รูปแบบประสิทธิผลการจัดการความรู้ของมูลนิธิโครงการหลวงในการพัฒนาพื้นที่สูงภาคเหนือของประเทศไทย

Last modified: November 26, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
รูปแบบประสิทธิผลการจัดการความรู้ของมูลนิธิโครงการหลวงในการพัฒนาพื้นที่สูงภาคเหนือของประเทศไทย
Knowledge management effectiveness model of Royal Project Foundation in Development of Northern Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายพิสิษฐ์ พงศาปรมัตถ์
Mr. Bhisit Phongsaporamut
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี, ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์
Professor Dr. Yuwat Vuddhimeti, Professor Dr. Phongsak Angkasith
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง|Citation

พิสิษฐ์ พงศาปรมัตถ์. (2560). รูปแบบประสิทธิผลการจัดการความรู้ของมูลนิธิโครงการหลวงในการพัฒนาพื้นที่สูงภาคเหนือของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Phongsaporamut B. (2017). Knowledge management effectiveness model of Royal Project Foundation in Development of Northern Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Management, Siam University.


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) กระบวนการบริหารงานของมูลนิธิโครงการ หลวงในเขตพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย 2) ระบบและกลไกในการจัดการความรู้ของ มูลนิธิโครงการหลวงในการพัฒนาพื้นที่สูงเขตภาคเหนือของประเทศไทย และ 3) สภาพปัญหาและ เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาต่อยอดการจัดการความรู้ของมูลนิธิโครงการหลวง โดยใช้วิธีการ ศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และเสริมด้วยวิจัยเชิงปริมาณผ่านแบบสอบถาม จากกลุ่มคณะกรรมการมูลนิธิ โครงการหลวง ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง ระดับต้น เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมูลนิธิโครงการหลวง ผู้นําชุมชนที่ได้รับการยอมรับและเกษตรกรสมาชิกของมูลนิธิโครงการหลวง จํานวน 22 ท่าน และ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิโครงการหลวงดอยอินทนนท์ จํานวน 312 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พร้อมการตีความ ข้อมูลและสร้างข้อสรุปทั่วไป

ผลการศึกษาพบว่า
1)กระบวนการบริหารงานของมูลนิธิโครงการหลวงมีการดําเนินงานตามโครงสร้าง ขั้นตอนการทํางานผ่านสถานีวิจัย ศูนย์พัฒนาโครงการในพื้นที่ที่ชัดเจน โดยมีสํานักงาน ฝ่าย อาสาสมัครโครงการทําหน้าที่สนับสนุนการดําเนินงานอย่างเป็นระบบตามวิสัยทัศน์ ภารกิจในการ พัฒนาพื้นที่สูงของมูลนิธิโครงการหลวงกําหนดไว้ชัดเจน
2) มูลนิธิ โครงการหลวงมีการกําหนดวิสัยทัศน์ในการจัดการความรู้ร่วมกันอย่างเป็น ระบบ ตั้งแต่ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การจัดเก็บความรู้ การวิเคราะห์และสกัดความรู้ การถ่ายโอนและการเผยแพร่ความรู้ และการประยุกต์และการทําให้ข้อมูลถูกต้องเที่ยงตรงใน ลักษณะของการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์กร ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ โดยกลไกสําคัญในการจัดการ ความรู้มาจากผู้บริหารองค์กร บรรยากาศในองค์กร วัฒนธรรมองค์กร การทํางานเป็นทีมในองค์กร และความเข้มแข็งของชุมชน
3) องค์ความรู้ทางวิชาการเกษตรไม่สามารถต่อยอดความรู้หรือสร้างนวัตกรรมได้ เนื่องจากขาดงบประมาณสนับสนุนวิจัยและพัฒนา และควรส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วม พัฒนาต่อยอคนวัตกรรมองค์ความรู้ที่ได้รับจากการจัดการความรู้ในมูลนิธิโครงการหลวง
4) มูลนิธิโครงการหลวงควรพัฒนาศักยภาพทีมทํางาน และอาสาสมัครให้มีศักยภาพใน การประสานงานในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มีขั้นตอนในการปฏิบัติ การถ่ายทอด เผยแพร่ความรู้ที่กระชับ ชัดเจน เหมาะสมกับภารกิจในแต่ละโครงการและสอดคล้องกับขั้นตอนใน การจัดการความรู้ในมูลนิธิโครงการหลวงอย่างเหมาะสม


Abstract

The purposes of this study were to study 1) the management process of Royal Project Foundation in the northern Thailand 2) the system and mechanism for knowledge management of the Royal Project Foundation for highland development in the northern Thailand; and 3) problems and recommendations for further development of the Royal Project Foundation’s knowledge management. This research used qualitative research method by in-depth interviewing 22 participants from the Royal Project Foundation board, senior managers, middle managers, first-level managers, the Royal Project Foundation staff, the recognized community leaders and members of the Royal Project Foundation; and supplemented with quantitative research through questionnaires collected from 312 participants from the members of Doi Inthanon Royal Project Foundation. The statistics used in the analysis were percentage, mean and standard deviation to interpret data and create general conclusion.
The study indicated that

1) The management process of the Royal Project Foundation in the highlands of northern Thailand was structured. The work process through the research station and project development center was clear. The Foundation officers and volunteers clearly supported the systematic operation by following the vision and the mission of the Foundation.

2) The Foundation had a systematic knowledge management. The knowledge management process consisted of knowledge identification, knowledge creation and acquisition, knowledge organization, knowledge storage, analysis and extraction of knowledge, transfer and dissemination of knowledge, including the application and validation of data in Participatory Action Research (PAR) among stakeholders within organizations, community, and government agencies. The key mechanisms of knowledge management came from corporate executives, organization atmosphere, organizational culture, teamwork in the organization and strength of the community.

3) The agricultural knowledge and innovation could not be created due to the lack of funding for research and development while the related agencies should be encouraged to develop the knowledge gained from the Foundation.

4) The Foundation should develop the capacity of the working team and volunteers. They should have efficient coordination and should have steps to follow. The dissemination of knowledge should be concise, appropriate for each project’s mission and in accordance with the proper procedures for the Foundation’s knowledge management.


รูปแบบประสิทธิผลการจัดการความรู้ของมูลนิธิโครงการหลวงในการพัฒนาพื้นที่สูงภาคเหนือของประเทศไทย|Knowledge management effectiveness model of Royal Project Foundation in Development of Northern Thailand

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 458
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code