ดัชนีชี้วัดเพื่อกำหนดมาตรฐานการตลาดร้านขนมไทยในมุมมองของผู้ประกอบการสู่ตลาดต่างประเทศ

Last modified: November 11, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ดัชนีชี้วัดเพื่อกำหนดมาตรฐานการตลาดร้านขนมไทยในมุมมองของผู้ประกอบการสู่ตลาดต่างประเทศ
The Specified Standard Indicators of Thai Dessert Shops Based on Entrepreneur Perspectives to Foreign Market
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวนุสรา แสงอร่าม
Miss Nusara Saengaram
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผศ. ดร.ปริญ ลักษิตามาศ
Asst. Prof. Dr. Prin Laksitamas
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.)
Doctor of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การตลาด
Marketing
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง|Citation

นุสรา แสงอร่าม. (2561). ดัชนีชี้วัดเพื่อกำหนดมาตรฐานการตลาดร้านขนมไทยในมุมมองของผู้ประกอบการสู่ตลาดต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Saengaram N. (2018). The specified standard indicators of Thai dessert shops based on entrepreneur perspectives to foreign market. (Doctoral dissertation). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

     การศึกษาเรื่อง ดัชนีชี้วัดเพื่อกำหนดมาตรฐานการตลาดร้านขนมไทยในมุมมองของผู้ประกอบการสู่ตลาดต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปของธุรกิจร้านขนมไทยภายใต้การจัดการของผู้ประกอบการ (2) ศึกษาระดับการจัดการการตลาดร้านขนมไทยสู่ตลาดต่างประเทศ (3) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของตัวชี้วัดเพื่อกำหนดมาตรฐานการตลาดร้านขนมไทยในมุมมองของผู้ประกอบการสู่ตลาดต่างประเทศ (4) กำหนดมาตรฐานการตลาดร้านขนมไทยในมุมมองของผู้ประกอบการสู่ตลาดต่างประเทศ

     เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการธุรกิจร้านขนมไทย จำนวนทั้งสิ้น 932 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 14.0 และ AMOS version 6.0 โดยใช้ค่าสถิติอันได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Secondary order Confirmatory Factor Analysis) ในการสรุปผลการวิจัย

     ผลการวิจัยพบว่า ดัชนีชี้วัดเพื่อกำหนดมาตรฐานการตลาดร้านขนมไทยในมุมมองของผู้ประกอบการสู่ตลาดต่างประเทศ ที่พัฒนาขึ้นมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย 44 ตัวชี้วัด จาก 11 องค์ประกอบต่างมีความตรงเชิงเสมือน (Convergent Validity) ทั้งนี้เนื่องจากค่าความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างผ่านเกณฑ์มากกว่า 0.60 และค่าน้ำหนักองค์ประกอบผ่านเกณฑ์ 0.30 ขึ้นไป (ค่าสัมบูรณ์) ตลอดจนเมื่อนำตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นมากำหนดมาตรฐานการตลาดร้านขนมไทยในมุมมองของผู้ประกอบการสู่ตลาดต่างประเทศ โดยพิจารณาจากคะแนนรวมสุทธิแบ่งได้ 5 ระดับ คือ ระดับไม่ผ่านมาตรฐาน  (1 ดาว) (<50%) ระดับต่ำกว่ามาตรฐาน (2 ดาว) (≥50-59%) ระดับมาตรฐาน (3 ดาว) (≥60-69%) ระดับดี (4 ดาว) (≥70-89%) ระดับดีเยี่ยม (5 ดาว) (≥90-100%)

     แนวทางในการปรับตัวของธุรกิจร้านขนมไทยให้มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว    สู่ตลาดต่างประเทศ เช่น การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดบริการแบบผสมผสานแนวใหม่ (Modern Integrated Service Marketing) ด้วยการนำร่องบุกตลาดไปยังต่างประเทศรวมถึงการสร้างพันธมิตรระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยนำตัวชี้วัดเพื่อกำหนดมาตรฐานการตลาดร้านขนมไทยในมุมมองของผู้ประกอบการ ที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ในการผลักดันนโยบายการอบรมพัฒนาความรู้ ทักษะ และจรรยาบรรณทางวิชาชีพเกี่ยวกับ การจัดการคุณภาพ การตลาดบริการ และการมีส่วนร่วมให้มีความพร้อมเพื่อให้ธุรกิจ      ร้านขนมไทยมีมาตรฐานอันพึงประสงค์ โดยพิจารณาความจำเป็นเร่งด่วนจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) เป็นสำคัญ

คำสำคัญ: ตัวชี้วัดเพื่อกำหนดมาตรฐาน, ร้านขนมไทย, ผู้ประกอบการ, ตลาดต่างประเทศ


Abstract

The study aimed at the specified standard indicators of Thai dessert shops based on entrepreneur perspectives to foreign markets had  4 objectives; (1) to study the general characteristics of Thai dessert business shops under entrepreneurial administration, (2) to study the marketing management level of Thai dessert shops to foreign markets, (3) to develop and test the reliability of standard indicators’ Thai dessert shops based on entrepreneur perspectives to foreign markets, (4) to specify the standard indicators’ Thai dessert shops based on entrepreneur perspectives to foreign markets.

The research tool used was a questionnaire, which was collected from 932 entrepreneurial samples of Thai dessert shops. The data analysis used SPSS version 14.0 software program and Amos version 6.0 for statistical values of frequency distribution, percentage arithmetic means standard deviation and the secondary order confirmatory factor analysis.

The research found that the specified standard indicators of Thai dessert shops based on entrepreneur perspectives to foreign markets developed parallel with the empirical data, consisted of 44 indicators from 11 components. Each component had its convergent validity because the constructed validity valued of 0.60 and weighed component passed over 0.30. As for all specified developed indicators of Thai dessert shops based on entrepreneur perspectives to foreign markets by total net marks into 5 levels of not passing standard (1 star) (<50%); below standard (2 stars); (≥50-59%) standard (3 stars) (≥60-69%); good (4 stars) (≥70-89%) and excellent (5 stars) (≥90-100%).

The guidance of Thai dessert shops adaptation for special identifiers to foreign markets is to modernize integrated service marketing strategic planning on foreign markets, including relations with involved agency alliances taking specified standard indicators of Thai dessert shops. These standards should be used to encourage training policies for knowledge development, skills and professional ethics on quality management, service marketing and participation readiness for Thai dessert shops possess desirability contribute mainly to the urgent component factor loading.

Keywords:  Specified Standard Indicators, Thai Dessert Shop, Entrepreneur, Foreign Market.


ดัชนีชี้วัดเพื่อกำหนดมาตรฐานการตลาดร้านขนมไทยในมุมมองของผู้ประกอบการสู่ตลาดต่างประเทศ | The Specified Standard Indicators of Thai Dessert Shops Based on Entrepreneur Perspectives to Foreign Market

Doctor of Business Administration in Marketing, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 541
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code