ประสิทธิผลการป้องกันการทุจริตการสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจของตำรวจภูธรภาค 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Last modified: November 24, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ประสิทธิผลการป้องกันการทุจริตการสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจของตำรวจภูธรภาค 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
The effectiveness of non-commissioned officer entrance examination fraud prevention of the Provincial Police Region 7, Royal Thai Police
ชื่อนักศึกษา:
Author:
พันตำรวจตรี อรุญ กันพร้อม
Police Major Arun Kanprom
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยนันท์ ปัญญาศิริ, พันตำรวจเอก ดร.ชิตพล กาญจนกิจ
Assistant Professor Dr.Chaiyanant Panyasiri, Police Colonel Dr.Chitphol Kanchanakit
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง|Citation

อรุญ กันพร้อม. (2560). ประสิทธิผลการป้องกันการทุจริตการสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจของตำรวจภูธรภาค 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Kanprom A. (2017). The effectiveness of non-commissioned officer entrance examination fraud prevention of the Provincial Police Region 7, Royal Thai Police. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Management, Siam University.


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการป้องกันการ ทุจริตการสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตํารวจตํารวจภูธรภาค 7 สํานักงานตํารวจแห่งชาติ 2) ศึกษา ปัจจัยที่มีประสิทธิผลต่อการป้องกันการทุจริตการสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตํารวจตํารวจภูธร ภาค 7 สํานักงานตํารวจแห่งชาติ และ 3) ใช้เป็นกรณีศึกษาเพื่อกําหนดข้อเสนอแนะในการปรับปรุง ประสิทธิผลการป้องกันการทุจริตการสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตํารวจในประเทศไทย

การวิจัยนี้ใช้เทคนิคการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) การวิจัยเชิง คุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากฝ่ายอํานวยการสอบ คณะกรรมการกองอํานวยการสอบ ผู้มี ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการระบบสารสนเทศ จํานวน 10 คน การวิจัยเชิง ปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการสอบ จํานวน 250 นาย สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ทอถอยพหุคูณด้วยเทคนิค Stepvise

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิผลการป้องกันการทุจริตการสอบเข้าเป็น นักเรียนนายสิบตํารวจ บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในการ จัดการสอบ และการดําเนินการสอบเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการป้องกันการทุจริตการสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตํารวจ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านหลักธรรมาภิบาล ปัจจัยด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยด้านการ จัดการเทคโนโลยี และปัจจัยด้านกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

ข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิผลการป้องกันการทุจริตการสอบเข้าเป็น นักเรียนนายสิบตํารวจ มีดังนี้ การลดโอกาสการเกิดการทุจริตทําได้โดยข้าราชการตํารวจต้อง คัดเลือกและฝึกอบรมบุคลากรให้รู้ถึงแนวทางการปฏิบัติการจัดการสอบให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิผลและประสิทธิภาพใช้เทคโนโลยีมาตรวจสอบหรือป้องกันการทุจริตการสอบการ ปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัย มีจุดแข็ง สามารถอุดช่องว่างการทุจริตการสอบได้ และเหนือ อื่นใด การปลูกฝังและส่งเสริมธรรมาภิบาลในส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย


Abstract

The objectives of this research were: 1) to study the level of the effectiveness of non-commissioned officer entrance examination fraud prevention of the Provincial Police Region 7, the Royal Thai Police 2) to study the factors affecting the effectiveness of non-commissioned officer entrance examination fraud prevention of the Provincial Police Region 7, the Royal Thai Police and 3) to conduct a case study for recommendations on effectiveness improvement of non-commissioned officer entrance examination fraud prevention in Thailand.

This research employed a mixed method research technique: the qualitative part involved in-depth interview sessions with ten supervisors of the exam supervisory committee of whom expertise in Management Information Technology (MIS) and managing the information technology. For the quantitative part, 250 samplings of the officers who in-charge of administering the exam were given the questionnaire forms for data collections. Analytical statistics include percent, average, standard deviation and multiple regressions (stepwise method).

The result of study found 1) the level of the effectiveness of non-commissioned officer entrance examination fraud prevention meets the ongoing objectives of work satisfaction on administering the exam and the perceptions on equality, fairness, transparency and accountability. 2) Factors affecting the effectiveness of non-commissioned officer entrance examination fraud prevention consist of good governance, human resource development, technological management and law, regulations, and procedures.

Recommendation to increase the effectiveness of the examination fraud prevention includes : the recruitment and training system that enhance the capacity of the organizing and supervising officers in conducting the exam effectively and efficiently, this is to reduce the chance of corrupting, the use of modern technology to monitor, to inspect, and to prevent examination fraud, the law amendments strengthening all preventive mechanisms for fraud combatting and above all, the call for good governance practices from every party involved in the process.

Keywords:  Police Lance Corporal Student.


ประสิทธิผลการป้องกันการทุจริตการสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจของตำรวจภูธรภาค 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ | The effectiveness of non-commissioned officer entrance examination fraud prevention of the Provincial Police Region 7, Royal Thai Police

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 952
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code