ปัจจัยการบริหารจัดการที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพที่ขาดแคลนของโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Last modified: May 15, 2021
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ปัจจัยการบริหารจัดการที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพที่ขาดแคลนของโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
Management factors affecting the retention of scarce professional nurse in regional hospitals under the Supervision of the Public Health Permanent Secretary Office
ชื่อนักศึกษา:
Author:
พันตำรวจเอกหญิงกิตติยา ชัชวาลชาญชนกิจ
Pol.Col.Kittiya Chutchawanchanchanakij
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ถิรศิริกุล, ศาสตราจารย์วุฒิคุณ ดร.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
Assistant Professor Dr.Jidapa Thirasirikul, Adjunct Professor Dr.Porntep Siriwanarangsun
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง/citation

กิตติยา ชัชวาลชาญชนกิจ. (2560). ปัจจัยการบริหารจัดการที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพที่ขาดแคลนของโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1)สภาพการจัดการการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพที่ ขาดแคลนของโรงพยาบาลศูนย์สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2)ปัจจัยการจัดการที่มี อิทธิพลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพที่ขาดแคลนของโรงพยาบาลศูนย์สังกัดสํานักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ 3)เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะด้านการจัดการเพื่อการธํารงรักษาพยาบาล วิชาชีพที่ขาดแคลนของโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข การวิจัยครั้งนี้ ใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาล วิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจํานวน 504 คน วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน ใช้แบบจําลองสมการ โครงสร้างทดสอบสมมติฐาน เสริมด้วย ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการวิจัยพบว่า การคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิ=kชีพ ในปัจจุบันคงอยู่ด้วยอุดมการณ์ ในวิชาชีพโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ค่าเฉลี่ยของปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ในองค์การมีระดับค่าเฉลี่ยความ คิดเห็นในระดับมากโดยภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงมีค่าเฉลี่ยมากสุด แบบจําลองสมการ โครงสร้าง ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางระหว่างกลยุทธ์การส่งเสริมศักยภาพทุนมนุษย์กับการ คงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 0.96 การรับรู้ความยุติธรรมมีค่าเท่ากับ 0.73 ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงมีค่าเท่ากับ 0.43 ความสุขในการทํางานมีค่าเท่ากับ 0.12 และ ความก้าวหน้าในวิชาชีพภายในองค์การที่ปฏิบัติงานมีค่าเท่ากับ 0.02 มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตัวแปรอิสระสามารถอธิบายการคงอยู่ในองค์การร้อยละ 85 สนับสนุนด้วยผลการสังเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่าการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพที่ขาดแคลนในปัจจุบันจําเป็นต้อง ได้รับความสําคัญจากภาครัฐ กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานต้นสังกัด ควรมีการดําเนินการ ร่วมกัน ในเรื่องของการกําหนดนโยบาย เพื่อสนับสนุนส่งเสริมความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน สวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานตามบริบทของสภาพแวดล้อมที่เป็นสาเหตุให้พยาบาลลาออก อาทิปัญหา เรื่องค่าตอบแทน ความก้าวหน้าในวิชาชีพ ภาระงาน สวัสดิการ บรรยากาศการทํางาน คุณภาพชีวิต เป็นต้น แนวทางสําคัญในการแก้ปัญหา คือการสร้างให้เกิดความสุขในการทํางาน มีความก้าวหน้า ในวิชาชีพ ปริมาณงานกับคนและผลตอบแทนควรมีความสมดุลตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม มีการปรับเปลี่ยนในด้านกลยุทธ์การส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ ภาวะ ผู้นําการเปลี่ยนแปลง การรับรู้ความยุติธรรม ความผูกพันองค์การ และความสุขในการทํางานอย่าง เหมาะสมเพื่อให้พยาบาลวิชาชีพคงอยู่ในองค์การต่อไป

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ โรงพยาบาลควรมีนโยบายชัดเจนในการพัฒนาพยาบาล อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ประกาศอย่างเป็นทางการให้พยาบาลรับรู้ว่าเมื่อถึงเวลาทุกคนจะได้รับการ พัฒนาและความก้าวหน้าอย่างไร โดยต้องมีการดําเนินการอย่างจริงจัง การมีนโยบายที่ชัดเจนเช่นนี้ จะทําให้โอกาสที่พยาบาลจะทํางานและคงอยู่ในองค์การจะสูงขึ้น


Abstract

The objectives of this research? were to? study 1) the current state of the retention management of scarce professional nurse in regional hospitals under the supervision of the public health permanent secretary office. 2) management factors affecting the retention of scarce professional nurse in regional hospitals under the supervision of the public health permanent secretary office, and 3) to develop recommendations for the management of the retention of scarce professional nurse in regional hospitals under the supervision of the public health permanent secretary office. The methodology of this research was mainly Quantitative. Data collection was compiled through questionnaires. Samples were 504 professional nurses in regional hospitals under the supervision of the public health permanent secretary office. The statistical techniques were employed to analyze data included descriptive and inferential statistics by utilizing structural equation model for hypothesis testing. Qualitative data collection was compiled through in-depth interview.

The results of the study showed that the current retention of professional nurse derived from profession ideology reason which had the mean score at the highest level. The average opinions of factors affecting the retention of professional nurse in regional hospitals were at a high level, especially the transformational leadership factor was at the highest level. From structural equation model developed by researcher, path coefficient between human capital development strategy and the retention of professional nurse was at the highest level at 0.96, perception of organizational justice at 0.73, transformational leadership at 0.43, happiness at work at 0.12, and a chance for career progression was -0.02 with statistical significance at 0.01 level. The independent variables could explain 85 percent of the retention of professional nurse. Results from synthesizing qualitative data were found that the government should attach great importance to the current retention of scarce professional nurse. The Ministry of Public Health, including related agency should work together for policy setting in order to support knowledge and work skills of workers. Furthermore, they should promote the welfare of workers such as remuneration, a chance for career progression, job duties, welfares, work environment, and work life quality, etc. The resolutions of resignation of professional nurse were the creation of happiness in the workplace, career progression, work and life balance, the satisfaction in remuneration, human capital development strategy, transformational leadership, the perception of organizational justice, organizational commitment, and happiness at work.

Regarding the research recommendations, the hospitals should have clear nursing development policy and continuous improvement procedure that would benefit professional nurse. This will increase the chance of the retention of professional nurse.

 

Keywords:  Nursing, Nurses.


ปัจจัยการบริหารจัดการที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพที่ขาดแคลนของโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข / Management factors affecting the retention of scarce professional nurse in regional hospitals under the Supervision of the Public Health Permanent Secretary Office

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 614
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print