์ทอง

Advisor: ศ.พิเศษ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี – Prof. Dr. Yuwat Vuthimedhi

Degree: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง – Master of Political Science Program in Government

Major: ร.ม. (การปกครอง) – M.Pol.Sc. (Government)

Faculty: บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School)

Academic year: 2567 (2024)

Published: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี วารสารสังคมศาสตร์นิติรัฐศาสตร์  Click


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของหัวคะแนนที่มีผลต่อการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับบทบาทของหัวคะแนนที่มีผลต่อการเลือกตั้ง และเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งต่อไป การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษา คือ หัวคะแนนของผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรี เทศบาลนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน 300 คน กลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้สูตรของยามาเน่ จำนวน 172 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน T – test และ F – test
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของหัวคะแนนที่มีผลต่อการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเกาะ สมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านพฤติกรรมของหัวคะแนนอยู่ในระดับมาก และด้านการประสานงานในพื้นที่, ด้านการการสื่อสาร และด้านวิธีการที่ใช้ในการหาเสียง อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับบทบาทของหัวคะแนน พบว่า ระดับการศึกษา และตำแหน่งในชุมชนมีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของหัวคะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความสัมพันธ์กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ช่องทางการสื่อสาร และประสบการณ์ทางการเมือง ไม่มีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของหัวคะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) แนวทางการทางการส่งเสริมการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเกาะสมุย ได้แก่ การพัฒนาระบบหัวคะแนนที่เป็นมาตรฐาน โดยเฉพาะการกําหนดหน้าที่ที่ชัดเจน และการประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาสมรรถนะหัวคะแนน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร การพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นต้น

คำสำคัญ: หัวคะแนน, นายกเทศมนตรี, เทศบาลนครเกาะสมุย


Abstract

The purposes of this research were to study the role of election canvassers in affecting the election of the mayor of Koh Samui Municipality, Surat Thani Province; to compare personal factors and the role of election canvassers in affecting the election; and to suggest guidelines for further promoting the election campaign. This research was quantitative research. The population were 300 election canvassers of mayoral candidates of Koh Samui Municipality, Surat Thani Province. The samples were 172 based on Yamane’s formula. The research was a quantitative research, utilizing a questionnaire as the research tool. The statistical techniques were Mean, percentage, standard deviation, t-test, analysis of variance, and correlation coefficient.
The results of the research found that: 1) the role of election canvasser affecting the election of the mayor of Koh Samui Municipality ,in overall, was at a moderate level, which in each aspect of the role of election canvasser, behavior of election canvasser was at a high level and coordination, communication and method utilization aspects were at moderate level respectively; 2) the differences in personal factors, different educational level and position, affected attitudes towards the role of election canvasser affecting the election of the mayor of Koh Samui Municipality at statistical significant level of.05, but the personal factors such as gender, age, occupation, monthly income, personal relationship with candidates, and communication channels did not affected attitudes towards the role of election canvasser affecting the election of the mayor of Koh Samui Municipality; 3) guidelines for promoting the election campaign for Mayor of Koh Samui Municipality were that systematized election canvasser process, especially clarification of duty and evaluation , development competency of election canvasser, especially communication technology skill and personality.

Keywords: election canvasser, mayor, Koh Samui Municipality


Factors related to the election of Mayor of Koh Samui Municipality, Surat Thani Province / ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

6517903009 ธิติพันธ์ จันทร์ทอง Tithipun Chanthong 2567 (2024) Factors related to the election of Mayor of Koh Samui Municipality, Surat Thani Province สารนิพนธ์ (Independent Study), Advisor: ศ.พิเศษ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี – Prof. Dr. Yuwat Vuthimedhi, ปริญญาโท (Master’s Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง – Master of Political Science Program in Government, ร.ม. (การปกครอง) – M.Pol.Sc. (Government), Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, Graduate School 2023, IMBA, IMBA 2023, Independent Study, Independent Study 2023, Master of Business Administration, Master of Business Administration (International Program) 2023, Master of Business Administration 2023, ปริญญาโท (Master’s Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง – Master of Political Science Program in Government,ร.ม. (การปกครอง) – M.Pol.Sc. (Government)

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 3
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code