การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

Last modified: May 30, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
A synthesis model of academic administration of the Buddhist Scripture School, general education division
ชื่อนักศึกษา:
Author:
พระมหาธีรเพชร มาตพงษ์
Phramaha Teerapetch Matpong
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมหมาย จันทร์เรือง, รองศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. อำนวย เดชชัยศร
Assistant Professor Dr. Sommai Chanruang, Associate Professor Dr. Amnuay Dechchaisri
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา
Leadership and Innovation in Educational Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง/citation

พระมหาธีรเพชร มาตพงษ์. (2561). การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัยคร้ังนี้ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่ควรจะเป็น และ สังเคราะห์รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา โดยใช้แบบสอบถามสอบถามข้อมูลจากผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 15 คนและครู จำนวน 150 คน นำมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำรูปแบบที่ได้ไปประเมินโดย ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group)

ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่ ควรจะเป็น เป็นรู ปแบบทางการ ส่วนรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา พบว่า เป็นรูปแบบ การบริหารในลักษณะการผสมผสานระหว่างรูปแบบเป็นทางการและรูปแบบเพื่อนร่วมงาน โดย พบว่าองค์ประกอบ ด้านการวางแผนงานวิชาการ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมงานด้านวิชาการ ด้านการวัดผลและประเมินผล เป็นรูปแบบเป็นทางการ เพราะต้องเป็นไปตามกฏระเบียบของมหาเถร สมาคม ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการจัดสื่อการเรียนรู้ เป็นรูปแบบ เพื่อนร่วมงาน เนื่องเพราะในการบริหารนั้นจะต้องมีการขอความร่วมมือจากบุคคลและหน่วยงาน ภายนอก

ผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับรูปแบบการบริ หารงานวิชาการโรงเรี ยนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ปรากฏว่ามีความเหมาะสมและเป็นไปได้

คำสำคัญ: สังเคราะห์รูปแบบการบริหาร, โรงเรียนพระปริยัติธรรม


Abstract

The objectives of this research were to study the current models of the academic administration of the Buddhist Scripture School (General Education) and to synthesize for the possible model (s) for the academic administration of the Buddhist Scripture School (General Education). Data,which were collected from 15 school directors and 150 teachers through questionnaire , then they were analyzed by using arithmetic mean and standard deviation. The model was validated by experts through focus group technique.

The research findings showed that both the current and the possible models of the academic administration of the Buddhist Scripture School (General Education) were the formal model while the proposed model was the mixed model between the formal and the collegial models. Data showed that the academic planning component, the academic development promotion component, and measurement and evaluation component were formal model corresponded to the rule of the Sangha Supreme Council of Thailand. The curriculum administration component, the instructional management component, and the instructional medias and resources management component were the collegial model due to the fact they had to work cooperately with other people and organizations.

The model was validated by experts through focus group technique for the appropriateness and the possibility.

Keywords:  A Synthesis Model, Buddhist school.


การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา|A synthesis model of academic administration of the Buddhist Scripture School, general education division

Doctor of Philosophy in Leadership and Innovation in Educational Administration, Siam University, Thailand

Related Articles

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 633
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles