แพลนต์เบส ชาชู มาซาลา

Estimated reading time: 1 min
ชื่อโครงงาน:
Project Title:
แพลนต์เบส ชาชู มาซาลา
Plant-Based Chashu Masala
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวรุ่งทิวา ปันทะวงศ์
Miss Rungthiwa Panthawong
นางสาวแพรวตา เหมศาสตร์
Miss Praewta Hemsat
นางสาวจิราวรรณ เจี่ยสมบุญ
Miss Jirawan Jiasombun
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
อาจารย์ นันทวัชร ซื่อตรง
Mr. Nanthawat Suetrong
ระดับการศึกษา:
Degree:
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
Bachelor of Arts (Liberal Arts)
ภาควิชา:
Major:
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
Tourism and Hospitality Industry
คณะ:
Faculty:
ศิลปศาสตร์
Liberal Arts
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา:
Semester / Academic year:
3/2565
3/2022

การอ้างอิง|Citation

รุ่งทิวา ปันทะวงศ์, แพรวตา เหมศาสตร์ และ จิราวรรณ เจี่ยสมบุญ. (2565). แพลนต์เบส ชาชู มาซาลา. (สหกิจศึกษา). คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Panthawong R., Hemsat P., & Jiasombun J. (2022). Plant-Based chashu masala. (Cooperative Education). Faculty of Liberal Arts, Siam University.


บทคัดย่อ

     โครงงานแพลนต์เบส ชาชู มาซาลา มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อตอบสนองนโยบายการลดปริมาณเศษอาหารเหลือในแผนกปฎิบัติการ 2) ต้องการช่วยรักษาความสะอาดในแผนกปฎิบัติการโดยการลดปริมาณเศษอาหารเหลือทิ้ง 3) ต้องการนำมะม่วงเหลือทิ้งให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4) ต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านอาหารเพื่อตอบสนองกระแสมังสวิรัติยืดหยุ่น 5) ต้องการสร้างสรรค์นวัตกรรมอาหาร เพื่อตอบสนองกระแสอาหารแห่งอนาคตและช่วยอนุรักษ์โลกควบคู่ไปกับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ โดยจากการปฏิบัติสหกิจศึกษา ณ โรงแรมเจดับบลิวแมริออท กรุงเทพฯ คณะนักศึกษาสหกิจศึกษาได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของมะม่วงเหลือทิ้งจำนวนมาก ตั้งแต่เนื้อไปจนถึงเปลือกและเมล็ด เพื่อสนองนโยบายของสถานประกอบการ จึงมีความคิดที่จะนำมะม่วงเหลือทิ้ง มาสร้างสรรค์ให้เป็นนวัตกรรมแปรรูปเพื่อตอบสนองกระแสมังสวิรัติยืดหยุ่น ซึ่งเป็นความนิยมการลดบริโภคเนื้อสัตว์ที่นิยมอยู่ทั่วโลก ณ ปัจจุบัน

จากผลการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในโรงแรมเจดับบลิวแมริออท กรุงเทพฯ ซึ่งพบว่าผลิตภัณฑ์แพลนต์เบส ชาชู มาซาลา สามารถปัญหาลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งในแผนกปฎิบัติการลงได้จริงตามนโยบายของทางโรงแรม โดยมะม่วงเหลือถูกนำไปแปรรูปเป็นแพลนต์เบส ชาชู มาซาลา และผลิตภัณฑ์ไซรัปมะม่วงที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้จริง สามารถตอบสนองกระแสมังสวิรัติยืดหยุ่น และกระแสอาหารแห่งอนาคต เพื่อช่วยในการอนุรักษ์โลกควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่ดีได้จริง โดยมีค่าเฉลี่ยรวมของผลิตภัณฑ์แพลนต์เบส ชาชู มาซาลาอยู่ที่ 4.97 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.19 ซึ่งมี ซึ่งมีค่าความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และผลิตภัณฑ์ไซรัปมะม่วงมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.53 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.12 ซึ่งมีค่าความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: แพลนต์เบส, ชาชู, มาซาลา


Abstract

The Plant-Based Chashu Masala project aimed: 1) To reduce food waste for the department policy of JW Marriott Hotel Bangkok; 2) To help maintain cleanliness in the operations department by reducing the amount of food waste; 3) To use remaining raw materials for maximum benefit and increase income from leftovers; 4) To create food innovations aimed at the Flexitarian Diet trend; 5) To create food innovations for future food innovation, to be a part in helping to conserve the world through nutritious food. The cooperative education practice was in the Bakery Kitchen of JW Hot – Cold kitchen and Spa & Health Club at JW Marriott Hotel Bangkok. The group of students were able to see the benefits from leftover fruits and vegetables, unripe mangoes, mango peels, and seeds, and how they can be processed into plants-based and syrup.

From the employee opinions survey of 30 people, the result showed that the plant-based chashu masala product can actually reduce the amount of food waste in the operations department, according to the hotel’s policy. Mango is processed into food innovations, plant-based and mango syrup that can actually create additional value and aim at the vegetarian trend flexibly for the future and actually be a part of helping to conserve the world through good eating. The overall mean of the plant-base chashu masala product was 4.97 and the standard deviation was 0.19, which has the highest opinion value. The mango syrup product had a total mean of 4.53 and a standard deviation of 0.12, which had a high level of opinion.

Keywords:  Plant-Based, Chashu, Masala.


แพลนต์เบส ชาชู มาซาลา | Plant-Based Chashu Masala

Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 53
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print