รูปแบบกลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์สินค้าของที่ระลึกจากการท่องเที่ยวไทยของนักท่องเที่ยวตลาดแนวชายแดน กัมพูชา-ลาว-เมียนมา-เวียดนาม

Last modified: November 24, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
รูปแบบกลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์สินค้าของที่ระลึกจากการท่องเที่ยวไทยของนักท่องเที่ยวตลาดแนวชายแดน กัมพูชา-ลาว-เมียนมา-เวียดนาม
Thailand’s creative marketing strategy model for souvenirs based on the perception of border country tourists from Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวปัฐมาภรณ์ พงษ์ไพบูลย์
Miss Patamaporn Pongpaibool
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญ ลักษิตามาศ
Assistant Professor Dr.Prin Laksitamas
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.)
Doctor of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การตลาด
Marketing
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง|Citation

ปัฐมาภรณ์ พงษ์ไพบูลย์. (2561). รูปแบบกลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์สินค้าของที่ระลึกจากการท่องเที่ยวไทยของนักท่องเที่ยวตลาดแนวชายแดน กัมพูชา-ลาว-เมียนมา-เวียดนาม. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Pongpaibool P. (2018). Thailand’s creative marketing strategy model for souvenirs based on the perception of border country tourists from Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam. (Doctoral dissertation). Bangkok: Graduate Schools Siam University.


บทคัดย่อ

                ปัจจุบันสินค้าของที่ระลึกมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของประสบการณ์การเดินทางของการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมักเดินทางกลับบ้านพร้อมสินค้าของที่ระลึก เพื่อระลึกถึงประสบการณ์ในการท่องเที่ยวในแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวต่างสัญชาติและต่างเชื้อชาติ มีพฤติกรรมที่ในการเลือกซื้อสินค้าของที่ระลึกแต่ละประเภทแตกต่างกัน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับกลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์ ของที่ระลึกจากการท่องเที่ยวไทย ของนักท่องเที่ยวตลาดแนวชายแดน กัมพูชา- ลาว-เมียนมา-เวียดนาม และปัจจัยเชิงสาเหตุต่อกลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์สินค้าของที่ระลึก ของนักท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติรูปแบบสมการโครงสร้าง สรุปผลการวิจัยโดยการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวตลาดแนวชายแดน จากประเทศกัมพูชา-ลาว-เมียนมา-เวียดนาม จำนวน 1,132 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ และความสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

                ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์สินค้าของที่ระลึก ของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวประเทศไทย โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับ มาก (x̅ = 3.64) โดยมีความเหมาะสมในระดับ มากด้านอัตลักษณ์ ด้านภาพลักษณ์ และด้านบรรยากาศ และมีความเหมาะสมในระดับ ปานกลาง ด้านราคาและรายการส่งเสริมการตลาด รูปแบบกลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์สินค้าของที่ระลึก จากการท่องเที่ยวไทยของนักท่องเที่ยวตลาดแนวชายแดน กัมพูชา- ลาว-เมียนมา-เวียดนาม ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตลอดจนมีความสามารถในการพยากรณ์ได้ดี และเป็นที่ยอมรับ ร้อยละ 88.6 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การรับรู้แหล่งท่องเที่ยว การเปิดรับข่าวสาร และประเภทของที่ระลึกจากท่องเที่ยวไทย ต่างเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ต่อกลยุทธ์การตลาด เชิงสร้างสรรค์ ของสินค้าของที่ระลึก จากการท่องเที่ยวไทย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

คำสำคัญ: กลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์, ของที่ระลึก, นักท่องเที่ยวตลาดแนวชายแดน กัมพูชา- ลาว-เมียนมา-เวียดนาม


Abstract

                     Nowadays, souvenirs are important to the tourism industry, both economically and socially. Souvenirs are considered as an important part of the travel experience. Tourists usually return home with souvenirs to preserve and commemorate such experiences. However, different nationalities of tourists prefer different types of souvenirs.This research investigated the creative marketing strategy level on Thai souvenirs through the perception of border country tourists from Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam, and the causal factors affecting the creative marketing strategy on souvenirs for tourism in Thailand. The data was statistically analyzed by structural equation model analysis, SEM. For conclusion, the statistical tool was a questionnaire by collecting data from 1,132 tourists of border country tourists from Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam. The data analysis was statistically valued of frequency, distribution, percentage, arithmetic mean , standard deviation, skewness and kurtosis.

The research findings indicated that creative marketing strategy on Thailand tourism souvenirs was practically suitable at high level (x̅ = 3.64), which was Identity, Image and Atmosphere. Price and marketing promotion was practically suitable at moderate level. The creative marketing strategy model for souvenir perception of border country tourists from Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam was created consistently and fitly with empirical data and the developed model had the ability to predict at good and acceptable level at 88.6%. The causal relationship was at a statistical significance of 0.05,which showed that tourist attraction acknowledgement, information acquirement and souvenir categories from Thailand tourism were correlated with creative marketing strategy on Thailand tourism souvenirs.

Keywords:  Creative Marketing Strategy,  Tourists of Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam Countries.


รูปแบบกลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์สินค้าของที่ระลึกจากการท่องเที่ยวไทยของนักท่องเที่ยวตลาดแนวชายแดน กัมพูชา-ลาว-เมียนมา-เวียดนาม|Thailand’s creative marketing strategy model for souvenirs based on the perception of border country tourists from Cambodia-Laos-Myanmar-Vietnam

Doctor of Business Administration in Marketing, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1442
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code