ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์โรงพยาบาลสิชลจังหวัดนครศรีธรรมราช

Last modified: October 6, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์โรงพยาบาลสิชลจังหวัดนครศรีธรรมราช
Title: Risk Factors Associated with Preterm Labor among Pregnant Women at Sichon Hospital in Nakhon Si Thamarat Province
ผู้วิจัย:
Researcher:
ดร.วิทยา ชาญชัย – Dr. Withaya Chanchai
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
วท.บ. (สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) – B.Sc. (Occupational Health and Safety)
สาขาที่สอน:
Major:
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย – Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
แพทยศาสตร์ ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ (Medicine, Department of Public Health Science)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2567 (2024)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
NU Journal of Nursing and Health Sciences Vol. 18 No. 2 (2024) pp.1-13    Click   PDF

บทคัดย่อ

          อัตราทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมที่เกิดจากการคลอดก่อนกำหนดของโรงพยาบาลสิชลจังหวัดนครศรีธรรมราชในปี พ.ศ.2563 – พ.ศ.2565 พบมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดโรงพยาบาลสิชลจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ย้อนหลังแบบมีกลุ่มควบคุม (Retrospective case-control study) จากเวชระเบียนและทะเบียนคลอด ในช่วงเวลา 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2565 จำนวน 3,063 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง จำนวน 381 รายโดยแบ่งออกเป็นสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดจำนวน 127 รายและสตรีตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ครบกำหนดจำนวน 254 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดข้อมูลทางคลินิกของสตรีตั้งครรภ์วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่จำนวนร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะคลอดก่อนกำหนดด้วยวิธี Univariable และ Multivariable Logistic Regression กำหนดนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05 พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำนายการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ฝากครรภ์คุณภาพ (OR=3.170, 95%CI=1.647-9.865) มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด (OR=7.571, 95%CI=4.654-33.657) และมีประวัติการแท้ง (OR=15.53, 95%CI=11.68-34.671) การศึกษานี้พบว่าการฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ฝากครรภ์คุณภาพมีประวัติการคลอดก่อนกำหนดและมีประวัติการแท้งเป็นปัจจัยเสี่ยงการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเชิงรุกการเฝ้าระวังและติดตามการฝากครรภ์ให้ครบตามเกณฑ์ฝากครรภ์คุณภาพของสตรีตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะช่วยลดอัตราการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลสิชลได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

คำสำคัญ: คลอดก่อนกำหนด,สตรีตั้งครรภ์, ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะคลอดก่อนกำหนด


Abstract

Rateof infants weighing less than 2,500 grams resulting from premature birth at Sichon Hospital. Nakhon Si Thammarat Province in 2020 -2022 increases respectively. In this study, the researcher was interested in studying risk factors for premature birth among pregnant women who had preterm birth at Sichon Hospital. Nakhon Si Thammarat Province. This was a retrospective analytical study with a controlled group.This research was aretrospective case-control study from the medical record and birth registries from October 2019 to September 2022. This research was a retrospective case-control study from the medical record and birth registries from October 2019 to September 2022. The population were 3,063 people and the samples were 381 people who were selected by purposive sampling. One hundred twenty-seven pregnant women had preterm birth, and 254 pregnant women were at full term. The research tools included therisk factor recordformsfor preterm birth. Clinical data of pregnant women were analyzed byusing descriptive statistics, including, percentage, mean, and standard deviation. Risk factors for preterm birth were analyzed using Univariable and Multivariable Logistic Regression methods. Statistical significance was determined at p-value < 0.05. The results revealedthat risk factors significantly predicted preterm birth included insufficient prenatal care according to quality prenatal care criteria (OR=3.170, 95%CI=1.647-9.865) and having a history of preterm birth (OR=7.571, 95). %CI=4.654-33.657) and thehistory of miscarriage (OR=15.53, 95%CI=11.68-34.671). This study found that antenatal care that did not meet the criteria for quality antenatal care, having a history of premature birth and having a history of miscarriage were therisk factors associated withpremature birth. Therefore, compatible withthe efficiency of screening risk groupsshould be proactively performed. Surveillance and monitoring of prenatal care compatible with quality prenatal care criteria for pregnant women with these risk factors will effectively reduce the rate of preterm birth at Sichon Hospital in the future

Keywords: Preterm labor, Pregnant women, Risk factor for preterm labor


ดร.วิทยา ชาญชัย – Dr. Withaya Chanchai. 2567 (2024). Risk Factors Associated with Preterm Labor among Pregnant Women at Sichon Hospital in Nakhon Si Thamarat Province. บทความ (Paper). วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science. แพทยศาสตร์ ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ (Medicine, Department of Public Health Science). วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย – Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety. วท.บ. (สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) – B.Sc. (Occupational Health and Safety). Bangkok: Siam University

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 40
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles