- KB Home
- กลุ่มสาขาวิชา สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์|Social Sciences and Humanities Group
- น้ำหมักชีวภาพจากของเหลือเพื่อทำความสะอาด กำจัดและย่อยสลาย
ชื่อโครงงาน: Project Title: |
น้ำหมักชีวภาพจากของเหลือเพื่อทำความสะอาด กำจัดและย่อยสลาย Enzyme Lonic Plasma (Effective Microorganisms) |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายรุ่งโรจน์ ยุทธชัยสันติ, นายวัชรพล กลีบบัว, นายอภิชัย ก้องวิริยะกุล Mr. Roongrote Yutthachaisanti, Mr. Watcharapol Kleebua, Mr. Apichai Kongwiriyakun |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์สุนทร สอนกิจดี Mr. Suntorn Sonkitdee |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) Bachelor of Arts (Liberal Arts) |
ภาควิชา: Major: |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ Tourism and Hospitality Industry |
คณะ: Faculty: |
ศิลปศาสตร์ Liberal Arts |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
2/2560 2/2017 |
การอ้างอิง|Citation
รุ่งโรจน์ ยุทธชัยสันติ, วัชรพล กลีบบัว และ อภิชัย ก้องวิริยะกุล. (2560). น้ำหมักชีวภาพจากของเหลือเพื่อทำความสะอาด กำจัดและย่อยสลาย. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
Yutthachaisanti R., Kleebua W. & Kongwiriyakun A. (2017). Enzyme lonic plasma (Effective Microorganisms). (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Liberal Arts, Siam University.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อนำผลไม้เหลือทิ้งภายในโรงแรมมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพเพื่อย่อยสลายกำจัดและทำความสะอาดเพื่อนำผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพมาใช้ภายในโรงแรมเพื่อย่อยสลายกำจัดและทำความสะอาดในแผนกต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากผลไม้เหลือทิ้งจากการทำแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้น้ำหมักชีวภาพ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ โดยใช้ความน่าจะเป็นโดยแบ่งออกเป็นพนักงานในโรงแรมในต่างละแผนก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุตั้งแต่ 18-30 ปีส่วนใหญ่ไม่เคยใช้น้ำหมักชีวภาพ ชอบใช้ประเภทน้ำหมักชีวภาพชนิดทำความสะอาด และเลือกใช้ประเภทแบบประหยัดต้นทุนแทนการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูง จำนวนครั้งเคยใช้น้ำหมักชีวภาพ 5-6 ครั้ง นอกจากนี้พนักงานส่วนใหญ่ให้ความพึงพอใจในเรื่องของการย่อยสลายคราบไขมัน อ่างน้ำทิ้งไหลเร็วขึ้น และเป็นปุ๋ยบำรุงพืช ได้ผลผลิตดีขึ้น และไร้สารเคมีตกค้างในการทำความสะอาด
คำสำคัญ: นํ้าหมักชีวภาพ, ทำความสะอาด, กำจัด, ย่อยสลาย
Abstract
The objective of this research was to change fruit waste from the hotel into Enzyme Ionic Plasma for disposal and cleaning purposes. The products will be used to dispose and clean several departments in the hotel to maximize utilization of fruit waste. The satisfaction survey towards the Enzyme Ionic Plasma was conducted among 30 participants. A probability sampling method was used whereby the employees were classified according to departments. Research instrument was the questionnaire survey. Descriptive statistics were used to analyze the data, including frequency distribution, percentage, mean, and standard deviation. The findings revealed that majority of employees were male at the age between 18-30 years old. Most of them had never used the Enzyme Ionic Plasma before. It was found that they preferred using Enzyme Ionic Plasma for cleaning and cost saving benefit instead of using fertilizer that has higher price. They had used the Enzyme Ionic Plasma for 5-6 times. In addition, majority of the employees were also satisfied with other benefits of the Enzyme Ionic Plasma, including the ability to degrade fats, water in the sink drain faster, the ability to be used as plant fertilizer, and no chemical residue is left when the cleaning process is done.
Keywords: Enzyme Ionic Plasma, Cleaning, Disposal, Degradation.
น้ำหมักชีวภาพจากของเหลือเพื่อทำความสะอาด กำจัดและย่อยสลาย|Enzyme Lonic Plasma (Effective Microorganisms)
Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand