การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเอง: กรณีศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Last modified: July 1, 2025
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเอง: กรณีศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Title: Curriculum Development for Promoting Autonomous Learning:A Case Study of the Doctor of Philosophy Program in Curriculum and Instruction,Faculty of Education, Naresuan University
ผู้วิจัย:
Researcher:
อารีรัตน์ ปฐมชัยวาลย์, ศิรวิทย์ ปฐมชัยวาลย์, ทศพร เพ่งดี, ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน และมาเรียม นิลพันธุ์ | Areerat Pathomchaiwal, Sirawit Pathomchaiwal, Todsaporn Pengdee, Chanasith Sithsungnoen and Maream Nillapun
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
วศ.บ. (วิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน) – B. Eng. (Civil Environment and Sustainable Engineering)
สาขาที่สอน:
Major:
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน – Bachelor of Engineering Program in Civil Environment and Sustainable Engineering
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2567 (2024)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีที่ 20ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2568 หน้า 88-98 | Journal of Yala Rajabhat University Vol. 20 No.1 January-April 2025, pp.88-98  Click    PDF

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเอง:กรณีศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้สอนและผู้เรียนที่มีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว จํานวน 7 คน คณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์กี่งมีโครงสร้างที่ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่ามีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเหมาะสม ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดกลุ่มและบรรยายประกอบผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสังเคราะห์กระบวนการพัฒนาหลักสูตรของนักพัฒนาหลักสูตรพบว่า มี 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การกําหนดเป้าหมาย การวางแผนและการจัดทําหลักสูตรการนําหลักสูตรไปใช้ และการกํากับติดตามและประเมินผลหลักสูตร 2) ผลการศึกษาการพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรพบว่าหลักสูตรได้รับการพัฒนาที่สอดคล้องกับเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนเวอร์ชันที่ 4 ซึ่งมีทั้งหมด8 เกณฑ์เป็นอย่างดี ได้แก่ 1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง 2) โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร 3) แนวทางการจัดการเรียนการสอน 4) การประเมินผู้เรียน 5) บุคลากรสายวิชาการ 6) การบริการและการสนับสนุนผู้เรียน 7) สิ่งอํานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน และ 8) ผลผลิตและผลลัพธ์แต่เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์เอกสารหลักสูตร และการประเมินตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนจะใช้การประเมินตามสภาพจริงโดยการตรวสอบจากร่องรอยหลักฐานการดําเนินการแต่ละประเด็น ดังนั้นหลักสูตรควรเตรียมการประเมินตามระบบดังกล่าวโดยการเตรียมเอกสารหลักฐานที่เป็นร่องรอยของการดําเนินการไว้ให้ครบถ้วน

คำสำคัญ: การออกแบบหลักสูตรแบบย้อนกลับ, การประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน, การเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเอง


Abstract

     This research aimed to study Curriculum Development for Promoting Autonomous Learning:A Case Study of the Doctor of Philosophy Program in Curriculum and Instruction,Faculty of Education, Naresuan University. The main informants were 7 instructors and learners who had knowledge and understanding and participated in the development of the curriculum. The research team collected data using a document analysis form and a semi-structured interview form, which experts considered to have appropriate content validity. The accuracy of the collected data was verified using triangulation techniques, and the data were subsequently analyzed through content analysis, grouping, and description. The research results found that 1) The results of the synthesis of the curriculum development process of the curriculum developers found that there were 4 main steps: goal setting, curriculum planning and development, curriculum implementation, and curriculum monitoring and evaluation. 2) The results of the study of the curriculum development for the Doctor of Philosophy Program in Curriculum and Instruction, it wasfound that the curriculum had been developed in accordance with the ASEAN University Network Quality Assurance(AUN-QA) Version 4criteria, which consists of 8criteria: 1) Expected learning outcomes, 2) Programme structure and content, 3) Teaching and learning Approach, 4) Student assessment, 5) Academic staff, 6) Studentsupport services, 7) Facilities and infrastructure, and 8) Output and outcomes. However, since most of the data were obtained from interviews and analysis of curriculum documents, and the assessment according to the ASEAN University Network Quality Assurance Criteria used real-world assessment through the examination of evidence for each issue, the curriculum should prepare for such an assessment according to the system through preparing complete evidence of implementation.

Keywords: Backwardcurriculum design, ASEAN university network quality assurance, Autonomous learning


ผศ. ดร.อารีรัตน์ ปฐมชัยวาลย์ – Asst. Prof. Dr. Areerat Pathomchaiwal. 2567 (2024). Curriculum Development for Promoting Autonomous Learning: A Case Study of the Doctor of Philosophy Program in Curriculum and Instruction,Faculty of Education, Naresuan University. บทความ (Paper). วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี|Science and Technology. วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering). วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน – Bachelor of Engineering Program in Civil Environment and Sustainable Engineering. วศ.บ. (วิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน) – B. Eng. (Civil Environment and Sustainable Engineering). Bangkok: Siam University

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 12
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code