อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการโมบายแบงค์กิ้ง กรณีศึกษา: เขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

Last modified: June 20, 2021
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการโมบายแบงค์กิ้ง กรณีศึกษา: เขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
Research Article: The influence of marketing mix (7P’s) affecting using mobile banking services behaviors case study: Bangkok and its vicinity
ผู้เขียน/Author: จักรินทร์ สันติรัตนภักดี และ ธนกร ลิ้มศรัณย์ | Chakkarin Santirattanaphakdi & Tanakorn Limsarun
Email: tanakorn.lim@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Master of Business Administration, Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2562 หน้า 120-143

การอ้างอิง/citation

จักรินทร์ สันติรัตนภักดี และ ธนกร ลิ้มศรัณย์. (2562). อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการโมบายแบงค์กิ้ง กรณีศึกษา: เขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 10(2), 120-143.


บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ใช้ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการโมบาย แบงค์กิ้ง และ 2) เพื่อสร้างแบบจำลองเชิงเส้นแสดงอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการโมบาย แบงค์กิ้ง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็นด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่ความเชื่อมั่น 95% เก็บข้อมูลจำนวน 707 ชุด ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอยู่ในระดับมาก (= 4.05) เมื่อจัดผู้ใช้ตามกลุ่มอายุเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มวัยเกษียณ เพื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบ Scheffe พบว่า กลุ่มวัยเรียนและกลุ่มวัยทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบนำตัวแปรทั้งหมดเข้าสมการ พบว่า ด้านราคามิได้มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้บริการโมบาย แบงค์กิ้ง ดังนั้น แบบจำลองเชิงเส้นที่ประกอบด้วยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .752 สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการใช้บริการโมบาย แบงค์กิ้งได้ร้อยละ 56.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

อย่างไรก็ดี ช่วงอายุที่แตกต่างมีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการ จากวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบลดตัวแปร พบว่า ด้านราคามิได้มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการโมบาย แบงค์กิ้งของกลุ่มวัยเรียนกับกลุ่มวัยทำงานร่วมกับด้านบุคคล และด้านกระบวนการ ตรงข้ามกับด้านการส่งเสริมการตลาดที่มิได้ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการของกลุ่มวัยเกษียณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ: ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมผู้บริโภค, โมบาย แบงค์กิ้ง


ABSTRACT

This research aim to 1) analyze the differences between user groups that affect usage behavior mobile banking service and 2) create a linear model showing the influence of the marketing mix (7P’s) that affects usage behavior mobile banking service. In this article determine the sample size by non probability samping with purposive samping at 95% confidence. Data collection of 707 sets.the level of opinions on marketing mix factors is at a high level (xˉ = 4.05). When divided user into 3 groups is student group, working group and retire group. the results from 3 groups at good level. However, when using the all factor results from each groups to analyze the relations with One-Way Analysis of variance. Found student group and working group is statistically significant difference at the 0.05.

The analyze result of all variables were used to the multiple regression. It was found that the price factor is not relationship with the usage behavior mobile banking service. therefore the linear reguession consisting of factors is product, place, promotion, people, physical evidence and process.the correlation coefficient is.752 and usage behavior mobile banking service prediction was 56.6 percent with statistical significance at 0.01 level.
However, the different of age ranges affect service usage behavior. From Backward Elimation analysis, it was found that the price factor did not affect the usage behavior mobile banking service of student group and working group with people and procedure factor. It opposed promotion factor that does not affect the usage behavior of the retirement group with statistical significance.

Keywords: Marketing mix, Consumer behavior, Mobile banking.


อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการโมบายแบงค์กิ้ง กรณีศึกษา: เขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล|The influence of marketing mix (7P’s) affecting using mobile banking services behaviors case study: Bangkok and its vicinity

Graduate Schools, Siam University, Bangkok, Thailand

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 3.0 License.

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 833
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code