- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะพยาบาลศาสตร์
- การศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์ประคบเต้านมสมุนไพร 3H (Herb Heat Health) ในมารดาหลังผ่าตัดคลอด
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์ประคบเต้านมสมุนไพร 3H (Herb Heat Health) ในมารดาหลังผ่าตัดคลอด |
Title: | The Effectiveness and Maternal Satisfaction of the 3H (Herb Heat Health) Herbal Breast Compress Device in post-cesarean mothers |
ผู้วิจัย: Researcher: |
รัตนาภรณ์ นิวาศานนท์, นฤมล อังศิริศักดิ์, วารุณี เพไร และวิวรรณา คล้ายคลึง | Rattanaporn Niwasanon, Naruemol Angsirisak, Warunee Parai & Wiwanna Klayklueng |
หลักสูตรที่สอน: Degree: |
พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science) |
สาขาที่สอน: Major: |
พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science |
สังกัดคณะวิชา: Faculty of study: |
พยาบาลศาสตร์ (Nursing) |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2567 (2024) |
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่: Published: |
รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์ประคบเต้านมสมุนไพร 3H (Herb Heat Health) ในมารดาหลังผ่าตัดคลอด | Research Report The Effectiveness and Maternal Satisfaction of the 3H (Herb Heat Health) Herbal Breast Compress Device in post-cesarean mothers |
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของอุปกรณ์ประคบเต้านมสมุนไพร 3H (Herb Heat Health) ในการลดภาวะคัดตึงเต้านม ส่งเสริมการไหลของน้ำนม ลดระยะเวลาในการให้การพยาบาล และประเมินความพึงพอใจของมารดาหลังผ่าตัดคลอดต่อการใช้อุปกรณ์ประคบเต้านมสมุนไพร 3H (Herb Heat Health) กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาหลังผ่าตัดคลอดที่หอผู้ป่วยสูตินารีเวชกรรม โรงพยาบาลสมุทรสาคร ตั้งแต่กุมภาพันธ์– ตุลาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 60 ราย โดยใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งกลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 30 รายได้แก่ กลุ่มทดลอง (ใช้อุปกรณ์ประคบเต้านมสมุนไพร 3H) และกลุ่มกลุ่มควบคุม (ได้รับการพยาบาลปกติในโรงพยาบาลสมุทรสาคร) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินระดับอาการคัดตึงเต้านม แบบวัดการไหลของน้ำนม แบบบันทึกระยะเวลาในการพยาบาล และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ t-test และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีระดับการไหลของน้ำนมเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (U = 30.0, p < 0.001) และใช้เวลาในการให้การพยาบาลเพื่อลดภาวะคัดตึงเต้านมน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 13.02, p < 0.05) อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับความปวดจากภาวะคัดตึงเต้านมระหว่างสองกลุ่ม (p = 1.00) นอกจากนี้ยังพบว่ามารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์ประคบเต้านมสมุนไพร 3H สูงสุดในด้านคุณสมบัติการใช้งานที่สะดวกและกลิ่นของสมุนไพรที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ดังนั้นหน่วยงานที่ดูแลมารดาหลังคลอดควรมีการอุปกรณ์ประคบเต้านมสมุนไพร 3H ไปช่วยนวดกระตุ้นเต้านมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดคัดตึงเต้านม ช่วยเพิ่มระดับการไหลน้ำนมและมารดามีความผ่อนคลายความวิตกกังวล
คำสำคัญ: ประคบเต้านม,เลี้ยงลูกด้วยนมแม่,ภาวะคัดตึงเต้านม, หลังผ่าตัดคลอด
Abstract
Abstract: This quasi-experimental study aimed to examine the effectiveness of the 3H (Herb Heat Health) breast compress innovation in reducing breast engorgement, promoting milk flow, decreasing nursing care time, and evaluating maternal satisfaction among post-cesarean mothers. The study was conducted from February to October 2024 at the Obstetrics and Gynecology Ward of Samut Sakhon Hospital, Thailand. Sixty post-cesarean mothers were purposively sampled and equally assigned to two groups: the experimental group (receiving the 3H breast compress) and the control group (receiving standard nursing care). Research instruments included a breast engorgement assessment scale, milk flow evaluation form, nursing care time record, and a maternal satisfaction questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, independent t-tests, and the Mann-Whitney U test.
The results demonstrated that the experimental group had a significantly higher mean rank of milk flow than the control group (U = 30.0, p < 0.001) and required significantly less nursing care time to alleviate breast engorgement (t = 13.02, p < 0.05). However, there was no statistically significant difference in pain scores related to breast engorgement between the two groups (p = 1.00). Additionally, the post-cesarean mothers reported high satisfaction with the 3H compress, particularly regarding its ease of use and the soothing herbal aroma that promoted relaxation. The findings suggest that integrating the 3H breast compress innovation into postpartum care can enhance breastfeeding outcomes, improve milk flow, reduce nursing workload, and provide psychological benefits by relieving maternal anxiety and promoting relaxation.
Keywords: Breast compress, Breastfeeding, Breast Engorgement, Herb Heat Health, Post-Cesarean
The Effectiveness and Maternal Satisfaction of the 3H (Herb Heat Health) Herbal Breast Compress Device in post-cesarean mothers. 2567 (2024). การศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์ประคบเต้านมสมุนไพร 3H (Herb Heat Health) ในมารดาหลังผ่าตัดคลอด. รายงานการวิจัย. Advisor: อาจารย์รัตนาภรณ์ คำทะเนตร – Miss Rattanaporn Khamthanet. วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science. พยาบาลศาสตร์ (Nursing). พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science. พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science). Bangkok: Siam University