รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Last modified: May 2, 2024
You are here:
Estimated reading time: 3 min

Title: A causal relationship model of factors affecting good governance Administration of secondary school administrators under the office of the Basic Education Commission

ชื่อโครงการ: รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงาน ตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Author: Mr. Thanapol Kanhasing

ชื่อผู้วิจัย: นายธนพล กัณหสิงห์

Advisor: ผศ. ดร. พล.ร.ต.หญิง สุภัทรา เอื้อวงศ์ – Asst. Prof. R.Adm. Supathra Urwongse, Ph. D.

Degree: ปร.ด. ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Ph.D. in Leadership and Innovation in Educational Administration

Major: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Doctor of Philosophy Program in Leadership and Innovation in Educational Administration

Faculty: บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School)

Academic year: 2566 (2023)

Published: การประชุมวิชาการและเผยแพร่งานวิจัยคัดสรร สาขาวงิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 6 “ความท้าทายของการจัดการการศึกษาสมัยใหม่หลังวิกฤต COVID-19” สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระัเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (สสอท.)  คลิก  Journal of Roi Kaensarn Academi E – ISSN 2697-5033 (Online)  คลิก


บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 5) เพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลของปัจจัยส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 432 โรงเรียน โดยได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก (key Informant) คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติภาคบรรยายด้วยโปรแกรม SPSS for windows และ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม AMOS
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผลการศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีค่าเฉลี่ย 4.35 อยู่ในระดับมาก สามารถเรียงอันดับสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ หลักความโปร่งใส มีค่าเฉลี่ย 4.40 หลักนิติธรรม มีค่าเฉลี่ย 4.38 หลักการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ย 4.37 หลักการกระจายอำนาจ มีค่าเฉลี่ย 4.36 หลักประสิทธิผล มีค่าเฉลี่ย 4.35 หลักภาระรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ย 4.34 หลักประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ย 4.33 หลักการตอบสนอง มีค่าเฉลี่ย 4.32 หลักมุ่งเน้นฉันทามติ มีค่าเฉลี่ย 4.31 และหลักความเสมอภาค มีค่าเฉลี่ย 4.30 ตามลำดับ
2.ปัจจัยที่ส่งต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล มีจำนวน 7 ปัจจัย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงอันดับสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ปัจจัยระบบการบริหาร มีค่าเฉลี่ย 4.37 ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร และปัจจัยบุคลากร มีค่าเฉลี่ย 4.36 ปัจจัยทักษะการบริหาร มีค่าเฉลี่ย 4.35 ปัจจัยกลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ย 4.34 ปัจจัยภาวะผู้นำ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.33 และปัจจัยโครงสร้างองค์กร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27
3.รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมา ภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ปัจจัยระบบการบริหาร ปัจจัยบุคลากร ปัจจัยภาวะผู้นำ ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยโครงสร้างองค์กร ปัจจัยทักษะการบริหาร และปัจจัยกลยุทธ์
4.รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมา ภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมี ค่า Chi – Square เท่ากับ 343.204 ค่า df เท่ากับ 329.0 ค่า Sig. เท่ากับ 0.284 ค่า CMIN/df. เท่ากับ 1.043 ค่า CFI เท่ากับ 1.000 ค่า GFI เท่ากับ 0.978 ค่า AGFI เท่ากับ 0.956 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.007 ค่า RMR เท่ากับ 0.004 ค่า NFI เท่ากับ 0.994 ค่า IFI เท่ากับ 1.000
5.ปัจจัยระบบการบริหารมีอิทธิพลสูงสุดมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวมเท่ากับ 0.36 รองลงมา คือ ปัจจัยภาวะผู้นำมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวม เท่ากับ 0.35 และปัจจัยบุคลากรมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลรวม 0.30 ซึ่งทั้งสามปัจจัยส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลโดยมีอิทธิพลเปลี่ยนแปลงได้ร้อยละ 93.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Keywords: ธรรมาภิบาล, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล, ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา


Abstract

The purposes of this study were to 1) to study the Administration according to good governance principles of secondary school administrators under the Office of the Basic Education Commission; 2) to study the good governance Administration of secondary school administrators under the office of the Basic Education Commission; 3) to develop a causal relationship model of factors affecting good governance Administration of secondary school administrators under the office of the Basic Education Commission; 4) to verify the consistency of the Causal relationship model of factors affecting good governance Administration of secondary school administrators under the office of the Basic Education Commission with empirical data; and 5) to study the magnitude of the influence of factors affecting the good governance and Administration of secondary school administrators under the office of the Basic Education Commission. The sample group consisted of 432 secondary schools under the Office of the Basic Education Commission in the academic year 2023, obtained through stratified random sampling. The key informants were school directors, deputy school directors, heads of learning subject groups, and teachers. Data analysis was performed using descriptive statistics with SPSS for Windows, and confirmatory factor analysis and verification of the consistency between the hypothetical model and the empirical data were conducted using the AMOS program.
The research findings were as follows:
1. The results of the study of good governance Administration of secondary school administrators under the office of the Basic Education Commission found that the average was 4.35, which was at a high level. Can be arranged from highest to lowest: principles of transparency (x̅=4.40), rule of law (x̅=4.38), participation (x̅=4.37), decentralization (x̅=4.36), effectiveness (x̅=4.35) responsibility (x̅=4.34), efficiency (x̅=4.33), responsiveness (x̅=4.32) consensus (x̅=4.31) and equality (x̅=4.30), respectively.
2. There are 7 factors that contribute to good governance Administration, with the overall average being at a high level. Can be arranged from highest to lowest: management system (x̅=4.37), organizational culture and staff (x̅=4.36), management skills (x̅=4.35), strategy (x̅=4.34), leadership (x̅=4.33), and organizational structure (x̅=4.27), respectively.
3. The causal relationship model of factors affecting good governance Administration of secondary school administrators under the office of the Basic Education Commission consisting of management system factor, organizational culture factor, staff factor, management skills factor, strategy factors, leadership factor, and organizational structure factor.
4. The causal relationship model of factors affecting good governance Administration of secondary school administrators under the office of the Basic Education Commission is consistent with the empirical data, with a Chi – Square value equal to 343.204, a df value equal to 329.0, a Sig. value equal to 0.284, a CMIN/df. value equal to 1.043, a CFI value equal to 1.000, a GFI value equal to 0.978, an AGFI value equal to 0.956 RMSEA value equal to 0.007 RMR value equal to 0.004 NFI value equal to 0.994 IFI value equal to 1.000
5. The management system factor has the highest influence with a total coefficient of influence of 0.36, followed by the leadership factor with a total coefficient of influence of 0.35 and staff factor with a total coefficient of influence of 0.30. All three factors affect management accordingly. Principles of good governance with influence on change were 93.0%, with statistical significance at the 0.05 level.

Keywords: Good governance, Factors affecting good governance Administration, Secondary school administrators


A causal relationship model of factors affecting good governance Administration of secondary school administrators under the office of the Basic Education Commission | รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงาน ตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

6219000009 นายธนพล กัณหสิงห์ Mr.Thanapol Kanhasing 2566 (2023) A causal relationship model of factors affecting good governance Administration of secondary school administrators under the office of the Basic Education Commission วิทยานิพนธ์ (Thesis), Advisor: ผศ. ดร. พล.ร.ต.หญิง สุภัทรา เอื้อวงศ์ – Asst. Prof. R.Adm. Supathra Urwongse, Ph. D., ปริญญาเอก (Doctorate Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Doctor of Philosophy Program in Leadership and Innovation in Educational Administration, ปร.ด. นวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Ph.D. in Educational Administration Innovation, Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, Graduate School 2023, IMBA, IMBA 2023, Independent Study, Independent Study 2023, Master of Business Administration, Master of Business Administration (International Program) 2023, Master of Business Administration 2023, ปริญญาเอก (Doctorate Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Doctor of Philosophy Program in Leadership and Innovation in Educational Administration,ปร.ด. นวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Ph.D. in Educational Administration Innovation

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 141
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles