การประเมินสมรรถนะทางกายภาพของตัวชี้วัดทางเคมีในกระบวนการทําให้ปราศจากเชื้อภายใต้การทํางานของระบบปั๊มสุญญากาศของเครื่องทําให้ปราศจากเชื้อด้วยแรงดันไอน้ำ

Last modified: October 6, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง: การประเมินสมรรถนะทางกายภาพของตัวชี้วัดทางเคมีในกระบวนการทําให้ปราศจากเชื้อภายใต้การทํางานของระบบปั๊มสุญญากาศของเครื่องทําให้ปราศจากเชื้อด้วยแรงดันไอน้ำ
Title: Evaluation of the Physical Performance of Chemical Indicators in the Sterilization Process under the Operation of the Pre-Vacuum Pump System of the Steam Sterilizer
ผู้วิจัย:
Researcher:
ทัศนีย์ นิมนภาโรจน์, วิทยา ชาญชัย, รุ่งตวัน สุทธิวิเชียรโชติ, สุพัฒน์ ศรีธัญญรัตน์, ชนิสรา จินดารัตน์, เกียรติก้องไกร บุญนํา, พรรณพรรดิ์ สุขสวัสดิ์ และทรงสิทธิ์ สีเสือ | Tussanee Nimnaparoj, Withaya Chanchai, Rungtawan Sutthichienchot, Supath Srithanyarat, Chanitsara Jindarat, Keatkongkrai Bunnum, Pannapat Suksawat and Songsit Srisu
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
วท.บ. (สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) – B.Sc. (Occupational Health and Safety)
สาขาที่สอน:
Major:
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย – Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
แพทยศาสตร์ ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ (Medicine, Department of Public Health Science)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2567 (2024)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ปีที่ 2 ฉบับที่ 4 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2567 หน้า 52-62 | Journal of Health Promotion and Environmental Health Research Vol. 2 No.4 September – December 2024 pp.52-62    Click    PDF

บทคัดย่อ

     คุณภาพและความปลอดภัยในการบริการทางการแพทย์เป็นหัวใจสําคัญในการรักษาพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาการประเมินสมรรถนะทางกายภาพของตัวชี้วัดทางเคมีในกระบวนการฆ่าเชื้อ ภายใต้การทํางานของระบบปั๊มสุญญากาศของเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยแรงดันไอน้ำในหน่วยงานจ่ายกลางที่ทําการตรวจสอบและดูแลคุณภาพเครื่องมือแพทย์ โดยทําการทดสอบกับเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อแรงดันไอน้ำในหน่วยจ่ายกลางของโรงพยาบาลจํานวน 6 แห่งในประเทศไทยโดยออกแบบให้แต่ละโรงพยาบาลเป็นตัวแทนในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยวิธีทําการทดสอบด้วยการใช้แผ่นทดสอบ Bowie-Dick Test (BDT) ยี่ห้อ CHAMBER รุ่น BDS122 ตามหลักการทดสอบแบบ Hallow load testจํานวน 360 ชิ้น ตรวจสอบการประเมินสมรรถนะทางกายภาพของตัวชี้วัดทางเคมีในกระบวนการทําให้ปราศจากเชื้อภายใต้การทํางานของระบบปั๊มสุญญากาศของเครื่องทําให้ปราศจากเชื้อด้วยแรงดันไอน้ำ จํานวน 9 เครื่องโดยแบ่งแผ่นทดสอบ 40 ชิ้นต่อ 1 เครื่อง หลังการทดลองพบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของตัวบ่งชี้ทางเคมีจากสีฟ้าเป็นสีดําเข้ม โดยสามาถแปรผลได้ว่าตัวบ่ชี้ทางเคมีที่ทําการทดสอบผ่านหมดทุกปัจจัยได้แก่แรงดัน เวลา และอุณหภูมิทั้งสิ้นร้อยละ 100 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการศึกษาดังกล่าวพบว่าเครื่องทําให้ปราศจากเชื้อด้วยแรงดันไอน้ำทุกแบรนด์ที่ทําการทดสอบ มีประสิทธิภาพในการกําจัดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ ตามการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน ISO 11140-4 รวมทั้งเป็นการยืนยันการออกแบบการตามมาตรฐาน ANSI/AAMI ST79 และ EN285 ตามหลักการทดสอบแบบ Hallow load test เพื่อเป็นหลักฐานว่าเครื่องฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำมีประสิทธิภาพอย่างมีนัยสําคัญและเพื่อการประกันคุณภาพและความปลอดภัยอาชีวอนามัยในโรงพยาบาล

คําสําคัญ: การประเมินสมรรถนะทางกายภาพ, ตัวชี้วัดทางเคมี, กระบวนการฆ่าเชื้อ, เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยแรงดันไอน้ำ


Abstract

     Quality and safety in medical services are crucial for healthcare. This study aims to evaluate the physical performance of chemical indicators in the sterilization process under pre-vacuum pump systems in steam sterilizers at central supply units that inspect and maintain medical equipment quality. The study involved testing steam sterilizers at six hospitals across Thailand, representing different regions of the country. The testing method utilized the Bowie-Dick Test (BDT) sheets, CHAMBER brand, model BDS122, following the Hallow load test principle, with 360 sheets tested. The performance of chemical indicators in the sterilization process was assessed under vacuum pump operation in nine steam sterilizers, with 40 test sheets per machine. Post-experiment, the physical change of chemical indicators from blue to dark black was observed. This result indicates that the chemical indicators met all parameters, including pressure, time, and temperature, with 100% compliance. Therefore, the study concludes that the tested steam sterilizers from all brands effectively eliminate microorganisms, as designed according to ISO 11140-4 standards. The study also confirms the design compliance with ANSI/AAMI ST79 and EN285 standards based on the Hallow load test principle. These findings prove the effectiveness of steam sterilizers, ensuring quality assurance and occupational safety in hospitals.

Keywords: evaluation of the physical performance, chemical Indicators, sterilization process, pre-vacuum pump


ดร.วิทยา ชาญชัย – Dr. Withaya Chanchai. 2567 (2024). Evaluation of the Physical Performance of Chemical Indicators in the Sterilization Process under the Operation of the Pre-Vacuum Pump System of the Steam Sterilizer.  บทความ (Paper). วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science. แพทยศาสตร์ ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ (Medicine, Department of Public Health Science). วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย – Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety. วท.บ. (สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) – B.Sc. (Occupational Health and Safety). Bangkok: Siam University

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 10
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles