การจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนชนบทไทย

Last modified: November 25, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนชนบทไทย
Management of Conflict on Environment in Rural Thai Communities
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวศุภวรรณ ภิรมย์ทอง
Miss Suppawn Phiromthong
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี, ศาสตราจารย์ ดร.ติน ปรัชญพฤทธิ์
Prof. Dr. Yuwat Vuthimedhi, Prof. Dr. Tin Prachyapruit
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2555
2012

การอ้างอิง/citation

ศุภวรรณ ภิรมย์ทอง. (2555). การจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนชนบทไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Phiromthong D. (2017). Quality management approach toward high performance nursing organization: A case study of Siriraj Hospital. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Management, Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้ลฆในชุมชนชนบทไทยในครั้งนี้ ศึกษา 3 กรณีได้แก่ (1) ความขัดแย้งจากโครงการก่อสรัางโรงไฟฟ้าสงขลา จังหวัดสงขลา(2)ความขัดแย้งจาก โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อย จังหวัดสมุทรสงคราม และ (3) ความขัดแล้งจากโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติไทย-ยาดานา (สหภาพพม่า) จังหวัดกาญจนบุรี ทั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เน้นหลักในการศึกษาโดยการทอดแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,124 คน และนำการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มาเสริมด้วยการสัมภาษณ์ เจาะลึก (In-Depth Interview) จากผู้นำชุมชน ประชาชนในชุมชน หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน และ เจ้าของโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความขัดแย้งในชุมชน จำนวน 24 ท่าน

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการจัดการความขัดแย้งได้แก่ (1) ความทันสมัย ของชุมชน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากัน .897 (2) ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชุมชน-เอกชน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .804 (3)ภาวะผู้นำชุมชน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .741 (4) การสื่อสารในชุมชน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .550 (5) การมีส่วนร่วมของประชาชน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .341 (6) การรวมกลุ่มในชุมชน มีคำสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .318 ส่วนระดับความสำเร็จของการจัดการความขัดแย้งในภาพรวมทั้ง 3 กรณี พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้มีแนวทางสำคัญที่ใช้ในการจัดการความขัดแย้งคือ มีความสงบสุขของประชาชนเป็นเป้าหมาย หลัก มีความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นฐาน และมีแนวทางสันติวิธีเป็นหลักในการจัดการ


Abstract

The research on Management of Environmental Conflict in Rural Thai Community in three cases of this study were (1) the conflicts of Songkhla Power Plant Construction Project (2) the conflicts of tourism development projects for a fireflies outing in Samutsongkhram Province and (3) the conflicts of natural gas piping project “Thailand-Yadana (Myanmar)” in Kanchanaburi Province. The research format is a combination of quantitative research as a basis for study by Fried query sample and the 1,124 and qualitative research by the addition of depth interviews from community leaders, people in the community, government agencies and project owners related to conflict management in the community of 24 persons.

The results showed that the factors affecting the effectiveness of conflict management in Rural Thai Community include: (1) modernization of the community (with a correlation coefficient of .897), (2) economic interests of the community and the private sector (with a correlation coefficient of .804), (3) community leadership (with a correlation coefficient of .741), (4) communication in the community (with a correlation coefficient of .550), (5) participation of the people (with a correlation coefficient of 341), (6) integration in the community (with a correlation coefficient of 318). The level success of conflict manageinent was found to moderate. The guideline used in conflict management is the peace of the people as the main target with the cooperation of all parties concerned as the base and principles of management as a peaceful way.


การจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนชนบทไทย|Management of Conflict on Environment in Rural Thai Communities

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1246
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print