ต้นแบบการพัฒนาเมืองแห่งอาหารการกินด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานคร

Last modified: November 26, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ต้นแบบการพัฒนาเมืองแห่งอาหารการกินด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานคร
A development prototype of a gastronomic city with a creative economy concept of Bangkok
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายบัญชา พจชมานะวงศ์
Mr. Buncha Potchamanawong
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ยุวัฒน์ วุฒิเมธี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณย์ รัตนสิทธิ์
Professor Dr.Yuwat Vuthimedhi, Assistant Professor Dr.Saran Ratanasithi
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง|Citation

บัญชา พจชมานะวงศ์. (2561). ต้นแบบการพัฒนาเมืองแห่งอาหารการกินด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Potchamanawong B. (2018). A development prototype of a gastronomic city with a creative economy concept of Bangkok. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Management, Siam University.


บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวการพัฒนาเมืองแห่งอาหารการกินด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาบริบทของกรุงเทพมหานครต่อการพัฒนาเมืองแห่งอาหารการกินด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาเมืองแห่งอาหารการกินด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเมืองแห่งอาหารการกินด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานคร

     งานวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อนำเสนอต้นแบบการพัฒนาเมืองแห่งอาหารการกินด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย แนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แนวคิดการสร้างคุณค่า นโยบายกรุงเทพมหานคร และแนวคิดพฤติกรรมผู้บริโภค ผู้วิจัยได้ออกสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการสนทนากลุ่มจำนวน 77 ท่าน ควบคู่การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

     ผลการศึกษาพบว่า ต้นแบบการพัฒนาเมืองแห่งอาหารการกินด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานครมี 8 คุณลักษณะ ดังนี้ 1) วัฒนธรรมอาหารการกิน 2) การทะนุบำรุงรักษาภาคการเกษตร 3) โครงสร้างพื้นฐานที่ขนาดเหมาะสม 4) ความร่วมมือในการวิจัย ฝึกอบรม การทดสอบ และอื่นๆที่เกี่ยวกับอาหาร 5) การให้การศึกษาและเพิ่มความตระหนักรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและโภชนาการให้แก่สังคม 6) การกำกับดูแลกิจการ, ภาวะผู้นำ และการสนับสนุน 7) การพัฒนาธุรกิจอาหารและเครือข่ายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง 8) การขยายตลาดสำหรับอาหารท้องถิ่น มุ่งที่เน้นผู้มาเยือนทุกกลุ่ม

คำสำคัญ: วัฒนธรรมอาหารการกิน, เมืองแห่งอาหารการกิน, เศรษฐกิจสร้างสรรค์


Abstract

The objectives of this study were 1) to study an approach to develop Bangkok as a gastronomic city with a creative economy concept 2) to study the context of Bangkok Metropolitan towards the development of a gastronomic city with a creative economy concept 3) to study the problems and barriers for development of a gastronomic city with a creative economy concept in Bangkok and 4) to provide recommendations for the development of Bangkok’s gastronomic city with creative economy concept.

This research employed a qualitative method in order to propose a prototype of Bangkok gastronomic city under the concept of a creative economy, including theories and concepts on creative economy, value creation concept, the public policy in Bangkok and consumer behavior concepts. The researcher had designed a semi-structure interview form for 77 key informants and focus group participants, as well as a participatory action research method.

Results of the study found the development of Bangkok’s gastronomic city with a creative economy concept includes the following characteristics: 1) gastronomy culture 2) farm life preservation 3) appropriate scale infrastructure 4) research collaborations training, testing, etc. reading to food 5) Education and awareness-raising of good hygiene & nutrition for society 6) governance, leadership and supportive initiations 7) food cluster development and business network and 8) market expansion for local food targeting for visitors.

Keywords: Gastronomic culture, Gastronomic city, Creative economy.


ต้นแบบการพัฒนาเมืองแห่งอาหารการกินด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานคร|A development prototype of a gastronomic city with a creative economy concept of Bangkok

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1273
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code