ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

Last modified: November 22, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min

Title: The Digital Leadership of School Administrators and Effectiveness of Schools under the Secondary Educational Service Area Office Nonthaburi

ชื่อโครงการ: ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

Author: Miss Nitcha Samanbutr

ชื่อผู้วิจัย: นางสาวณิชชา สมานบุตร

Advisor: ดร.นลินี สุตเศวต – Dr. Nalinee Sutsavade

Degree: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Master of Education Program in Leadership and Innovation in Educational Administration

Major: ศษ.ม. (ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา) – M.Ed. (Leadership and Innovation in Educational Administration)

Faculty: บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School)

Academic year: 2567 (2024)

Published: การประชุมวิชาการเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยสังคมมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ครั้งที่ 8 (SHSRNNIC 2024) วันที่ 17-18 ตุลาคม 2567 ณ วิทยาลัยทองสุข กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย คลิก  Click  PDF


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 2. ศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี และ3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 18 โรงเรียน รวมจำนวนประชากร 1,816 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มี 3 ตอน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการสนับสนุนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์เทคโนโลยีดิจิทัล และด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงาน ตามลำดับ 2. ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความพึงพอใจในการทำงานของครู มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีของครู และด้านการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตามลำดับ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เป็นความสัมพันธ์ในระดับสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.743

คำสำคัญ: ภาวะผู้นำดิจิทัล, ประสิทธิผล, สถานศึกษา


Abstract

This research aimed to: 1) study the digital leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Nonthaburi; 2) study the effectiveness of schools under the Secondary Educational Service Area Office Nonthaburi; and 3) examine the relationship between the digital leadership of school administrators and the effectiveness of schools under the Secondary Educational Service Area Office Nonthaburi. The population included 1,816 school administrators and teachers from 18 schools under the Secondary Educational Service Area Office Nonthaburi. The sample group consisted of 317 school administrators and teachers. The instrument used was a questionnaire with 3 sections. The statistics used were mean, standard deviation, and Pearson’s product-moment correlation coefficient.
The research results revealed that: 1) The level of digital leadership of educational institution administrators was overall at a high level. When considering each aspect, it was found that the aspect of supporting teaching and learning using digital technology had the highest average value, followed by the aspect of vision of digital technology, and the aspect of supporting the use of digital technology in management, respectively. 2) The level of effectiveness of schools was at a high level. When considering each aspect, it was found that the aspect of teacher job satisfaction had the highest average value, followed by the aspect of teachers’ use of media, innovation and technology, and the aspect of efficient resource allocation, respectively. 3) The relationship between the digital leadership of school administrators and the effectiveness of schools showed a positively correlation coefficient that was and statistically significant at the 0.01 level, indicating a high level of relationship, with a correlation coefficient of 0.743.

Keywords: The Digital Leadership, Effectiveness, Educational Institution


The Digital Leadership of School Administrators and Effectiveness of Schools under the Secondary Educational Service Area Office Nonthaburi / ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

6317500001 นางสาวณิชชา สมานบุตร Miss Nitcha Samanbutr 2567 (2024) The Digital Leadership of School Administrators and Effectiveness of Schools under the Secondary Educational Service Area Office Nonthaburi วิทยานิพนธ์ (Thesis), Advisor: ดร.นลินี สุตเศวต – Dr. Nalinee Sutsavade, ปริญญาโท (Master’s Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Master of Education Program in Leadership and Innovation in Educational Administration, ศษ.ม. (ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา) – M.Ed. (Leadership and Innovation in Educational Administration), Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, Graduate School 2023, IMBA, IMBA 2023, Independent Study, Independent Study 2023, Master of Business Administration, Master of Business Administration (International Program) 2023, Master of Business Administration 2023, ปริญญาโท (Master’s Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Master of Education Program in Leadership and Innovation in Educational Administration,ศษ.ม. (ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา) – M.Ed. (Leadership and Innovation in Educational Administration)

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 58
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles