การบริหารจัดการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย

Last modified: June 15, 2023
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การบริหารจัดการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย
Management of Environmental Friendly Hotel in Southwestern Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายทศพร กาญจนภมรพัฒน์
Mr.Todsaporn Kanchanapamornpat
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รศ.ดร.สัญญา สัญญาวิวัฒน์, รศ.ดร.บงกช ฤทธิชัยนุวัฒน์ งามสม
Assoc.Prof.Dr.Sunya Sunyavivat, Assoc.Prof.Dr.Bongkosh Rittichainuwat Ngamsom
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019

การอ้างอิง/citation

ทศพร กาญจนภมรพัฒน์. (2562). การบริหารจัดการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการองค์การสีเขียวของโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาถึงลักษณะการตลาดสีเขียวของโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ของประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาถึงการมีส่วนร่วมทางสังคมกับชุมชนท้องถิ่นของโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ของประเทศไทยโดยใช้วิธีกรณีศึกษา (Case Study) สถานประกอบการโรงแรมที่ได้รับคำรับรองการจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) การวิจัยครั้งนี้ได้จัดแบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญออกเป็นสองกลุ่มโดยกลุ่มแรกใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ศึกษาในมิติด้านการจัดการองค์การสีเขียวและมิติด้านการตลาดสีเขียวและกลุ่มที่สองใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ศึกษาในมิติการมีส่วนร่วมทางสังคมกับชุมชนท้องถิ่น

ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบของการบริหารจัดการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทยประกอบไปด้วยทั้งหมดสามปัจจัยคือ มิติการจัดการองค์การสีเขียว ได้แก่“ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์” ผู้บริหารประพฤติตัวเป็นแบบอย่าง ที่ดี ทำให้พนักงานเกิดความภาคภูมิใจและเกิดแรงจูงใจต่อการทำงานในองค์กรต่อมาคือมิติด้านการตลาดสีเขียว ได้แก่ “ระดับราคาที่พักที่มีความคุ้มค่าและเหมาะสม” โดยโรงแรมสามารถควบคุมต้นทุนด้านการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวพิจารณาเลือกใช้ซัพพลายเออร์และวัตถุดิบในท้องถิ่นที่ช่วยลดต้นทุนด้านการดำเนินงานของโรงแรมให้ต่ำลงอันจะส่งผลต่อราคาสินค้าหรือบริการของโรงแรมทำให้ขยายฐานหรือกลุ่มของลูกค้าได้กว้างขึ้นนำไปสู่ความสามารถในการทำกำไรและการกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่นและสุดท้ายคือ มิติการมีส่วนร่วมทางสังคมอันได้แก่การเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมและรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ อันเกิดจากการดำเนินงานของโรงแรมและมีผลกระทบมาถึงความเป็นอยู่ของประชาชนและสิ่งแวดล้อมข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยคือควรมีการจัดการศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์และส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่นทำให้ภาคชุมชนท้องถิ่นมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจท้องถิ่นมีทั้งความเจริญเติบโตและความยั่งยืน

คำสำคัญ: โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, ภาคใต้ฝั่งตะวันตก, องค์การสีเขียว, การจัดการองค์การ


Abstract

The objectives of this qualitative research were: 1) to study green organization management of an environmental friendly hotel in Southwestern Thailand; 2) to study green marketing characteristics of an environmental friendly hotel in Southwestern Thailand; 3) to study social activities and participation with local communities of an environmental friendly hotel in Southwestern Thailand. This research used a case study of a certified environmentally friendly management hotel in the west coast of the Southern part of Thailand. All qualitative data were analyzed by the content analysis method. The key informants in this research were divided into two major groups. The first group was selected for an in-depth interview technique for studying the dimension of green organization management and green marketing. For the second group, a focus-group technique was used for studying the dimension of social participation with local communities.

Research findings revealed that the pattern of management of the environmental friendly hotel in the West coast of the Southern Thailand involved three factors included green organization management dimension of “Transformational Leadership as Idealized Influencer” with role model behavior leading to organizational pride and work motivation of the staff. Next, the green marketing dimension of “worthy and suitable price”, in which the cost was controlled by green procurement for choosing the right suppliers and local materials, would help reduce the hotel’s operation cost. The product and service price would widen a variety of customer segments, leading to profitability and local community income distribution. Finally, a social participation dimension that enabled the locals to participate and share responsibility related to hotel’s business operations would have impact on people and environment. The recommendation from the result of the study was to conduct a cultural study that would promote and support local business so that the local community could acquire better income and quality of life resulting in both growth and sustainability of the local economy.

Keywords: environmentally friendly hotel, Southwestern Thailand, green organization, organization management.


Management of Environmental Friendly Hotel in Southwestern Thailand

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 19
Views: 793
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print