รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ด้านการบกพร่องทางสติปัญญา

Last modified: May 22, 2021
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ด้านการบกพร่องทางสติปัญญา
The model of the learning organization in special education school of intellectual disabilities
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางลำพึง ศรีมีชัย
Mrs. Lamphung Srimeechai
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร.พยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์, ดร.ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์
Dr.Payungsak Jantarasurin, Dr.Prapatpong Senarith
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา
Leadership and Innovation in Educational Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2559
2016

การอ้างอิง/citation

ลำพึง ศรีมีชัย. (2559). รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ด้านการบกพร่องทางสติปัญญา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อเสนอรูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน การศึกษาพิเศษด้านการบกพร่องทางสติปัญญา การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะแรกศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างองค์ประกอบขององค์กรของการเรียนรู้ของโรงเรียน การศึกษาพิเศษด้านการบกพร่องทางสติปัญญา และนําไปสร้างแบบสอบถาม ครู และผู้บริหาร สถานศึกษาทั้งประเทศ 18 โรงเรียน โดยแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่สอง ส่งแบบสอบถาม แล้วนําเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษ 9 ท่าน ประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แล้วนําเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ 20 ท่าน (Focus Group) เพื่อพิจารณาประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็น ประโยชน์ขององค์ประกอบ ระยะที่สาม ผู้วิจัยนําแบบสอบถามที่ได้มาออกแบบประเมินสภาพของ องค์ประกอบและความคาดหวังของผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษา เพื่อเปรียบเทียบค่าความแตกต่าง (Differences) ที่จะนําไปสู่รูปแบบขององค์กรแห่งการเรียนรู้ 4 ระดับ คือ 1. กิจกรรมที่สถานศึกษา ได้ปฏิบัติดีมากแล้วสูงกว่าความคาดหวัง (Significant Differences 0.001 ขึ้นไป) 2. กิจกรรม ที่สถานศึกษาได้ปฏิบัติตามความคาดหวัง (Significant Differences =+0.001) 3. กิจกรรม ที่สถานศึกษาได้ปฏิบัติต่ํากว่าที่คาดหวังสมควรได้รับการปรับปรุง (Significant Differences 0.005 หรือต่ํากว่า) 4. กิจกรรมที่สถานศึกษาที่ควรจะต้องเร่งรีบในการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะต่ํากว่า ความคาดหวังมาก (one tailed significant at 0.005 หรือสูงกว่า)

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนการศึกษาพิเศษด้านการ บกพร่องทางสติปัญญา ประกอบด้วย 1) กิจกรรมที่สถานศึกษาได้ปฏิบัติได้สอดคล้องกับการเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ 4 ตัวแปร คือ องค์ประกอบด้านองค์กร 2 ตัวแปร องค์ประกอบ ด้านภาวะผู้นํา 1 ตัวแปร องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ 1 ตัวแปร 2) กิจกรรมที่สถานศึกษาสมควรได้รับการปรับปรุง พัฒนายิ่งขึ้น 48 ตัวแปร คือ องค์ประกอบด้านองค์กร 16 ตัวแปร องค์ประกอบ ด้านภาวะผู้นํา 5 ตัว แปร องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ 14 ตัวแปร องค์ประกอบค้านการจัดการความรู้ 10 ตัวแปร องค์ประกอบด้านเทคโนโลยี 3 ตัวแปร และ 3) กิจกรรมที่สถานศึกษาสมควรจะได้มีการแก้ไขอย่าง เร่งด่วน 9 ตัวแปร คือ องค์ประกอบด้านองค์กร 4 ตัวแปร องค์ประกอบด้านการเรียนรู้ 1 ตัวแปร องค์ประกอบด้านการจัดการความรู้ 2 ตัวแปร และองค์ประกอบด้านเทคโนโลยี 2 ตัวแปร


Abstract

The purpose of this research was to purpose the model of the Learning Organization Special Education School of Intellectual Disabilities. The research methodology consisted of three steps: Step 1: study the related documents, theories and researches to determine the components of the model. The components of the model were evaluated by nineteen special education school of Intellectual Disabilities and the relation of learning organization and the components of the model. The experts evaluated: the consistency of the components and learning organization, the appropriate, possibilities and the advantages of the components. Step 2: develop a learning organization model from principles, theories of model. Step 3: evaluate the model: the consistency of the components and learning organization and evaluate the model by the experts. And the focus group discussion to evaluate the appropriate, the possibilities and the advantages of the model of this research into action.

The research results were as follow: The model of the learning Organization in Special Education School of Intellectual Disabilities consisted of the five components 1) the components of the organization consisted of three of sub components and 22 indicators 2) the components of the leadership consisted of six sub components 3) the components of the learning consisted of three components and 16 indicators 4) the components of knowledge management consisted of three sub components and 12 indicators and 5) the components of technology consisted of the sub component and five indicators. There was a significant difference at the 01. Level in all of the components in high level. All components were fit to learning organization 0.60-1.00 and the appropriateness, the possibilities and the advantaged of the model were in high to highest level.

The Learning Organization in Special Education School of Intellectual Disabilities the model principles: developing knowledge sharing in the organization and the state, problems and needs of schools. The purposes of model consisted of: to create the Learning Organization in Special Education School of Intellectual Disabilities to improve the performance of the administrators, teachers and school personnel having Personal Mastery; to create knowledge sharing culture between Special Education School. The mechanism of operation of the work system and system management were to determine: the responsibility of the administrators, teachers and school personnel; the flexible management structure. The school development to Learning Organization comprised of: developing teachers and school personnel all three parts 1) school 2) administrators and 3) teachers and school personnel; organizing the operation evaluation systems from the licensee, the administrators, teachers and school personnel and developing the learner quality by the development plan monitoring and supporting from agencies.


รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ด้านการบกพร่องทางสติปัญญา

Doctor of Philosophy in Leadership and Innovation in Educational Administration, Siam University, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 568
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles